จีนทุ่มพัฒนาพันธุ์ “ข้าว-ทุเรียน” หวังลดการนำเข้า

SME in Focus
01/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4069 คน
จีนทุ่มพัฒนาพันธุ์ “ข้าว-ทุเรียน” หวังลดการนำเข้า
banner

ไม่ถึงกับเป็นข่าวร้าย แต่เหมือนส่งสัญญาณเตือนเกษตรกรไทย กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้จับตาดูประเทศคู่ค้า คู่แข่ง โดยเฉพาะมหาอำนาจอย่างจีน ที่เวลานี้กำลังเร่งวิจัยพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร จากปัจจุบันต้องนำเข้าพืชผลทางการเกษตร อาทิ ข้าว ผัก ผลไม้บางชนิด ฯลฯ ที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคของประชากรในประเทศที่มีกว่า 1,300 ล้านคน

ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาทางการจีนจึงทุ่มเททั้งงบประมาณ และกำลังคนจำนวนมาก ทำการค้นคว้าวิจัยทางด้านการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ขณะเดียวกันก็ทดลองในสนามจริงตามมณฑลต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ก่อนเลือกสรรพันธุ์พืชพันธุ์ใหม่ที่สามารถนำไปขยายต่อยอดทำการผลิตในเชิงพาณิชย์ รองรับการบริโภคภายในประเทศและส่งออกเพื่อสร้างรายได้และทดแทนการนำเข้า

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



อย่างทุเรียน ผลไม้ยอดฮิตที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวต่างประเทศโดยเฉพาะในเอเชีย ส่งผลให้ยอดส่งออกทุเรียนไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า ช่วง 6 เดือนแรกปี 2562 ทุเรียนยังคงเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศสูงที่สุด เห็นได้จากสัดส่วนการส่งออกทุเรียนสูงถึง 44 % ของยอดส่งออกผลไม้โดยรวมทั้งหมด

พิจารณาในแง่มูลค่าพบว่า ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ยอดส่งออกทุเรียนไปจำหน่ายในตลาดโลกสูงถึง 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ 45% โดยตลาดส่งออกหลัก คือ จีน และประเทศในอาเซียน ในจำนวนนี้เป็นยอดส่งออกไปตลาดจีนรวม 425 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ผ่านมา 70% ทั้งนี้ ปี 2561 ไทยส่งออกทุเรียนรวมทั้งสิ้น 5.18 แสนตัน มูลค่ารวมกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท

 

ทุ่มพัฒนาพันธุ์ข้าวน้ำเค็ม – ทดลองปลูกทุเรียน

ความนิยมบริโภคทุเรียน ที่คนจีนถือเป็นผลไม้มงคล ซึ่งพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ทางการจีนใช้วิธีเรียนลัด นำเข้าพันธุ์ทุเรียนยอดนิยมจากมาเลเซีย  ไปใช้เป็นต้นแบบในการวิจัยพัฒนาการปลูกทุเรียนในมณฑลไหหลำ แหล่งที่เคยปลูกเงาะ รวมทั้งทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทยได้ผลมาแล้ว ข่าวล่าสุดแจ้งว่า ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ความพยายามในการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวก็คืบหน้าไปไกล ทำให้ทางการจีนตั้งเป้าผลิตข้าวในเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออกในอนาคตอันใกล้ โดยสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง รายงานว่า สำนักข่าว China Daily รายงานว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวทนดินเค็ม เมืองชิงต่าว มณฑลชานตง ของจีน ได้ทดลองปลูกข้าวทนดินเค็มด้วยเมล็ดพันธุ์ใหม่กว่า 300 สายพันธุ์ ในพื้นที่ 670 เฮกตาร์ หรือประมาณ 4,187 ไร่  เพื่อคัดสรรสายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตจำนวนมาก และทนทานต่อสภาพภูมิอากาศและดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ เป็นผลมาจากพื้นที่เพราะปลูกข้าว และพื้นที่กักเก็บน้ำในระบบชลประทานของลดลง และยังเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจรักษาความมั่นคงทางอาหาร

คาดว่าภายในปี 2562 นี้ โครงการดังกล่าวจะขยายพื้นที่ทดลองออกไปอีกรวมเป็น 1,300 เฮกตาร์ หรือ 8,125 ไร่ ในมณฑลเฮยหลงเจียง มณฑลชานตง มณฑลชานชี และเขตปกครองตนเองซินเจียง โดยตั้งเป้าคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพ ให้ผลผลิตมากกว่า 4.5 ตัน ต่อ 1 เฮกตาร์(6.25 ไร่) ข้าวสายพันธุ์ใดให้ผลผลิตได้ตามเกณฑ์ก็จะผ่านการคัดเลือกเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่

ภายในปี 2562 ศูนย์วิจัยแห่งนี้จะส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการคัดเลือกลุ่มแรก 7 สายพันธุ์ ไปยังกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทำการตรวจสอบ หากได้รับการรับรองก็จะขึ้นทะเบียน และส่งเสริมให้เห็นพันธุ์ข้าวที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ทั่วประเทศ พร้อมตั้งเป้าให้มีการเพาะปลูกในเชิงพาณิชในพื้นที่ดินเค็มทั่วประเทศ 20 ล้านเฮตาร์ หรือประมาณ 125 ล้านไร่ คิดเป็นหนึ่งในห้าของพื้นที่ดินเค็มในประเทศจีนที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกข้าว

 

ผสานเทคโนโลยี ผลักดันสู่ Smart Agriculture

ขณะเดียวกันในการทดลองดังกล่าวทางการจีนได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดการใช้ทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง โดยปลายปี 2561 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยฯ ได้ร่วมมือกับบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่อย่าง Huawei นำเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ Big Data ,Cloud Computing,  Internet of Things มาใช้จัดเก็บข้อมูล เพื่อติดตามและรายงานเกี่ยวกับสภาพความเค็มของดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเตือนภัยการแพร่ระบาดของโรคและแมลง ในลักษณะการเกษตรอัจฉริยะ หรือ  Smart Agriculture ซึงในอนาคตจะขยายไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ

ทั้งนี้การทดลองปลูกข้าวทนดินเค็ม เป็นโครงการที่ทางการจีนดำเนินการมาเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และลดพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ และตาดว่าจีนนำนำพันธุ์ข้าวใหม่ที่ได้จากการวิจัยพัฒนาไปขยายผลเพาะปลูกในเชิงภาณิช และจะขยายความร่วมมือด้านการเพาะปลูกข้าวไปหลายประเทศทั่วโลก


จากคู่ค้าอาจเปลี่ยนเป็นคู่แข่ง

ไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญประเทศหนึ่งจึงต้องเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง และนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการเกษตรมากขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้เกษตรกรแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความแตกต่างในตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ข้าว เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน รักษาส่วนแบ่งการส่งออกของตลาดข้าวไทย

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานสถานการณ์การส่งออกข้าวไทย ว่าช่วงปี 2561 ที่ผ่านมาไทยส่งออกข้าวไปจำหน่ายในตลาดโลกเป็นอันดับที่ 2 รวม 11.09 ล้านต้น รองจากอินเดีย ที่ส่งออก 11.97 ล้านตัน ลดลงจากปี 2560 ที่ส่งออก 11.67 ล้านตัน ขณะที่ปี 2559 มีการส่งออกข้าวรวม 9.91 ล้านตัน

โดยผู้นำเข้าข้าวไทยรายสำคัญ ได้แก่ ประเทศเบนิน ปี 2561 ที่ผ่านมา มีการนำเข้าข้าวจากไทย 1.60 ล้านตัน ฟิลิปปินส์ 1.02 ล้านตัน จีน 1.00 ล้านตัน อินโดนีเซีย 8.12 แสนตัน แอฟริกาใต้ 7.69 แสนตัน สหรัฐอเมริกา 5.05 แสนตัน มาเลเซีย 4.75 แสนตัน ฯลฯ

โอกาสที่จีนซึ่งปัจจุบันเป็นลูกค้าในตลาดข้าวของไทยจะก้าวเป็นคู่แข่งจึงอยู่ไม่ไกล หน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมรองรับ

ขณะเดียวกันด้วยจุดแข็งของศักยภาพทำเลที่ตั้ง สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้ไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรแหล่งสำคัญของโลกมาแต่อดีต ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงต้องช่วยกันรักษาจุดแข็งข้อได้เปรียบ โดยนำเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่มาปรับใช้ทั้งในการผลิต แปรรูป การตลาดสินค้าเกษตร ยกระดับเกษตรเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ หรือ Smart Farmer ให้สำเร็จ แทนการทำเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ ฝน ฟ้า ฝันใหญ่ การผลักดัน “ประเทศไทยเป็นครัวโลก” จึงจะเป็นจริง

สร้างอนาคตทุเรียนไทย เสริมตลาดใหม่

แนะเกษตรยุคใหม่เน้นตลาดเฉพาะกลุ่ม เสริมด้วยนวัตกรรม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
148 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
372 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1285 | 01/04/2024
จีนทุ่มพัฒนาพันธุ์ “ข้าว-ทุเรียน” หวังลดการนำเข้า