อุตสาหกรรมยานยนต์ในแคนาดามีขนาดใหญ่ กำลังการผลิตเป็นอันดับที่ 12 ของโลก แต่ละปีมีการผลิตรถยนต์กว่า 2.02 ล้านคัน โดยส่วนการผลิตส่วนใหญ่กว่า 90% เพื่อการส่งออก ในช่วงปีที่ผ่านมาบริษัท GM Canada ได้ประกาศยุบสายการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในแคนาดา โดยได้ย้ายฐานการผลิตกลับไปยังสหรัฐฯ หรือประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) แทน ซึ่งเมือง Oshawa รัฐออนแทริโอ เป็นที่ตั้งโรงงานของบริษัท GM Canada ที่คนงานกว่า 4,000 คนและซับพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนได้รับผลกระทบ จากการปิดตัวของ GM ที่ได้มีการประท้วงและเรียกร้องให้รัฐบาลแคนาดาเข้าช่วยเหลือ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เนื่องจากเมือง
Oshawa เป็นที่ตั้งของ GM Canada ตั้งแต่ปี
2461 (99 ปี) โดยเป็นฐานผลิตส่งออกรถยนต์รุ่นกระบะ GMC Silverado และรถยนต์นั่งขนาดกลาง Chevy Impala โดยในปี 2561
บริษัท GM Canada ได้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจที่สร้าง GDP
สูงถึง 5 พันล้านเหรียญฯ (1.15 แสนล้านบาท) แต่การปิดตัวของบริษัทฯ
ภายในเดือนธันวาคม 2562 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในท้องถิ่นและรัฐบาลรัฐออนแทริโอ
ซึ่งทุกวันนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกเริ่มมีการ
Disruption ครั้งใหญ่ โดยมุ่งหันไปพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (Electric
Vehicles) หรือรถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) มากขึ้น นอกเหนือจาก GM แล้ว ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมรถยนต์ได้เห็นถึงการลดกำลังการผลิตของรถค่ายอื่น อาทิ Ford และ Fiat
Chrysler ที่บริษัทเหล่านี้ไม่ได้มีการประกาศการลงทุนเพิ่มในแคนาดาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ยกเว้นค่ายรถสัญชาติญี่ปุ่น ได้แก่ Toyota ที่ได้ประกาศการลงทุนเพิ่มในแคนาดาในปี 2561 ที่มีมูลค่ากว่า
1.4 พันล้านเหรียญฯ (32,200 ล้านบาท) ที่หันมาผลิตรถประเภท SUV หรือรถยนต์ Hybrid (ที่สามารถใช้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า)
ที่จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตจากปัจจุบัน 77% หรือเพิ่มเป็น 107,000 คัน/ปี
ภายในปี 2565 และค่ายรถ Honda ที่ลงทุนเพิ่มในแคนาดาตั้งแต่ปี
2560 ที่เพิ่มไลน์การผลิตรถยนต์รุ่น Civic และ CRV ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 500 ล้านเหรียญฯ (11,500 ล้านบาท)
แต่ในขณะที่รถยนต์สัญชาติอเมริกันมีทิศทางที่ลดบทบาทการผลิตในแคนาดาอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่าแคนาดาอาจไม่มีข่าวดี หรือมีการประกาศลงทุนครั้งใหญ่ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วง
1-5 ปีข้างหน้า ยกเว้นแต่การลงทุนผลิตรถไฟฟ้าจากจีน ที่อาจมองว่าแคนาดามีระบบ Supply Chain ที่พร้อมและมีแรงงานที่มีทักษะอยู่พร้อมแล้ว
ซึ่งข้อได้เปรียบของแคนาดาอีกข้อได้แก่ การตั้งติดกับสหรัฐฯ
ที่เป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก (รองจากจีน)
อีกทั้งทุกวันนี้ข้อตกลง USMCA มีความชัดเจนมากขึ้น
(ที่เน้นว่ารถที่จะจำหน่ายในภูมิภาค อเมริกาเหนือนั้น
จะต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายใน 3 ประเทศ ในอัตราส่วนสูงถึง 75% เพื่อได้สิทธิ Duty
Free ที่ผลดังกล่าวส่งเสริมให้ผู้ผลิตต้องผลิตรถยนต์ในภูมิภาคอเมริกาเหนือเท่านั้น) ถึงแม้ว่าโรงงานผลิตรถยนต์ของ GM
Canada จะปิดตัวลง แต่บริษัทฯ ยังคงดำเนินกิจการต่อไปในแคนาดา
โดยได้มีแผนที่จะปรับเปลี่ยนโรงงานประกอบรถยนต์ไปเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์แทน
ที่มีแผนการลงทุนเพิ่มอีก 170 ล้านเหรียญฯ ในการปรับเปลี่ยนไลน์สายการผลิต
อีกทั้งลงทุนเพิ่มในแคนาดาเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไร้คนขับมากขึ้น ซึ่งเป็นตามกระแสของอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีรถไฟฟ้าจำหน่ายเพิ่มขึ้น 207 รุ่นภายในปี 2565 และจะมีการทุ่มเงินลงทุนวิจัยที่เกี่ยวกับรถไฟฟ้าที่มีมูลค่า 225 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (6.7 ล้านล้านบาท) ที่ภาครัฐและเอกชนแคนาดาได้ทยอยปรับตัว เตรียมความพร้อมกับการ Disruption ครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังมาถึง
ขณะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญของโลก
สินค้าชิ้นส่วนอะไหล่และรถยนต์ได้เป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกหลักจากไทย โดยสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์จากไทยที่ส่งออกมาแคนาดานั้น
เป็นหนึ่งในสินค้า 10 แรกของไทย ที่การ Disruption ของอุตสาหกรรมยานยนต์อาจทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ
กับผู้ประกอบการไทยในการผลิตสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่ ที่ทุกวันนี้อุตสาหกรรมรถไฟฟ้าเพิ่งเริ่มต้น
กล่าวคือ ยังไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกันมากกว่าใครในเรื่องของเทคโนโลยี กำลังการผลิตองค์ความรู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้า ที่ไทยอาจใช้เป็นโอกาสในการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ๆ ให้กลายเป็นหนึ่งในผู้นำของรถไฟฟ้าในอนาคต