สำหรับตัวอย่างของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นมีให้เห็นเยอะมาก
บางธุรกิจได้รับผลกระทบจาการขาดรายได้ไปบางส่วน แต่ก็ยังมีรายรับให้เห็นอยู่บ้าง
ซึ่งก็ถือว่าโชคดีไป แต่กับบางธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ รายรับหยุดชะงัก เหลือแต่รายจ่ายล้วนๆ แบบนี้คงอยู่ยากแน่ๆ ซึ่งธุรกิจที่ว่านั้นมีเยอะมากเสียด้วย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจร้านค้าอาหาร ธุรกิจค้าขายออฟไลน์
ธุรกิจนวด สปา หรือแม้แต่ธุรกิจร้านตัดผมต่างๆ เองก็เช่นกัน
และแม้จะไม่ได้รับผลจากโควิด-19 โดยตรง แต่ด้วยการที่ธุรกิจต่างๆ มากมายได้รับผลกระทบ และล้มหายจากไป ก็จะเกิดภาพการล้มต่อกันเป็นโดมิโน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างมากในวงการธุรกิจ
เพราะฉะนั้นหากคุณไม่อยากให้ตัวเองเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องยกธงขาวยอมแพ้โควิด-19 ล่ะก็ อย่าลืมรัดเข็มขัด ใช้การตลาดออนไลน์ บริหารกระเป๋าเงิน และเริ่มต้นบริหารธุรกิจแบบใหม่ ปรับตัวไปตามกระแสด้วยเทคนิคเหล่านี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
1. เช็กสภาพคล่องธุรกิจ
สิ่งแรกที่ควรทำตอนนี้คือการเช็ก
‘สภาพคล่องทางการเงิน’ ก่อนเลย เพราะโควิด-19 นี้อาจจะทำให้เราไม่มีรายได้เข้า
แต่มีรายจ่ายออกไปไม่หยุด ซึ่งทางที่ดียิ่ง การรู้ข้อจำกัดของตัวเองเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
ดังนั้นควรเช็กสภาพคล่องว่าเรามีเงินสดอยู่เท่าไหร่ ทั้งในนบัญชีออมทรัพย์
หรือกระแสรายวันต่างๆ มีเช็กที่ต้องขึ้น รายได้ที่ต้องไปเก็บ
นอกจากนี้ให้เช็กไปถึงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ด้วย เช่น ทรัพย์สินต่างๆ
โฉนดที่ดิน หนังสือสัญญาเช่า กระเป๋าแบรนด์เนม นาฬิกาหรู ทองคำ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยค้ำจุนในยามฉุกเฉินได้ทั้งสิ้น และช่วยให้รู้ว่าธุรกิจคุณจะสามารถเดินต่อได้อีกมากน้อยแค่ไหน
นอกจากนี้ยังสร้างความอุ่นใจให้การทำธุรกิจในช่วงโควิด-19 ไม่รู้สึกเคว้งคว้างอีกด้วย
2. สภาพคล่องไม่พอขอกู้เพิ่ม
ล่าสุดรัฐบาลมีมาตรการดูแลธุรกิจเอสเอ็มอีโดยการสนับสนุนสินเชื่อใหม่ให้แก่ธุรกิจ
เพื่อเสริมสภาพคล่องด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก (จ่ายต้นบวกดอก
1ปี 6 เดือนหลัง) โดยเอสเอ็มอีแต่ละรายสามารถขอกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 20
ของยอดหนี้คงค้างที่นับยอดจากธันวาคม 2562 รวมทั้งไม่เป็น NPL คือมีการผ่อนชำระปกติ หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน
หากสนใจกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องสามารถขอสินเชื่อได้ที่ธนาคารที่เป็นลูกค้าอยู่
และมีวงเงินสินเชื่ออยู่
โดยธนาคารจะพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการใช้เงินด้วย
ซึ่งสินเชื่อดังกล่าวเป็นสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง
เพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนสำหรับธุรกิจให้สามารถประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้
3. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
โดยเฉพาะในช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักและไม่รู้ว่ามันจะจบลงเมื่อไหร่ การบริหารจัดการ โดยมีรายจ่ายน้อยที่สุดดูจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีกับธุรกิจคุณ
ไม่ว่ารายจ่ายนั้นจะเป็นอะไร ให้ลิสต์ลำดับความสำคัญของมันเอาไว้
แล้วหาทางประหยัดให้ได้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าเดินทางของพนักงานในการปฏิบัติงานนอกสถานที่
ค่าน้ำมัน หรือค่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะต้องจ่ายเป็นประจำ
การลดค่าใช้จ่ายตรงนี้
ให้ลิสต์รายจ่ายต่างๆ ทั้งหมดของแต่ละวัน ไปจนถึงแต่ละเดือนออกมา
แล้วไล่ดูเลยว่าอะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญ รัดเข็มขัด และแจ้งพนักงานให้ทุกคนทราบโดยทั่วกัน
ก็จะช่วยให้งบประมาณลดน้อยลงกว่าเดิมได้ ที่สำคัญการลดหย่อนและยื่นภาษีได้เลื่อนไปจ่ายเดือนถึงเดือนสิงหาคม
ดังนั้นเรื่องนี้ก็ยังลดค่าใช้จ่ายไปได้
4. ขอพักหนี้
วิธีนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากกับธุรกิจที่ยังมีหนี้สินคงค้างที่ต้องจ่ายทุกเดือน ซึ่งจากผล กระทบที่เกิดขึ้นมั่นใจได้เลยว่า ไม่ใช่แค่ธุรกิจคุณคนเดียวที่ได้รับผลกระทบ แต่ทุกอุตสาหกรรมต่างเผชิญชะตากรรมเดียวกัน
เรื่องดีสำหรับข้อนี้
คือปัจจุบันรัฐบาลเข้ามา 'อุ้ม' ในกรณีนี้ให้ลูกหนี้สามารถขอพักหนี้จากธนาคารที่เราเป็นลูกหนี้ได้
6 เดือน สามารถพักจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งการได้พักหนี้ 6 เดือน เท่ากับเป็นการต่อลมหายใจและสามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจไว้ได้
รอวันที่ธุรกิจสามารถดำเนินได้ปกติอีกครั้ง
แต่ก็มีสิ่งที่ต้องคำนึงเพราะว่า มาตรการพักหนี้ เป็นการพักการส่งค่างวดหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ย หมายความว่า โดยปกติเจ้าหนี้จะส่งใบแจ้งหนี้มาในรูปแบบเงินต้นรวมดอกเบี้ย เช่น ต้องจ่าย 10,000 บาทสำหรับเงินต้นและบวกดอกเบี้ยอีก 5,000 บาท รวมเป็น 15,000 บาท ดังนั้นหากขอพักหนี้ก็จะไม่ต้องจ่ายไปอีก 6 เดือน แต่อัตราดอกเบี้ยยังคำนวณปกติ เท่ากับว่าดอกเบี้ย 5,000 บาทที่พักจ่าย 6 เดือนจะถูกบวกไปกับยอดหนี้คงค้าง
ดังนั้นการจะพักหนี้หรือไม่พักต้องดูที่สภาพคล่องทางการเงิน
ถ้ายังแบกรับไหวอยู่ได้สัก 6 เดือน ก็อาจไม่ต้องพักหนี้ก็ได้
5. มองหาแหล่งรายได้เพิ่มเติม
หลังจากที่พยายามรัดเข็มขัดกันมาอย่างเต็มที่ รายจ่ายของคุณคงลดน้อยลงไปมากทีเดียว แต่สิ่งสำคัญคือ จะทำยังไงให้ธุรกิจที่มีรายจ่ายเป็นประจำสม่ำเสมอนี้ไม่ต้องมีแต่หนี้ทุกเดือน และยังพอมีรายรับอยู่บ้าง ทางออกที่ถูกต้องคือการเริ่มต้นมองหาแหล่งรายได้เสริมเพิ่มเติมแหล่งใหม่ โดยเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองมีความรู้ มีความสามารถ อาจนำธุรกิจของตัวเองมาประยุกต์ใหม่ เพื่อให้เข้าถึงคนที่กำลังต้องการสิ่งเหล่านั้น เช่น เพิ่มบริการจัดส่งเข้าไป หรือเพิ่มบริการถึงบ้าน รวมทั้งอาจเปิดตลาดออนไลน์ใหม่ๆ เสริมเข้ามา ก็เป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่ดีไม่แพ้กัน และช่วยให้ธุรกิจคุณมีรายรับมากขึ้นได้แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ก็ตาม
สำหรับเทคนิคขับเคลื่อนธุรกิจฝ่าโควิดเหล่านี้ จะช่วยให้คุณคลายความกังวลใจ และทำให้สามารถประคับประคองธุรกิจไปได้ รอวันที่ดีมานด์กลับมาอีกครั้ง
สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<
กำลงซื้อซึม! สัญญาณชีพ “ค้าปลีก” จากวิกฤตโควิด
ร้อนแรง! อีคอมเมิร์ซยอดขายเดือดช่วงโควิด-19