อาเซียนแถลงการณ์ รับมือ COVID-19

SME Update
25/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2309 คน
อาเซียนแถลงการณ์ รับมือ COVID-19
banner

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ทวีความรุนแรงมากขึ้น กระทั่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศแถลงการณ์ให้เข้าสู่ภาวะระบาดหนักหลังจากมีผู้ได้รับเชื้อกว่า 120,000 คน จาก 100 กว่าประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกันกับการจัดประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 11 มีนาคม ณ เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

การประชุมครั้งนี้ฝ่ายไทยนำโดย นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วม  

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนี้ สมาชิกอาเซียนต่างแสดงความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของโลกและอาเซียน จึงได้ร่วมกันกันออกแถลงการณ์เรื่อง “การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของอาเซียน ในการรับมือต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา” สาระสำคัญของแถลงการณ์ ระบุว่า สมาชิกต่างเห็นพ้องจะเร่งดำเนินการช่วยบรรเทาผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น รักษาตลาดอาเซียนที่ยังคงเปิดกว้างสำหรับการค้าและการลงทุน และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการประสานงาน และความร่วมมือระหว่างกันที่ช่วยให้อาเซียนสามารถตอบสนองกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาด

โดยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี (MSMEs) สามารถดำเนินต่อไปได้ และการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิตในอาเซียน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่จะส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

 

กำหนดหลักการ 3 ด้านพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียน

นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ยังให้ความเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจ (AEC Blueprint) ตามที่เวียดนาม ในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้ ได้ผลักดันให้ดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563

แนวคิดของเวียดนามในการประชุมครั้งนี้ ต้องการให้อาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว (Cohesive and Responsive ASEAN)  3 ด้านหลักได้แก่

1. เน้นการส่งเสริมการบูรณาการและความเชื่อมโยงภายในอาเซียน เช่น การส่งเสริมอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่ใช้ดิจิทัลร่วมกัน การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะในประเทศอาเซียน การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคให้เป็นระบบเดียวกัน

2. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาเซียนกับประชาคมโลก เช่น การลงนามความตกลงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจในภูมิภาค (RCEP) ระหว่างสมาชิกอาเซียน และพันธมิตร 5 ประเทศ ยกเว้นอินเดียซึ่งกำหนดจะมีขึ้นในปีนี้

3. การเสริมสร้างอาเซียนให้พร้อมปรับตัวและมีศักยภาพมากขึ้น เช่น การสร้างเครือข่ายศูนย์นวัตกรรมของประเทศในอาเซียน และการจัดทำแผนงานด้านความมั่นคงอาหาร โดยหลายประเด็นสานต่อจากไทยที่ริเริ่มไว้ในฐานะประธานอาเซียนปีที่แล้ว เช่น การส่งเสริมอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่ใช้ดิจิทัลร่วมกัน การจัดทำแผนงานต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และการลงนามความตกลง RCEP ในปีนี้ 


เร่งลงนามความตกลง RCEP ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้

อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่ง ประเด็นที่ประชุมได้ให้ความสำคัญ คือ การช่วยเหลืออำนวยความสะดวกทางการค้าแก่ภาคธุรกิจในด้านต่างๆ อาทิ การเริ่มใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเอง เพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการทำการค้าระหว่างกัน และการลงนามข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านรถยนต์ของอาเซียน ซึ่งเวียดนามเป็นประเทศสุดท้ายตอบรับจะเร่งรัดกระบวนการในประเทศ ให้สามารถดำเนินการประเด็นดังกล่าวทั้งหมดภายในปีนี้

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยก็ยังคงต้องให้ความสำคัญต่อความเคลื่อนไหวต่างๆ ของอาเซียนอย่างเนื่องเนื่อง เนื่องจากปัจจุบันอาเซียนถือเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่การประชุมอาเซียนครั้งนี้ยังคงมุ่งให้ความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะการลงนามความตกลง RCEP ตามกำหนดภายในปีนี้ ถือเป็นภารกิจลำดับแรก และยังมีแผนขยายเปิดตลาดการค้าสินค้าอ่อนไหวต่างๆ เพิ่มเติมกับเกาหลีใต้โดยเร็ว

ในส่วนภาคเอกชนอาเซียน ในนามสภาธุรกิจอาเซียน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้อาเซียนดำเนินการข้อเสนอต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Ecosystem) เพื่อเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการในภูมิภาคอาเซียน อำนวยความสะดวกการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของ MSMEs ให้สามารถเริ่มต้น ขยาย และรักษาธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งทางที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจฯ ได้ขอให้ภาคเอกชนดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของอาเซียน เพื่อให้มีความสอดคล้องและเดินหน้าไปด้วยกัน


 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ทุนไทยเร่งปรับตัว หลังกัมพูชาถูกตัด GSP

สัมพันธ์จีน-เมียนมา : บนเส้นทางลงทุน Belt and Road 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
3 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
3 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
5 | 11/04/2025
อาเซียนแถลงการณ์ รับมือ COVID-19