พิษ COVID-19 ทำธุรกิจเมียนมา 1 ใน 3 ปิดกิจการชั่วคราว

SME Update
29/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2762 คน
พิษ COVID-19 ทำธุรกิจเมียนมา 1 ใน 3 ปิดกิจการชั่วคราว
banner

ข้อมูลจากมูลนิธิเอเชีย (Asia Foundation) ได้รายงานว่า ธุรกิจในเมียนมาจำนวนกว่าเกือบ 1 ใน 3 ต้องปิดกิจการชั่วคราว เนื่องจากมาตรการ Lockdown เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในขณะที่ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง โดยจากผลสำรวจบริษัทท้องถิ่น 750 บริษัท ทั่วประเทศเมียนมาในช่วงวันที่ 27 เมษายน - 10 พฤษภาคม 2563 พบว่าในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีธุรกิจที่ปิดกิจการชั่วคราว 29%

ในขณะที่ธุรกิจที่ยังดำเนินกิจการอยู่มียอดขายลดลงกว่า 92% ของทั้งหมด โดยมีธุรกิจที่มียอดขายลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากยอดขายเดิมกว่า 74% ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการปรับลดการดำเนินกิจการหรือปิดกิจการชั่วคราว ก็คือเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา มูลนิธิเอเชีย (Asia Foundation) ยังได้เปิดเผยผลสำรวจทางโทรศัพท์ เพื่อประเมินผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อผลประกอบการของธุรกิจ แรงงาน และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างไร รวมทั้งผลกระทบจากมาตรการของรัฐบาลในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ  

จากรายงานมีบริษัทที่มีผลกำไรในการทำธุรกิจประมาณ 22% ในขณะที่ผลการสำรวจในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2562 - เดือนกุมพาพันธ์ 2563 พบว่ามีบริษัทที่มีผลกำไรเป็นสัดส่วน 55% โดยบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงในการอยู่รอด เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความเสี่ยงสูงพิเศษ

อย่างไรก็ตามแม้ประเทศเมียนมามีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมเพียง 260 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตสะสมรวม 6 ราย ตามข้อมูลรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขเมียนมา ซึ่งกล่าวได้ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมน้อย แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นวงกว้างและคาดว่าจะมีผลกระทบในระยะยาวต่อภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเมื่อเดือนเมษายน 2563 กองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) ได้ให้ข้อมูลว่า เมียนมากำลังเผชิญกับอัตราการเติบโตทางเศษฐกิจที่ช้าที่สุด นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยรัฐบาลนายพลเต็งเส่งในปี 2554 ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และมาตรการ Lockdown

ด้านผลสำรวจจาก EuroCham Myanmar ในเดือนมีนาคม 2563 พบว่านักลงทุนยุโรปมากกว่า 60% ได้รับผลกระทบปานกลางไปจนถึงได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าจะสูญเสียรายได้ 30% จนถึง 50% ของรายได้ทั้งหมด และพบว่าธุรกิจในเมียนมาได้มีการเลิกจ้างพนักงานออกโดยเฉลี่ย 16% ของแรงงานทั้งหมดในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19

ทั้งนี้ธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐบาล ซึ่งธุรกิจเหล่านี้อาจจะขาดสภาพคล่องทางการเงินในไม่ช้า โดยการประมาณการความต้องการกระแสเงินสดในประเทศในเดือนกันยายน ซึ่งภาคธุรกิจมีความต้องอยู่ประมาณ 900,000 ล้านจ๊าต จนถึง 2,100,000 ล้านจ๊าต (ประมาณ 20,930 – 48,837 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วน 0.7-1.7% ต่อมูลค่า GDP ของประเทศเมียนมา  

Mr.Ville Peltovuori ผู้จัดการสำรวจ มูลนิธิเอเชีย (Asia Foundation) ได้เน้นย้ำว่า ธุรกิจเกือบ 64% อาจจะมีปัญหากระแสเงินสด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขสัดส่วนบริษัทที่เข้าถึงแผนเงินกู้ช่วยเหลือฉุกเฉินของรัฐบาล ซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจจำนวนมากมีการกู้ยืมจากสถาบันการเงินรายย่อย (Microfinance) ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนทางการตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 51% จากเดิมซึ่งมีสัดส่วนเพียง 25% ในช่วงก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

อย่างไรก็ตามความสามารถในการให้กู้ยืมถูกจำกัด โดยข้อจำกัดการเดินทาง การชะลอการชำระหนี้และการลดอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารกลาง ในช่วงวิกฤต COVID-19 โดย 71% ของธุรกิจมีความกังวลเกี่ยวกับการชำระหนี้ แต่ธุรกิจ 82% ได้หารือกับสถาบันการเงินเพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไข ให้สามารถบรรลุข้อตกลงในการชำระหนี้กับผู้ให้สินเชื่อแล้ว ทั้งนี้ Mr. Ville Peltovuori ได้กล่าวว่า สุดท้ายแล้วภาคธุรกิจจะขาดกระแสเงินสดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วแค่ไหน เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับการขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยการขาดสภาพคล่องอาจจะเกิดขึ้นก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งอาจจะสายเกินไปแล้วสำหรับธุรกิจในประเทศเมียนมา นอกจากนี้กว่าที่ภาคธุรกิจจะสามาถทำผลกำไรได้นั้น อาจใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัว แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ เนื่องจากการลดลงของรายได้ประชากร จะส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภค

สำหรับนักลงทุนไทยส่งจะเข้ามาลงทุนในประเทศเมียนมา ต้องติดตามข่าวสาร มาตรการของรัฐบาลเมียนมา และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการพิจารณาการลงทุนในประเทศเมียนมา สำหรับผู้ส่งออกสินค้าไทยมายังประเทศเมียนมา ควรศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลกระทบวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลต่อรายได้ประชากรเมียนมาที่ลดลง จึงทำให้ประชากรการเลือกบริโภคมากยิ่งขึ้น พร้อมกับให้ความสำคัญกับราคาสินค้าเป็นอันดับแรกในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้า

ทั้งนี้นักลงทุนไทยและผู้ส่งออกสินค้าไทย สามารถติดตามข่าวและศึกษาข้อมูลการลงทุนได้ที่ Application: DITP Yangon ของสคต. ย่างกุ้ง รวมทั้งข่าวสารเร่งด่วน ออกมาตรการ/ประกาศคำสั่งของรัฐบาลเมียนมาได้จาก เว็บไซค์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง (http://www.thaiembassy.org/yangon/)

 

 แหล่งที่มา: Myanmar Times (www.mmtimes.com)

http://www.thaiembassy.org/yangon/

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


เช็คอุณหภูมิเศรษฐกิจเมียนมา หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

มิงกะลาบา...เมียนมา ตลาดใหม่ E-Commerce




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
พิษ COVID-19 ทำธุรกิจเมียนมา 1 ใน 3 ปิดกิจการชั่วคราว