เกษตรรักษ์โลก เทรนด์อาหารโลกยั่งยืน

Library > Agriculture/Smart Farming
12/11/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 5477 คน
เกษตรรักษ์โลก เทรนด์อาหารโลกยั่งยืน
banner

โลกร้อนถูกหยิบยกมาสู่เวทีระดับโลกอีกครั้งภายใต้การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา หรือ Conference of the Parties หรือ COP ครั้งที่ 26 จัดขึ้นที่เมืองกลาสโลก ของสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 1 – 12 พ.ย. 2564 โดยมีผู้นำจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมหารือถึงผลกระทบจากโลกร้อน ตามสนธิสัญญาณสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อการแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

เป้าหมายสำคัญคือการที่นานาชาติจะยื่นแผนในการกำหนดเป็นเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ อาทิ ประเทศไทยตั้งเป้าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20-25% ภายในปี 2573 รวมถึงการบรรลุตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่กำหนดให้ประเทศที่ร่วมลงนามปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ.2050


โลกร้อนขึ้นส่งผลต่อภาคเกษตรไทยอย่างไร?

ก่อนหน้าที่เราจะรู้จักคำว่า โลกร้อน วงการเกษตรไทยคงจะคุ้นเคยกับคำว่า เอลณีโญ และ ลานีญา กันมาบ้าง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก กลไกลที่ทำให้เกิดความผันแปรของภูมิอากาศโลก ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อน การทำเกษตรที่พึ่งพาดินฟ้าอากาศเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้วงการเกษตรผูกติดกับเรื่องของภูมิอากาศแทบจะทุกกระบวนการ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ข้อมูลด้านภูมิอากาศ ของแต่ละประเทศจึงมีความสำคัญไม่เฉพาะแค่วงการเกษตร แต่ในด้านการค้า ยังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดราคาสินค้าในตลาดโลกได้เช่นกัน ซึ่งถ้าใครอยู่ในวงการค้าข้าวจะทราบดีว่า ข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศ การเกิดภัยธรรมชาติ จะส่งผลต่อปริมาณการผลิตข้าวเปลือก ยกตัวอย่างเช่น หากปีไหนพื้นที่ปลูกข้าวของเวียดนาม หรืออินเดียเกิดภัยธรรมชาติ ปีนั้นราคาข้าวในตลาดโลกจะพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็จะเป็นโอกาสของตลาดข้าวไทย  

จึงกล่าวได้ว่า สภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติ จึงเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดผลผลิตอาหารของโลก ดังนั้น จากโลกร้อนจึงนำไปสู่แนวคิดการสร้างอนาคตและสร้างความยั่งยืนด้านอาหารของโลก ซึ่งมีการประเมินว่าในอีกราว 30 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะพุ่งสูงขึ้นกว่า 9 พันล้านคน ขณะที่พื้นที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์จะลดลง ที่สำคัญจะเกิดผลกระทบจาก Climate Change คำใหม่ที่คิดขึ้นมาเพื่อย้ำเตือนว่าวิกฤตความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่อง ล้อเล่น


ขณะเดียวกันวงการเกษตรยังถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ลิงค์ :  https://www.bangkokbanksme.com/en/agriculture-environment-trend-of-precision-farming

กล่าวได้ว่าวงการเกษตร หรือการทำเกษตรแบบดั้งเดิมกำลังถูกกระแสโลกกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำเกษตรที่ รักษ์โลก มากขึ้น ซึ่งจะเป็นไปในรูปแบบมาตรการด้านการค้าของแต่ละประเทศที่จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปสูการทำเกษตรแบบรักษ์โลก และใส่ใจสภาพแวดล้อมมากขึ้น

อาทิ การลดใช้สารเคมีและการทำเกษตรแบบอินทรีย์ การนำเครื่องจักรสมัยใหม่มาเพิ่มคุณภาพผลผลิตและลดต้นทุน การให้ความสำคัญต่อแหล่งที่มาของวัตถุดิบและสินค้าเกษตร หรือแม้แต่การส่งเสริมอาหารจากพืช และซูเปอร์ฟู้ดส์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าของเท่าของการทำฟาร์มปศุสัตว์แบบดั้งเดิม

ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาด้านการทำเกษตรในปัจจุบัน อาทิ การส่งเสริม Smart Farming การสร้างเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือแม้แต่การทำฟาร์มแนวตั้งหรือที่เรียกว่า Precision Farming คือการทำเกษตรแบบแม่นยำสูง ควบคุมได้ทุกขั้นตอนการผลิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีแรงผลักดันมากจากปัญหาโลกร้อนและความมั่นคงด้านอาหาร สองสิ่งที่เกี่ยวพันกันอย่างมีนัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาพรวมที่ภาคเกษตรไทยที่ยังคงมีการทำเกษตรแบบดั้งเดิม แต่ก็มีผสมผสานเทคโนโลยีมาช่วยในด้านการผลิตและลดต้นทุน แต่เมื่อมองถึงประเด็น เกษตรรักษ์โลก หลายคนคงยังมองว่าไกลตัวอีกมาก แต่หากมองว่าไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก มองในแง่ของการสร้างความมั่งคั่ง และมั่นคงทางเศรษฐกิจ รายได้ที่เพิ่มขึ้นของประชากร และการก้าวสู่ประเทศที่พัฒนาด้วยนวัตกรรมเกษตร

สิ่งเหล่านี้คือ ภาพรวม ที่เกษตรกร และผู้ผลิตอาหาร จะต้องมองให้ออก และปรับเปลี่ยนการทำเกษตร ไปสู่เกษตรรักษ์โลก ซึ่งไม่เพียงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า แต่ยังเป็นเกาะกันภัยในอนาคต เพราะบรรดามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งเป็นการกีดกันทางการค้ารูปแบบหนึ่งจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของนานานาประเทศทั่วโลก  


ดังนั้นเรื่องโลกร้อน จึงเกี่ยวพันถึงกาทำเกษตรโดยตรง และเป็นโอกาสให้เกษตรไทยได้มีการปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสมไปสู่การทำเกษตรที่มีความยั่งยืนที่แท้จริง    

ถึงตรงนี้ เราคงไม่ต้องบอกว่า โลกที่ร้อนขึ้น หรือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตเกษตร และคุณภาพของสินค้าเกษตรอย่างไร เพราะคงไม่มีใครบอกได้ว่าถึงตอนนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นสิ่งที่อยากเน้นย้ำคือการทำความเข้าใจกับเรื่องของสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลการเกิดภัยธรรมชาติ จะสร้างโอกาสทางการค้าได้ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตร อาทิ ลดการไถกลบและการเผา ลดใช้สารเคมี การทำเกษตรแปลงใหญ่ การเพาะปลูกที่มุ่งเน้นทั้งคุณภาพและปริมาณ และการใช้นวัตกรรม จะเป็นโอกาสของวงการเกษตรในยุคต่อไป


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘บุญนภาพัฒนาการเกษตร’ เปลี่ยน Mindset เกษตรกรไทย ใช้เทคโนโลยีสารปรับปรุงดิน

‘บุญนภาพัฒนาการเกษตร’ เปลี่ยน Mindset เกษตรกรไทย ใช้เทคโนโลยีสารปรับปรุงดิน

กว่า 15 ปีที่บริษัท บุญนภาพัฒนาการเกษตร จำกัด มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีสารปรับปรุงดิน เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และเปิดโครงการตรวจดินให้เกษตรกรฟรี…
pin
2780 | 21/05/2022
'เจนเทิ่ลวิน' สร้าง Value Added ควบคู่มาตรฐานสินค้าเกษตร ขยายฐานการตลาดสู่ความสำเร็จ มัดใจผู้บริโภค

'เจนเทิ่ลวิน' สร้าง Value Added ควบคู่มาตรฐานสินค้าเกษตร ขยายฐานการตลาดสู่ความสำเร็จ มัดใจผู้บริโภค

เปิดแนวคิด บริษัท เจนเทิ่ลวิน จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผลไม้ ภายใต้แบรนด์ ‘Much’ by สวนส้มร่มเกล้า ทำอย่างไร? จึงเพิ่มมูลค่าให้กับพืชผลทางการเกษตร…
pin
3189 | 10/05/2022
ลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต ‘เมกเกอร์โดรน’ โดรนเพื่อการเกษตรครบวงจร ยกระดับเกษตรกรไทยสู่ Smart Farmer

ลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต ‘เมกเกอร์โดรน’ โดรนเพื่อการเกษตรครบวงจร ยกระดับเกษตรกรไทยสู่ Smart Farmer

อุตสาหกรรมการเกษตรคือรากฐานของสังคมไทยมาช้านาน โดยมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่อาชีพ ‘เกษตรกร’ ก็ยังประสบปัญหาหลักๆ…
pin
4400 | 30/03/2022
เกษตรรักษ์โลก เทรนด์อาหารโลกยั่งยืน