ประเทศ ‘อาเซียน’ กับมาตรการเยียวยาธุรกิจช่วงโควิด

SME in Focus
25/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2556 คน
ประเทศ ‘อาเซียน’ กับมาตรการเยียวยาธุรกิจช่วงโควิด
banner

นับตั้งแต่มีนาคมที่ผ่านมา หลายประเทศในอาเซียนต่างออกสารพัดมาตรการแก้ปัญหาและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อาทิ มาตรการปิดประเทศ สถานให้บริการหลายแห่งถูกสั่งปิดชั่วคราว การให้ประชาชนกักตัวอยู่บ้าน งดการเคลื่อนย้ายประชากร และเข้มงวดด่านเข้าออกประเทศในทุกด้านเพื่อหวังป้องกันการการแพร่ระบาดของ COVID-19

จากมาตรการดังกล่าวทำให้หลายประเทศประสบปัญหาการหยุดชะงักของเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากการงดเว้นกิจวัตรเดิมๆ ของประชาคน ห้างร้าน ค้าปลีก และสถานบริการ ร้านอาหาร ตลอดจนการท่องเที่ยวและโรงแรม รวมไปถึงการค้าและการส่งออกที่อาจหยุดชะงักลงจากซัพพลายเชนในภาคการผลิตที่ขาดตอน

สิ่งเหล่านี้กำลังบีบรัดเศรษฐกิจในแต่ละประเทศที่ใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และด้วยเหตุนี้นับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลายประเทศในอาเซียนต่างงัดสารพัดมาตรการเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการในภาคต่างๆ รวมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากการระบาดของไวรัส ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศจนเรียกได้ว่าเป็นการ ล็อกดาวน์เศรษฐกิจ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


สิงคโปร์

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก รัฐบาลสิงคโปร์ได้ออกมาตรการ Circuit Breaker เพื่อให้ภาคเอกชนทั้งหมดปิด สำนักงาน/ห้างร้าน และให้พนักงานทํางานที่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. – 4 พ.ค. 63 ยกเว้นหน่วยงานที่เป็น essential service หรือที่มีความสําคัญต่อห่วงโซ่อุปทานโลก โดยรัฐบาลสิงคโปร์ขอให้ประชาชนทั้งหมดอยู่บ้านให้มากที่สุด

รวมทั้งมีการออกงบประมาณช่วยเหลือเยียวยาประชาชนรอบที่ 3 (Solidarity Budget) จํานวน 5.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์อย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่รอดได้ในช่วง 1 เดือนของ circuit breaker measures แบ่งเป็น

1. เงินช่วยเหลือภาคเอกชน  4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งจะมาจากเงินสดสํารองของประเทศ

- การอุดหนุนเงินเดือนร้อยละ 25 – 75 ของเงินเดือน 4,600 ดอลลาร์สิงคโปร์ สําหรับลูกจ้างชาวสิงคโปร์ทุกคนในเดือน เม.ย. 63 เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม แบ่งเป็น (แรงงานในธุรกิจการบิน โรงแรม และการท่องเที่ยว ได้รับร้อยละ 75 ของเงินเดือน แรงงานในธุรกิจอาหารได้รับร้อยละ 50 ของเงินเดือน และแรงงานในภาคอื่นๆ ได้รับร้อยละ 25 ของเงินเดือน)

- การยกเว้นภาษีแก่นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างชาติในเดือน เม.ย. 63 เป็นเงิน 750 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อลูกจ้าง 1 คน

- การอุดหนุนผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้น้อยกว่า 21,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี ให้ได้รับเงินอุดหนุนเดือนละ 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นเวลา 9 เดือน

- รัฐบาลจะรับภาระความเสียงของเงินกู้ในอัตรา ร้อยละ 90 ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยเงินกู้ให้ภาคเอกชน ซึ่งเป็นมาตรการเพิ่มจากเดิมที่จะรับความเสียงร่วมที่ร้อยละ 80

- การยกเว้นค่าเช่าสํานักงานสําหรับภาคเอกชน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรมบนพื้นที่ของรัฐ 1 เดือนเต็ม (เพิ่มจากเดิมที่จะยกเว้นค่าเช่าเพียงครึ่งเดือน)

- การจ่ายคืนภาษีที่ดินร้อยละ 100 สําหรับการเช่าพื้นที่ที่ไม่ใช่เคหสถาน/ที่พักอาศัยประจําปี 2563

2. เงินช่วยเหลือประชาชนแบบให้เปล่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งจะมาจากการผันงบประมาณประจําปีของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะจ่ายเงินแบบให้เปล่า 1 ครั้ง จํานวน 600 ดอลลาร์สิงคโปร์/คน แก่คนชาติสิงคโปร์ทุกคนที่มีอายุ 21 ปีหรือมากกว่า โดยจะโอนเงินเข้าบัญชีภายในวันที่ 14 เม.ย. 63 หรือจ่ายเช็คภายในวันที่ 30 เม.ย. 63



อินโดนีเซีย

สำหรับ อินโดนีเซียแม้ภาคเอกชนจะมีเสียงเรียกร้องให้รัฐเยียวยา และนับเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดในอาเซียน แต่ท่าทีล่าสุดของรัฐบาล คือเตรียมมาตรการที่คล้ายคลึงกับช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2551 รวมถึงการซื้อคืนพันธบัตร รัฐบาล และการชะลอการชำระภาษีรายได้ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดการเงินและลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า COVID-19 หน่วยงานด้านการเงินจะกำกับตลาดตราสารหนี้ให้เป็นไปตามมูลค่าพื้นฐาน

โดยสถานการณ์ปัจจุบันอาจนำไปสู่พฤติกรรมการตลาดที่ไม่มีเหตุผล ทั้งนี้ได้สร้างกรอบการทำงานเพื่อรักษาเสถียรภาพของพันธบัตรให้ตลาดสงบ

ขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองด้วย ซึ่งจะช่วยป้องกันการเก็งกำไรและทำกำไรมากเกินไปในช่วงที่สถานการณ์ผิดปกติ

ทั้งนี้รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะชะลอการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จากประสบการณ์ปี 2551 โดยได้เตรียมกลไกสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้และครอบคลุมถึงภาคส่วนใดบ้าง

ล่าสุดรัฐบาลอินโดนีเซียประกาศมาตรการกระตุ้นทางการคลังมูลค่า 10.3 ล้านล้านรูเปียห์ เพื่อต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรค รวมถึงการลดขั้นตอนการนำเข้า และการลดหย่อนภาษี เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตและการค้า



มาเลเซีย

รัฐบาลใหม่ของมาเลเซียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Muhyiddin Yassin ได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของมาเลเซีย เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อ 27 มี.ค. 2563 และ มี.ค. 2563 สามารถสรุปได้ดังนี้

1. ช่วยเหลือความเป็นอยู่ของประชาชนมูลค่า 128 พันล้านริงกิต เน้นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าครั้งเดียวแก่ประชาชนรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง ข้าราชการ ข้าราชการเกษียณ นักศึกษา คนขับแท็กซี่ เพื่อลด/ชะลอรายจ่ายค่าสาธารณูปโภคและค่าเช่าบ้าน พักชำระหนี้ส่วนบุคคล พักชำระหนี้กู้ยืมด้านการศึกษา และให้ประชาชนสามารถถอนเงินจากกองทุนสะสมเพื่อเกษียณอายุได้

2. สนับสนุนภาคธุรกิจและ SMEs มูลค่า 100 พันล้านริงกิต เน้นการช่วยเหลือเพื่อสร้างสภาพคล่องทางธุรกิจและรักษาการจ้างงาน เช่น อุดหนุนค่าจ้างให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ พักชำระหนี้ภาษี ชะลอการชำระเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

3. ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมูลค่า 2  พันล้านริงกิต เน้นการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ 2563 เช่น โครงการ ECRL และดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็ก ปรับปรุงซ่อมแซมสาธารณูปโภค และโรงเรียน

4. ทุ่มเงิน  10 พันล้านริงกิต ตอบสนองข้อเรียกร้องจากภาคธุรกิจ SMEs เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง โดยเฉพาะในช่วงการบังคับใช้มาตรการควบคุมการเดินทาง ซึ่งผู้ประกอบการไม่สามารถเปิดดำเนินกิจการได้ เพิ่มอัตราเงินอุดหนุนค่าจ้างพนักงานเป็น 600 –1,200 ริงกิต/เดือน/คน ขึ้นอยู่กับขนาดบริษัท เป็นระยะเวลา 3เดือน และการให้เงินเปล่าแบบครั้งเดียว 3,000 ริงกิตแก่ Micro SMEs เงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 0 และการยกเว้นหรือลดค่าเช่าสำหรับ ธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กในอาคารที่ Government-Linked Companies (GLCs) เป็นเจ้าของ



สปป. ลาว

นายกรัฐมนตรี สปป. ลาวได้มีข้อตกลงเลขที่ 31/นย. ลงวันที่ 2 เม.ย. 2563 ว่าด้วยการกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจลาว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. ยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้สำหรับเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 5 ล้านกีบ และ MSMEs เป็นเวลา 3 เดือน (เม.ย. – มิ.ย. 2563)

2. ยกเว้นการเก็บภาษี อากร และค่าธรรมเนียมต่างๆ สำหรับการนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการสกัดกั้นและเตรียมความพร้อมรับมือกับแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น หน้ากากอนามัย น้ำยาล้างมือ อุปกรณ์การแพทย์

3. เลื่อนการเก็บภาษีอากรจากผู้ประกอบธุรกิจบริการท่องเที่ยวเป็นเวลา 3 เดือน (เม.ย. – มิ.ย. 2563)

4. ขยายเวลาการส่งรายงานทางการเงินและผลประกอบการปี 2562 ของวิสาหกิจจากวันที่ 31 มี.ค. 2563 เป็นวันที่ 30 เม.ย. 2563

5. ขยายเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการใช้ถนนจากวันที่ 31 มี.ค. 2563 เป็น 30 มิ.ย. 2563

6. ศึกษาความเป็นไปได้ในการผ่อนผันและขยายเวลาการชำระค่าไฟฟ้าและน้ำประปาของผู้ใช้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ

รวมทั้งให้ธนาคารแห่ง สปป. ลาว ดำเนินการดังนี้

- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานของธนาคารแห่ง สปป. ลาว และปรับลดอัตราส่วนเงินสำรองฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ตามความเหมาะสม

- กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการตามนโยบายสินเชื่อเพื่อบรรเทาผลกระทบ เช่น การเลื่อนเวลาชำระเงินต้นและดอกเบี้ย การปรับลดอัตราดอกเบี้ย อนุมัติวงเงินกู้ใหม่แก่ภาคธุรกิจ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การจัดชั้นหนี้

- ขยายเวลาการชำระค่าประกันสังคมภาคบังคับของภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบออกไป 3 เดือน (เม.ย. – มิ.ย. 2563)



ฟิลิปปินส์

นับแต่ต้นเดือน เม.ย. 2563 ภาครัฐฟิลิปปินส์ได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ดังนี้

1. รัฐบาลฟิลิปปินส์อนุมัติการจัดสรรเงินช่วยเหลือภายใต้ COVID-19 Special Risk Allowance (SRA)ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในช่วงมาตรการกักกันชุมชน เพิ่มจากเงินเดือนปกติร้อยละ 25 และเป็นการให้เพียงครั้งเดียว ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆ และเป็นบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดโดยตรงกับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 กลุ่มผู้ป่วยเฝ้าระวังและสอบสวนโรค (PUIs) หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องจับตาดูอาการ (PUM)

2. กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ได้ประกาศการจัดสรรงบประมาณ 3 พันล้านเปโซ เพื่อให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่เกษตรกรท้องถิ่น (ซึ่งเพิ่มจาก 2.8 พันล้านเปโซสำหรับ Survival and Recovery (SURE) Aid Program)

3. กระทรวงสวัสดิการสังคมและการพัฒนาฟิลิปปินส์ ได้อนุมัติงบประมาณ 46.6 ล้านเปโซ มอบให้กับหน่วยราชการท้องถิ่นสำหรับการจัดทำ Family Food Packs เพื่อแจกจ่ายให้ 120,000 ครัวเรือน ในช่วงมาตรการกักกันชุมชน

4. กระทรวงแรงงานและการจ้างงานฟิลิปปินส์จะมอบเงินช่วยเหลือแรงงาน ทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบการจ้างงานจำนวน 350,000 คนที่ไม่สามารถไปทำงานได้ เนื่องจากมาตรการกักกันชุมชน โดยคาดว่าจะจัดสรรเงินช่วยเหลือได้ภายในวันที่ 14 เม.ย. 63



เวียดนาม

ในการประชุมรัฐบาลเวียดนามเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563 กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนามได้เสนอ ร่างมติการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้

1. การให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้มีส่วนร่วมในการปฏิวัติประเทศ (ซึ่งปกติได้รับเงินสวัสดิการทุกเดือน) และ ผู้ที่ได้รับเงินสังคมสงเคราะห์ เป็นจํานวน 500,000 เวียดนามด่ง/คน/เดือน (ประมาณ 685 บาท) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563

2. การให้เงินช่วยเหลือแก่ครัวเรือนที่ยากจน และครัวเรือนที่อยู่ในทะเบียนผู้ใกล้เข้าสู่ภาวะยากจน ตามหลักเกณฑ์ความยากจนแห่งชาติ (สถานะวันที่ 31 ธันวาคม 2562) เป็นจํานวนเงิน 1,000,000 เวียดนามด่ง/ครัวเรือน/เดือน (ประมาณ 1,370 บาท) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563

3. การให้เงินช่วยเหลือแก่แรงงานที่ถูกยกเลิกสัญญาจ้างชั่วคราว หรือแรงงานที่ยินยอมลาโดยไม่รับค่าจ้าง (leave without pay) เป็นจํานวน 1,800,000 เวียดนามด่ง/คน/เดือน (ประมาณ 2,465 บาท) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563

4. ผู้ว่าจ้างสามารถกู้เงินโดยไม่เสียอัตราดอกเบี้ย เพื่อใช้เป็นเงินจ่ายค่าจ้างแรงงานที่จําเป็นต้องหยุดงานเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 50 ของค่าจ้างขั้นต่ำ ตามเขตอัตราค่าจ้าง/เดือน/คน โดยผู้ว่าจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหยุดงานส่วนต่างที่เหลือให้แก่ลูกจ้าง

5. การให้เงินช่วยเหลือแก่ธุรกิจครัวเรือนที่มีเงินได้ต่ำกว่า 100,000,000 เวียดนามด่ง/ปี (ประมาณ 137,000 บาท) และต้องหยุดดําเนินกิจการชั่วคราวตามคําสั่งนายกรัฐมนตรีเวียดนามที่ 15/CT-TTg ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นจํานวน 1,000,000 เวียดนามด่ง/ครัวเรือน/เดือน (ประมาณ 1,370 บาท) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563

6. การให้เงินช่วยเหลือแรงงานที่ถูกยกเลิกสัญญาจ้างงาน แต่ยังไม่สามารถได้รับความช่วยเหลือการว่างงานแรงงานที่ไม่ได้รับการต่ออายุสัญญาและผู้ถูกเลิกจ้าง เป็นจํานวน 1,000,000 เวียดนามด่ง/คน/เดือน (ประมาณ 1,370 บาท) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563

นอกจากนี้ธนาคารแห่งชาติเวียดนาม ได้สั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 2 – 4.5 ต่อปี สําหรับผู้กู้ที่เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด

 

ทั้งนี้จะสังเกตว่า สิงคโปร์และมาเลเซียนับเป็นประเทศที่มีมาตรการที่ชัดเจนต่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจได้ดี ในขณะที่อินโดนีเซียนับเป็นประเทศเดียวที่ยังไม่ประกาศมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ จากผลกระทบจากโควิดอย่างเป็นรูปธรรม เพราะส่วนหนึ่งวิเคราะห์ว่า อินโดนีเซียจำบทเรียนการกระโดดเข้าไปอุ้มเศรษฐกิจโดยการแทรกแซงสถาบันการเงินในปี 2540 จนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ในขณะที่ปัจจุบันจึงยังคงให้เศรษฐกิจภายในแก้ไขเฉพาะหน้าไปก่อน เพราะรัฐเองอาจไม่ต้องการใช้เงินสำรองในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังย่ำแย่และส่อเค้าว่าไม่จบลงง่ายๆ

เหลียวมองมาตรการเยียวยาระยะที่ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทของไทย ท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไร 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ทำความเข้าใจ! มาตรการช่วยเหลือ SMEs ระยะที่ 3

การอัดฉีดงบกระตุ้นเศรษฐกิจรับมือโควิดของไต้หวัน


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากสูตรคุณแม่ ต่อยอดไลน์สินค้า ‘ปั้น คำ หอม’ แบรนด์ขนมไทย เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่-คนรักสุขภาพ

จากสูตรคุณแม่ ต่อยอดไลน์สินค้า ‘ปั้น คำ หอม’ แบรนด์ขนมไทย เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่-คนรักสุขภาพ

ขนมไทย เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญา ที่สะท้อนถึงความประณีต พิถิพิถัน ผ่านกรรมวิธีตามวิถีไทย จนเกิดรสชาติอันเป็นที่ชื่นชอบทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ…
pin
180 | 15/03/2024
‘บ้านแดง’ โดยเมธาวลัย ศรแดง โปรเจคต์ปั้นทายาท สืบทอดธุรกิจร้านอาหารไทย ในตำนาน!

‘บ้านแดง’ โดยเมธาวลัย ศรแดง โปรเจคต์ปั้นทายาท สืบทอดธุรกิจร้านอาหารไทย ในตำนาน!

บ่มเพาะทายาทธุรกิจร้านอาหาร คุณจิระวุฒิ ทรัพย์คีรี เป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของธุรกิจร้านอาหารไทย เมธาวลัย ศรแดง ที่มีประสบการณ์ด้านอาหาร ผ่านการเป็นลูกมือช่วยคุณแม่…
pin
252 | 12/03/2024
‘SMARTTERRA’ ตู้เลี้ยงต้นไม้สุดล้ำ ระบบนิเวศอัจฉริยะตอบโจทย์คนเมืองที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

‘SMARTTERRA’ ตู้เลี้ยงต้นไม้สุดล้ำ ระบบนิเวศอัจฉริยะตอบโจทย์คนเมืองที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

โลกยุคใหม่ ที่กำลังก้าวสู่วิถี Urbanization หรือความเป็นเมือง เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จนนำมาสู่การขยายตัวของเมือง…
pin
647 | 09/03/2024
ประเทศ ‘อาเซียน’ กับมาตรการเยียวยาธุรกิจช่วงโควิด