ช่วงที่ผ่านมาเชื่อว่าคงเคยได้ยินเรื่อง BCG Model กันมาบ้าง
กล่าวคือ BCG คือ Bio Economy, Circular Economy และ
Green Economy รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลกที่จะส่งผลให้ทั้งภาคเกษตร
อาหาร การแพทย์ สาธารณสุข พลังงาน ท่องเที่ยว ภาคบริการ
มีการเติบโตที่ยั่งยืนสอดรับกับกระแสเศรษฐกิจยุคใหม่
โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.ผู้จุดประกาย BCG Model ในประเทศไทย
ทั้งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีในการจะเดินหน้าสู่จุดหมาย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้ BCG Model
เป็นกลไกขับเคลื่อน (Engines of Growth) ผ่านการสร้าง Manpower และ
Brainpower โดยนำ Data Driven หรือ
ตัวเลขและข้อมูล เป็นฐานสำคัญ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เหตุผลที่ไทยต้อง BCG Model
1. ต่อยอดจุดแข็งของประเทศไทยที่มีความหลากหลายด้านชีวภาพทั้งมีความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม
แต่ต้องเติมเต็มด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. การเชื่อมโยง BCG ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. BCG สามารถตอบโจทย์เป้าหมายว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืนทั้งมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมาย(new s - curve)ของประเทศไทยได้ตรงจุด
5. BCG สามารถกระจายเศรษฐกิจในระดับฐานราก
ไปสู่ธุรกิจไปภูมิภาค สร้างการเติบโตที่กระจายสู่ท้องถิ่น
ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยนั้น
ได้มีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมสร้างสรรค์ขึ้น 9 แห่ง 18
สาขาโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการพัฒนา ต่อยอด
และสร้างสรรค์ชิ้นงานบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทรัพยากรทางธรรมชาติและความคิดสร้างสรรค์ อันนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
โดยมีบทบาทสำคัญในการฝึกอบรมและพัฒนาตลอดจนให้คำปรึกษากิจกรรม
การพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูล มีขอบเขตงาน 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้าน Premium OTOP ทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อยอดด้วยนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัย
เช่น
กรณีโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ผ้าม่อฮ่อมย้อมครามสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
จ.แพร่
2. ด้านการบริการคุณค่าสูง (High Value
Services) เพื่อต่อยอด
ให้เกิดการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เช่น
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อมสู่การเป็น High Value
Service
3. ด้าน Startup ใช้นวัตกรรมงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปหนุนเศรษฐกิจชุมชนและสร้างผู้ประกอบการใหม่
เช่น การพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมกระเบื้องโบราณเชิงอนุรักษ์
ด้าน ดร.สุวิทย์ ระบุเพิ่มเติมว่า นี่คืออนาคตของของประเทศไทย
ที่พวกเราจำเป็นต้องรู้ รวมถึงแผนการ “BCG Economy Model เมื่อไทยฝัน ไทยทำ แล้วไทยจะทันโลก”
วันนี้เราต้องการเอสเอ็มอีที่เป็น IDE-Innovation-Driven Enterprise คือ ธุรกิจที่ผู้ประกอบการมุ่งเน้นนวัตกรรม แม้จะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง แต่ขณะเดียวกันก็มีความทะเยอทะยานมาก ทำให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์
ท่านผู้อ่านสามารถติดตาม และรับชมเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่ : BCG Economy เมื่อไทยฝัน และไทยทำ ไทยจะทันโลก | Future Changer Podcast EP. 1 https://youtu.be/0bAooAR3iYc