โกโก้ พืชเศรษฐกิจที่เป็นโอกาสและความท้าทาย

SME in Focus
19/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 19954 คน
โกโก้ พืชเศรษฐกิจที่เป็นโอกาสและความท้าทาย
banner

ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกยางพารา เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดความเสี่ยงในการปลูกยางพาราที่ผันผวนและราคาลดลงอย่างหนัก ส่งผลให้หลายฝ่ายเริ่มพูดถึงการผลักดัน ให้ “โกโก้” พืชเศรษฐกิจใหม่ของไทย จากความต้องการให้ตลาดส่งออกทั้งสหรัฐ สิงคโปร์ เยอรมนี ออสเตรเลีย หันมานำเข้า ขณะที่ผลผลิตเริ่มมีราคาดีและกำไรสูงขึ้น ประมาณไร่ละ 45,000 บาท


ข้อมูลจาก “รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช” ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า โกโก้ (Cocoa) เป็นอีกพืชเศรษฐกิจของอาเซียน เพราะมีการปลูกกันหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปฟินส์ เวียดนาม และไทย แต่อาเซียนไม่ใช่ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 




ในปี 2560 ผลผลิตโกโก้โลกอยู่ที่ 4.6 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการอยู่ที่ 3.5 ล้านตัน  โดยทวีปแอฟริกาเป็นแหล่งเพาะปลูกหลักของโลกมีผลผลิตสัดส่วน 72% ของผลผลิตโลก ตามด้วยลาตินอเมริกา 18% และเอเชีย 10% โดยไอวอรีโคสต์  กานา เอกวาดอร์ และอินโดนีเซีย คือ 4 ประเทศที่มีกำลังผลผลิตถึง 72%  ขณะที่แหล่งนำเข้าหลัก คือ สหภาพยุโรปที่มีความต้องการคิดเป็นสัดส่วน 40% อเมริกาเหนือมีความต้องการสัดส่วน 23% เอเชีย 17%



ทั้งนี้ คาดการณ์ของInternational Cocoa  Organization ถึงแนวโน้มพืชโกโก้ในปี 2563 ว่า ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าความต้องการโกโก้ของโลก 4.7 ล้านตัน และการผลิตโลกอยู่ที่ 4.6 ล้านตัน  



อย่างไรก็ตาม ในราคาโกโก้ยังไม่ดีเท่าไรนัก โดยราคาปี 2561 อยู่ที่ตันละ 2,185 เหรียญสหรัฐ​ ลดลงจากปี 2559 ที่เคยมีราคาตันละ 3,361 เหรียญสหรัฐ  เป็นผลจากปริมาณผลผลิตโกโก้โลกยังสูงกว่าความต้องการ ส่งผลให้ปริมาณสต็อกโกโก้โลก ปี 2558-2560 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ผลิตมากกว่าความต้องการ) จาก 1.4 ล้านตัน เป็น 1.7 ล้านตัน

โดยรศ.ดร. อัทธ์ ได้เปรียบเทียบการผลิตโกโก้ในอาเซียนทั้ง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งต่างก็ได้ปรับเปลี่ยนไป เช่น โดยอินโดนีเซียลดปริมาณการผลิตจาก 8.5 แสนตัน ปี 2552 เหลือ 2.9 แสนตันในปี 2560 พร้อมทั้งปรับขึ้นภาษีส่งออกเมล็ดโกโก้ 0-15% เพื่อลดการส่งออกเมล็ด แต่มุ่งเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าสูง และส่งเสริมอุตสาหกรรมช็อคโกแลต 



เช่นเดียวกับสถานการณ์ผลผลิตของมาเลเซีย ที่มุ่งลดพื้นที่ปลูกลดลงจาก 2.5 ล้านไร่ เหลือ 1 แสนไร่  ทั้งที่มีเป้าหมายเป็น "King of Chocolate in Asia" รัฐบาลจึงบรรจุใน "National Commodity Policy 2554-2563" ว่าต้องเพิ่มผลผลิตเป็น 6 หมื่นตัน พื้นที่ปลูกเป็น 2.5 แสนไร่ ผลผลิตต่อไร่เพิ่มจาก 192 กก./ไร่ เป็น 240 กก./ไร่ และให้เงินสนับสนุนในการปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ 



ส่วนฟิลิปฟินส์ผลิต 8,000 ตัน (ปี 2559) มีเป้าหมาย 1 แสนตัน ในปี 2563 เวียดนามปลูก 1.5 แสนไร่ (ปี 2555) ผลผลิต 7 หมื่นตัน ปลูกทางตอนใต้ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เป้าหมาย 5 แสนไร่ ในปี 2563



ทั้งนี้ ในอนาคตอาเซียนมีโอกาสจะพัฒนาเป็น "ศูนย์กลางช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์จากโกโก้" จากความร่วมมือของอินโดนีเซียและมาเลเซีย  ส่วนมาเลเซียเน้นการแปรรูปอย่างเดียว ในขณะที่เวียดนามยังต้องเร่งการผลิตเพื่อส่งออกเมล็ดโกโก้ ส่วนการแปรรูปคงต้องใช้ระยะเวลา  

สำหรับประเทศไทย หากต้องการผลักดันสินค้านี้ รัฐบาลต้องรวบรวมข้อมูลโกโก้ทั้งหมด ตั้งคณะกรรมการโกโก้ แห่งชาติ (Thailand Cocoa Board) เพื่อดูแลโกโก้ทั้งระบบ ควบคุมมาตรฐาน ได้แก่ พันธุ์ และคุณภาพของผลผลิต  และจัดทำแผนโปรโมท เช่นจัดเทศกาลช็อกโกแลตแบรนด์ไทย 




ด้านเกษตรกร "นายนิตย์ ตั่นอนุพันธ์" ผู้นำเกษตรกร อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มองว่าทั่วโลกมีความต้องการมากนำโกโก้ไปใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้ง เครื่องสำอาง และอาหาร ทำให้ราคารับซื้อโกโก้สูงขึ้น ดังนั้นโกโก้สามารถเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคตของไทย ปัจจุบันเไทยสามารถผลิตได้เพียงหลักร้อยตันเท่านั้น การปลูกโกโก้ในไทยเริ่มปลูกมีมากขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ปลูก 47 จังหวัดทั่วประเทศ โดยการเก็บเก็บผลผลิตจะเริ่มเก็บในปีที่ 3 เป็นต้นไป     


นายอภิชา แย้มเกษร อุปนายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย สะท้อนว่าแม้ว่าจำนวนร้านกาแฟจะเพิ่มขึ้น และโกโก้จะได้รับความนิยมมากขึ้นตาม แต่โกโก้ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย  และยังมีข้อจำกัดในการส่งเสริมการปลูกทั้งจากองค์ความรู้ในการดูแลรักษา การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ใช้ปลูก รวมถึงกระบวนการแปรรูป  ฉะนั้นที่เริ่มปลูกโกโก้ต้องหาข้อมูลให้มาก  



 

สร้างอนาคตทุเรียนไทย เสริมตลาดใหม่ 

“มะพร้าวน้ำหอมออร์แกนิก” พืชเศรษฐกิจทำเงิน



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
231 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
401 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
318 | 20/03/2024
โกโก้ พืชเศรษฐกิจที่เป็นโอกาสและความท้าทาย