ผุด 29 ท่าเรือตามแผนพัฒนาริมเจ้าพระยา

SME Update
04/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2846 คน
ผุด 29 ท่าเรือตามแผนพัฒนาริมเจ้าพระยา
banner

ระบบขนส่งมวลชนมีความสำคัญและกลายเป็นสิ่งจำเป็นในวิถีชีวิตคนเมืองยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเมืองศูนย์กลางทางธุรกิจ การศึกษา การท่องเที่ยว ฯลฯ อย่างกรุงเทพมหานคร นอกจากรถประจำทาง รถตู้ รวมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าซึ่งในอนาคตจะครอบคลุมทั้ง 4 มุมเมือง เชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ทำให้คนอยู่อาศัยคนทำงานและกรุงเทพฯ และพื้นที่รอบนอกสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้นแล้ว การเดินทางและการขนส่งทางน้ำจะถูกนำมาใช้เป็นระบบเสริมรองรับการเดินทางสัญจรไปมาในแต่ละวัน ช่วยแก้ปัญหาการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ติดขัดวิกฤตรุนแรงขึ้นทุกวัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในการนี้กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการขนส่งทางน้ำ เชื่อมกับการขนส่งทางถนนและระบบราง แนวทางดำเนินการจะมีการพัฒนาท่าเรือหลักๆ เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะเดียวกันก็มีแผนพัฒนาเส้นทางขนส่งและการคมนาคมทางเรือในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยจะเชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำระหว่างพื้นที่ทางฝั่งอ่าวไทย กับฝั่งอันดามัน

เป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการคมนาคมขนส่งทางน้ำเพื่อแก้ปัญหาการจราจร และลดต้นทุนการขนส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แผนการพัฒนาและส่งเสริมการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางทางบกกับแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือ 29 ท่า ดังนี้


ระยะที่ 1 การพัฒนาท่าเรือริมเจ้าพระยารวม 5 ท่า ได้แก่ ท่าเรือสาทร ท่าเรือท่าช้าง ท่าเรือท่าเตียน ท่าเรือกรมเจ้าท่า และท่าเรือราชินี ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2562-2563

ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2564-2565 พัฒนาท่าเรือจำนวน 14 ท่า

ระยะที่ 3 ระหว่างปี 2565-2566 พัฒนาท่าเรือจำนวน 1 ท่า จากนั้นจะพัฒนาเป็น Smart Pier ภายในปี 2565

โดยจะปรับแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี เพื่อรองรับการพัฒนาและการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ และจัดหาเอกชนเข้าบริหารท่าเรือ โดยกรมเจ้าท่าจะกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในการดำเนินการ มีระบบควบคุมเรือ-ท่าเรือ กรมเจ้าท่าจะศึกษาระบบภายในปี 2564 จากนั้นจะมีการติดตั้งระบบในปีงบประมาณ 2565

แนวทางดำเนินการจะบูรณาการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่น ๆ กรมเจ้าท่าได้รับมอบหมายให้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางทางน้ำกับระบบขนส่งรูปแบบอื่นๆ อาทิ รถประจำทาง รถตู้ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้า จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-บางใหญ่) ท่าเรือพระราม 7 เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ท่าเรือบางโพ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) ท่าเรือราชินี เชื่อต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) ท่าเรือสาทร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน)

สำหรับรูปแบบเรือที่จะนำมาเปิดให้บริการ กรมเจ้าท่าจะมีการพัฒนาตัวเรือให้เป็นรูปแบบ Smart Ship เพื่ออำนวยความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง

ข้อมูลจากกรมเจ้าท่าระบุว่า ตั้งแต่ปี 2514-2562 ที่ผ่านมา กรมเจ้าท่าได้ปรับปรุงพัฒนาท่าเทียบเรือโดยสารสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลต่อเนื่อง โดยจำนวนท่าเรือโดยสารสาธารณะทั้งหมดอยู่ที่ 99 ท่าเรือ ในจำนวนนี้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 57 ท่าเรือ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 21 ท่าเรือ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 13 ท่าเรือ และจังหวัดปทุมธานี จำนวน 8 ท่าเรือ

ขณะเดียวกันก็มีแผนพัฒนาส่งเสริมการขนส่งสินค้าในพื้นที่ภูมิภาค ในแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก การเชื่อมโยงภาคใต้ตอนล่างฝั่งทะเลอ่าวไทย และอันดามัน ดังนี้

1. แผนพัฒนาส่งเสริมการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยาและป่าสัก

- โครงสร้างพื้นฐานจะพัฒนาปรับปรุงท่าเรือของภาคเอกชน โดยเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด การจัดสร้างเขื่อนยกระดับน้ำ จะของบประมาณในการก่อสร้างระหว่างปี 2566-2569 การขุดลอกร่องน้ำ และเขื่อน แม่น้ำป่าสัก

- ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง  อาทิ ระบบ GPS, Tracking,Radar,การบริหารจัดการข้อมูล

- กรมเจ้าท่าการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เพื่อ ยกระดับสะพาน เขื่อนทดน้ำ ฟลัดเวย์บางบาล-บางไทร

- การกำหนดมาตรการในการควบคุมเรือและขนาดเรือ

2. การพัฒนาและส่งเสริมการขนส่งสินค้าท่าเรือแหลมฉบัง-บางสะพาน ตามแผนจะมีการพัฒนาท่าเรือเอกชนที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวนคีรีขันธ์ และท่าเรือแหลมฉบัง-ศรีราชา ฮาร์เบอร์

3. การเชื่อมโยงภาคใต้ตอนล่าง (ท่าเรือสงขลา 2 และท่าเรือฝั่งอันดามัน)

4. การพัฒนาท่าเรือระนอง ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการการขุดลอกร่องน้ำ การเชื่อมโยงระหว่างฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน


ทั้งนี้เป็นที่น่าจับตาว่าภายใต้โครงการทั้งหมด แม้โจทย์จะเป็นการแก้ปัญหาด้านการจราจรและการขนส่ง ทว่าผลพลอยได้คือ ย่านดังกล่าวจะกลายเป็นทำเลทองที่นักลงทุนต่างหมายตาอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะเกิดเป็นย่านการเดินทางการค้าใหม่ในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งโครงการด้านการพัฒนาท่าเรือและการขนส่งทางเรือยังเป็นตังเร่งด้านการลงทุนอีกด้วย 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


การใช้ Food Delivery ของคนไทยช่วงโควิด

ผลไม้ล้นตลาด! โอกาสที่ต้องทบทวน-รีบคว้าไว้



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1232 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1591 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1877 | 25/01/2024
ผุด 29 ท่าเรือตามแผนพัฒนาริมเจ้าพระยา