ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจมีกำไรได้เพิ่มขึ้น

SME in Focus
26/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3830 คน
ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจมีกำไรได้เพิ่มขึ้น
banner

คำถามคลาสสิก สำหรับธุรกิจ ทำอย่างไรจึงสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่กิจการ? ถ้ามูลค่าเพิ่มที่ว่าคือรายได้หรือกำไรที่เพิ่มขึ้น ประเด็นสำคัญอาจต้องย้อนไปที่ต้นทุนภาคการผลิต และสิ่งที่ต้องรู้เรียกว่า cost per unit คือ ต้นทุนต่อหน่วยสินค้า แน่นอนว่าต้นทุนสูง คือค่าใช้จ่ายต่อยูนิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในฐานะผู้ประกอบการ การลดต้นทุนหมายถึงเพิ่มกำไร

ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเรื่อง ห่วงโซ่คุณค่า หรือ Value Chain เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการได้ โดยนำมาปรับใช้ในการสร้างคุณค่าของสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อช่วยลดต้นทุน และสามารถทำให้มีกำไรมากขึ้น เรียกสิ่งนี้ว่าการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกําไร (Cost-Volume-Profit Analysis)

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างของต้นทุน ปริมาณขาย และกําไร เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนและการตัดสินใจในการดําเนินงานของธุรกิจการตัดสินใจใดๆ ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนคงที่ในการดําเนินงานจํานวนมาก ค่าใช้จ่ายคงที่เหล่านี้เป็นภาระผูกพันที่เกิดขึ้นแน่นอน ไม่ว่าจะมีรายได้จากการขายหรือไม่ก็ตาม

ถ้าใครเคยเรียนด้านนี้มาอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า จุดคุ้มทุน (Break-even Analysis) ที่จะบอกถึงปริมาณขายที่จะทําให้ธุรกิจอยู่รอด

หากคำนวณจุดคุ้มทุนนี้ไม่ได้ รายได้มีปัญหาแน่นอน เช่น ขายข้าวกล่องออนไลน์ ราคากล่องละ 80 บาท มีค่าดำเนินการ ตั้งแต่ต้นทุนผันแปร(ราคาค่าวัตถุดิบมีขึ้นลง) เป็นค่าการจัดหาวัตถุดิบ การปรุง ค่าอุปกรณ์ ค่าขนส่ง จิปาถะ มีต้นทุนต่อกล่องที่  45 บาท รวมถึงจ้างคนงานในครัวอีก 2 คน จ่ายรายเดือนคนละ 12,000 บาท เท่ากับมีต้นทุนคงที่(ต้นทุนที่ต้องจ่ายทุกเดือนแม้จะไม่ได้ขาย)ต่อเดือน 2,4000 บาท

ต้องขายข้าวกล่องวันละเท่าไหร่จึงจะคุ้มทุน ?

ลองตั้งสูตร

จุดคุ้มทุนต่อชิ้น/เดือน = ต้นทุนคงที่ หาร (ราคาต่อหน่วย ลบ ต้นทุนผันแปร)

24,000 หาร (80 – 45) = ต้องขายได้ขั้นต่ำ   = 685 กล่องต่อเดือน

ค่าเฉลี่ยขายได้วันละ 22 กล่องคือคุ้มทุน (หมายความว่ายังไม่ได้กำไร)

 

กรณีนี้ หากเจ้าของร้านข้าวกล่องอินดี้หน่อย ต้องการทำข้าวกล่องแค่วันละ 300 กล่องแบบลิมิเต็ดอิดิชั่นสำหรับคนที่อยากกินเท่านั้น ต้องการหาสูตรคำนวณราคาขายต่อกล่องถึงจะคุ้มค่า ก็ประกอบด้วย ต้นทุนแปรผัน คือราคาทุนข้าวกล่องกล่องละ 65 บาท มีต้นทุนคงที่ 24,000 บาท (ค่าพนักงาน) ภายใต้โจทย์ 300 กล่องต่อวัน ต้องขายข้าวกล่องราคาขั้นต่ำเท่าไหร่

ตั้งสูตร

ต้นทุน = ต้นทุนคงที่ บวก (ต้นทุนแปรผัน คูณ จำนวนสินค้า) หาร จำนวนสินค้า

ตั้งสูตร  24,000 + (65 X 300) หาร 300

ต้นทุนข้าวกล่องอินดี้ราคาต่อชิ้นที่ต้องขาย = 145 บาท (ผู้ขายอาจบวกราคาไปอีก 20 -30% เพื่อให้มีกำไร)

 

สิ่งเหล่านี้เป็นหลักการพื้นฐานในการคำนวณต้นทุนผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือ ขายออนไลน์ หรือแม้แต่โรงงานขนาดเล็กสามารถนำไปปรับใช้ได้

ในขณะที่ธุรกิจในปัจจุบันนิยมสั่งของจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง ลักษณะจ้างผลิต (OEM) มาทำการตลาดออนไลน์และขายให้ลูกค้า แล้วต้องการตั้งราคาขายต่อกล่อง

มายกตัวอย่างการคำนวณต้นทุนแบบนี้กัน

เช่น นาย ก จ้างผลิตอาหารเสริม 10,000 กล่อง ราคากล่องละ 120 บาท  มีค่าขนส่งจากโรงงาน 3,000 บาท ค่าจ้างดูแลเพจตอบคำถามลูกค้า 12000 บาท/เดือน

10,000 X (120 + 3000 + 12,000) หาร 10,000

ต้นทุนต่อชิ้นเท่ากับ 121.5 บาท  


ในขณะที่หากเป็นโรงงานหรือกิจการขนาดใหญ่ แน่นอนว่าย่อมคำนวณต้นทุนสินค้าต่อหน่วยเป็น แต่ก็มีสิ่งที่ผู้ประกอบการลักษณะนี้สามารถลดต้นทุนได้ ด้วยการจัดการต้นทุนด้านโลจิสติกส์ กิจกรรมหลักที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการ การตลาดและการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย

1. โลจิสติกส์ขาเข้า เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการได้รับการขนส่ง การจัดเก็บ และการแจกจ่ายวัตถุดิบ รวมถึงการจัดการสินค้าคงเหลือ

2. การปฏิบัติการภาคผลิต เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มการผลิต การบรรจุ จนถึงการตรวจสอบคุณภาพ

3. โลจิสติกส์ขาออก เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า

4. การขายและการส่งเสริมการตลาด เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ เช่น การเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย การโฆษณา และการส่งเสริมการขาย

5. การบริการ เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมถึงการให้บริการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขาย การแนะนำการใช้

ต้นทุนคือค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนได้ เท่ากับลดค่าใช้จ่าย และอาจส่งผลต่อกำไรที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเจ้าของกิจการจึงต้องให้ความสำคัญต่อต้นทุนตั้งแต่ภาคการผลิต ตลอดจนพิจารณาดูว่าปัจจัยภายในองค์กรของตนเองมีปัจจัยใดที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการได้บ้าง


5G พลิกโอกาส SMEs ไทย

3 แนวทางเพื่อธุรกิจทันยุค 4IR


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
220 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
405 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1360 | 01/04/2024
ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจมีกำไรได้เพิ่มขึ้น