ส่องแนวโน้มการลงทุนประเทศ CLMV

SME Update
25/11/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3646 คน
ส่องแนวโน้มการลงทุนประเทศ CLMV
banner

ลู่ทางสู่ถนนการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา มีอัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด และเป็นกลุ่มประเทศอยู่รอบรั้วประเทศไทย ทั้งนี้การเข้าไปลงทุนกลุ่มประเทศ CLMV หากวิเคราะห์เจาะลึกระหว่าง 4 ชาติดังกล่าวแล้ว ตลาดไหนที่ผู้ประกอบการไทยน่าเข้าไปลงทุนมากที่สุด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme  


กัมพูชา(Cambodia) นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยที่คิดว่าจะเข้าไปลงทุนด้วยต้องคิดให้หนัก รอบคอบและหากต้องการเข้าไปลงทุน ต้องลงทุนกิจการที่ไม่เหมือนคนอื่น เพราะกัมพูชาตอนนี้กลุ่มนายทุนใหญ่จากประเทศจีนเข้าจำนวนมาก แต่ใช่ว่าจะหมดโอกาสเสียเลียทีเดียวหากนักลงทุนและผู้ประกอบการไทยจะเข้าไปลงทุนในกัมพูชาในช่วงนี้ต้องรอโอกาสและฟังเสียงนกหวีดจากรัฐบาลของสมเด็จ ฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรี ของกัมพูชา ว่าจะออกมาตรการและเงื่อนไขกระตุ้นลงทุนจากชาติมากน้อยแค่ไหน

สปป.ลาว (Laos) ยุคนี้ต้องบอกว่ากลุ่มนักลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ายึดเกือบทั้งหมดแล้ว สาเหตุที่กลุ่มทุนจีนรุกลงทุนหนักในลาว เนื่องจากกลุ่มนักลงทุนจีนมองการณ์ไกลว่ารถไฟความเร็วสูงจากเมืองคุนหมิงของจีนจะมาเชื่อมนครเวียงจันทน์ภายใน 2564 ทำให้กลุ่มนักลงทุนจากจีนแห่ปักธงในลาวอย่างต่อเนื่องซึ่ง กลุ่มทุนนี้ไม่มุ่งหวังผลิตเพื่อขายในประเทศลาวเพราะมีประประชากรน้อย แต่เป้าหมายหลักคือส่งออกสินค้าขายต่างประเทศผ่านระบบขนส่งรถไฟความเร็วสูง

เวียดนาม (Vietnam) ประเทศนี้กำลังพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว สาเหตุเพราะการเมืองมีเสถียรภาพ การลงทุนทุกอย่างเด็ดขาดเพราะรัฐบาลกำกับดูแลเบ็ดเสร็จ การที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้าไปลงทุนด้วยโอกาสยังเปิดกว้าง แต่ต้องศึกษาลู่ทางให้ดี เพราะตลอดสิบปีที่ผ่านมาบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศก็เข้าไปปักธงครอบครองแย่งส่วนแบ่งตลาดครบทุกเซ็กเมนต์หมดแล้ว

เมียนมา (Myanmar) เพิ่งเปิดประเทศออกสู่ประชาคมโลกมาได้ไม่นาน ทำให้นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยยังมีโอกาสเข้าไปแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติได้ เพราะเมียนมากำลังเร่งพัฒนาประเทศให้เติบโตแบบก้าวกระโดดเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจก้าวทันประเทศเพื่อนบ้าน "เมียนมาเป็นตลาดสุดท้ายในประเทศ CLMV" ที่นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยมีโอกาสเหนือชาติอื่นๆ เพราะไทย-เมียนมา ถือเป็นประเทศคู่ค้ามายาวนาน

สรุปประเทศที่มีภาพรวมน่าลงทุนที่สุดสำหรับผู้ประกอบการไทย คือเมียนมา ในภาคธุรกิจให้บริการและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจดังกล่าวได้รับอานิสงส์จากการปฏิรูปประเทศทั้งระบบนั่นเอง นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจบริการ ซึ่งทุกวันนี้บุคลากรยังขาดแคลนไม่เพียงพอต่อการรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเมียนมาในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งยังรวมถึงธุรกิจสื่อ ธุรกิจโฆษณา,ธุรกิจการจัดกิจกรรม Events ต่างๆ และธุรกิจเทคโนโลยีชั้นสูงที่จะตอบสนองความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศที่หลากหลาย


ค่าแรงยังถูก-รัฐบาลมอบสิทธิพิเศษด้านภาษี

นับตั้งแต่รัฐบาลเมียนมามีนโยบายเปิดประเทศอ้าแขนรับการลงทุนจากนานาชาติ ทางการเมียนมาได้ปรับปรุงกฎหมายการลงทุนฉบับเดิมให้เกิดความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อสอดรับกับสภาพแวดล้อม โดยทางการเมียนมาได้ออกกฎหมายด้านการลงทุนจากต่างชาติฉบับใหม่ ในชื่อ “กฎหมายการลงทุนของเมียนมา (Myanmar Investment Law – MIL)” มาใช้แทนกฎหมายฉบับเดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นมา

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (Myanmar Investment Commission – MIC)” ที่มีหน้าที่หลักในการประสานงานระหว่างผู้ลงทุนกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บทกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ดังกล่าว รัฐบาลเมียนมามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยจะยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมตามที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนด และจะยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพื้นที่ของการลงทุนอีกด้วย เช่น เขต 1 เขตการลงทุนที่พัฒนาน้อยที่สุด (เช่น เมืองมิตจีนา พะโม และปูตาโอ ในรัฐกะฉิ่น )จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 7 ปีติดต่อกัน

ความน่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ ณ ตอนนี้ค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเมียนมาก็ยังคงถูกเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกัน กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ไม่น่าแปลกใจทำให้หลากหลายธุรกิจมุ่งหน้าเข้าไปลงทุน และย้ายฐานการผลิตไปปักธงที่ประเทศเมียนมาเป็นจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนการผลิต

 

กฎหมายเบื้องต้นที่นักธุรกิจควรรู้ก่อนลงทุน

1.กฎข้อบังคับทางบัญชี ภาษี การจดทะเบียน การแต่งตั้งตัวแทนการค้า ผู้จัดจำหน่าย

2.การนำเข้า-ส่งออก สินค้าจากไทยไปเมียนมา และเมียนมามาไทย

3.การเปิดบัญชีกับธนาคาร การโอนเงินเข้า-ออก

4.กฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการร่วมทุน รวมถึงกฎหมายและข้อบังคับใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้น เช่น กฎหมายการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
3 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
3 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
5 | 11/04/2025
ส่องแนวโน้มการลงทุนประเทศ CLMV