โครงการรัฐเยียวยา ‘บุคคลธรรมดา’ กระทบ COVID-19

SME Update
28/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2917 คน
โครงการรัฐเยียวยา ‘บุคคลธรรมดา’ กระทบ COVID-19
banner

ณ ช่วงเวลานี้ ชีวิตประชาชนคนไทยขึ้นอยู่กับการบริหารประเทศของภาครัฐบาล กับมาตรการต่างๆ ที่ต้องงัดออกมาสู้รบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตรการล่าสุดคือ “การปิดเมือง พักงาน ปิดห้างร้าน กิจการ สถานบันเทิง ฯลฯ แบบต่อเนื่องยาวนานไปจนถึง 12 เมษายน 2563 โดยขอความร่วมมือให้ประชาชนกักตัวเองอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดหรือออกมารับเชื้อโรค เพิ่มจำนวนคนที่เป็นโรคติดต่อเพิ่มเติม

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ร่วมแถลงมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 หลังจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสขยายวงกว้างขึ้น จนเป็นที่มาของการประกาศปิดสถานบริการ รวมไปถึงสถานที่หลายแห่ง อันจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประกอบการ ลูกจ้างแรงงาน และประชาชนคนทั่วไป รัฐบาลได้คลอดมาตรการเยียวยาในเบื้องต้นนอกเหนือจากเงินช่วยเหลือ ฝั่งภาคแรงงานที่จะได้รับ 5,000 บาทติดต่อกันนาน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน และในส่วนของผู้ประกอบการกับมาตรการการช่วยเหลืออีก 7 มาตรการด้วยกัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


นอกจากนี้ยังมีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอีก 7 แนวทางเพิ่มเติม ดังนี้

1. โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน ไม่เกิน 10,000 บาท : เพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 โดยไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน 20,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 20,000 ล้านบาท) วงเงินต่อรายไม่เกิน 10,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.10 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

2. โครงการสินเชื่อพิเศษเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท : เป็นโครงการปล่อยสินเชื่อเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตแก่ประชาชนที่มีรายได้ประจำ แบบมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

3. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับสำนักงานธนานุเคราะห์เพื่อช่วยเหลือประชาชนฐานราก : เป็นการช่วยเหลือประชาชนฐานรากที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของไวรัส COVID-19  โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในนามของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.10 ต่อปี และ สธค. คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.125 ต่อเดือน ระยะเวลา 2 ปี

4. มาตรการเสริมความรู้ พิจารณาดำเนินการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะเสริมอาชีพ : ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานให้มีรายได้และแนวทางประกอบอาชีพสำหรับผู้ว่างงานในช่วงนี้ โดยธนาคารของรัฐ ออมสิน ธกส. และกระทรวง อว. ได้เปิดฝึกอบรมอาชีพเพิ่มเติมความรู้แบบมีเบี้ยเลี้ยง ผู้เข้าอบรมจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 300 บาท ในระหว่างการอบรมตามอาชีพที่สนใจ หากอบรม 7 วันก็จะได้รับเงินเบี้ยเลี้ยง 2,100 บาท

5. มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : จากเดิมสิ้นสุดการยื่นภาษีในวันที่ 30 มิถุนายน  63 ขยายเป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม  63 เพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น

6. มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนในการเสี่ยงภัยของบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข : เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับ

(1) ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยจากไวรัส COVID-19

(2) ค่าตอบแทนบุคคลที่มิใช่ข้าราชการหรือข้าราชการ ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2563 เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไม่มีภาระภาษีสำหรับค่าตอบแทนพิเศษจากการปฏิบัติงานดังกล่าวและมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น

7. มาตรการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ : โดยเพิ่มวงเงินหักลดหย่อน ค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นและมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพลดลง และรัฐสามารถนำรายจ่ายด้านสาธารณสุขที่ลดลง จากการทำประกันสุขภาพของประชาชนไปช่วยเหลือประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งในด้านสาธารณสุขและด้านอื่นๆ ได้มากขึ้น


ทั้งนี้สำหรับผู้มีปัญหาด้านการเงิน ผ่อนงวดรถ ผ่อนบ้าน ขอให้ติดต่อประสานงานเจรจากับธนาคารที่ยื่นกู้สินเชื่อที่ธนาคารเจ้าหนี้ด้วยตนเอง เพื่อหาแนวทางในการประนอมหนี้ร่วมกัน หากมีปัญหาในการเจรจาประนอมหนี้ ให้โทรปรึกษาหรือร้องเรียนกับกระทรวงการคลังที่สายด่วน 1689 ได้ตลอด เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ได้หารือช่วยเหลือกันในครั้งนี้แล้ว.


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


หลักเกณฑ์ลูกจ้างนอกระบบ ชดเชย ‘โควิด’ 5,000 บาท

รัฐอัดมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
8 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
8 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
10 | 11/04/2025
โครงการรัฐเยียวยา ‘บุคคลธรรมดา’ กระทบ COVID-19