คู่มือออกแบบ BCP ฉบับเร่งรัด พยุงธุรกิจสู้ COVID-19

SME Update
03/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2195 คน
คู่มือออกแบบ BCP ฉบับเร่งรัด พยุงธุรกิจสู้ COVID-19
banner

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โควิด-19’ มีความรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนหยุดการเคลื่อนที่ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรค ส่งผลให้ภาคธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมของประเทศ มองหาแนวทางให้ธุรกิจของตนสามารถดำเนินการต่อไปได้ หากสถานการณ์ดำเนินไปจนถึงขั้นต้องปิดประเทศ

หลายองค์กรเริ่มให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อได้ท่ามกลางสถานการณ์การระบาด “หัวใจสำคัญ” ของการดำเนินธุรกิจในสภาวะไม่ปกติ จำเป็นต้องมีการกำหนดแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Planning-BCP) ฉบับเร่งรัด เพื่อไม่ให้ธุรกิจหยุดชะงัก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (Bluebik) บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี เสนอแผนการกำหนดความต่อเนื่องทางธุรกิจฉบับเร่งรัด ด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ เรียกว่า IDEA โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ขั้นตอนแรก I - Identify Key Business Function : เป็นการกำหนดหน้าที่งาน หรือกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญ โดยระบุหน้าที่งานหรือกระบวนการทางธุรกิจใดที่อาจหยุดชะงัก อันเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งผลการดำเนินงานของบริษัท ในเมื่อไม่สามารถดำเนินการป้องกันในทุกๆ ส่วนขององค์กรได้อย่าง 100%  ฉะนั้นจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญกระบวนการทางธุรกิจ ที่ต้องเฝ้าระวังและหาทางรับมือกับกระบวนการที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ก่อน

เมื่อองค์กรกำหนดหน้าที่งานหรือกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญได้ จะสามารถพิจารณาจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นได้ อาทิ บุคลากร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ข้อมูลที่จำเป็น ระบบงานที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่ผู้ให้บริการภายนอกที่จำเป็น ฯลฯ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด และที่สำคัญต้องหาจุด trigger ที่เหมาะสมในการเริ่มใช้แผน BCP เพราะหากเริ่มเร็วเกินไป ต้นทุนการทำงานจะสูงขึ้นเกินจำเป็น แต่ถ้าช้าไปก็อาจจะปรับตัวไม่ทันจนเกิดความเสียหายได้ ในกรณีการแพร่ระบาดของโควิด แนะนำให้ยึดประกาศจากรัฐบาลหรือจำนวนผู้ป่วยเป็นตัววัดสถานการณ์ว่าควรเริ่มใช้แผน BCP         

ขั้นตอนที่สอง D - Determine Risks & Business Impacts : คือการวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินผลกระทบทางธุรกิจ ที่เห็นได้ชัดในวิกฤตการระบาดของโรค COVID-19 คือความเสี่ยงที่เกี่ยวกับมนุษย์ โดยเฉพาะบุคลากรที่รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตินี้ ในสถานการณ์ปัจจุบันบุคลากรกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่หลายภาคส่วนวิเคราะห์และประเมินให้มีความเสี่ยงสูง หากการระบาดไวรัสส่งผลให้เกิดการขาดแคลนบุคลากร หรือบุคลากรที่สำคัญไม่สามารถมาปฏิบัติงานในกระบวนการธุรกิจสำคัญที่ระบุไว้ตามปกติ ส่งผลให้การดำเนินงานหยุดชะงักและเกิดความไม่ต่อเนื่อง อาจนำมาซึ่งกระทบต่อชื่อเสียงความน่าเชื่อถือขององค์กร รวมถึงสูญเสียโอกาสและรายได้ และที่จะขาดไม่ได้คือกำหนดระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพเป็นปกติ ภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย (Recovery Time Objective – RTO) 


ขั้นตอนที่สาม E - Establish Practical Countermeasures : จัดทำมาตรการและแนวทางการรับมือภัยคุกคามที่สามารถปฏิบัติได้จริง ขั้นตอนนี้ต้องประสานความร่วมมือทั้งหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตราการหรือวิธีสำรองในการดำเนินธุรกิจ ต้องคำนึงถึงการนำไปใช้ได้จริง มีความเหมาะสมกับธุรกิจ

จากตัวอย่างข้างต้นเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลกระทบด้านบุคลากร ด้วยมาตรการการรับมือที่เริ่มมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยการให้บุคลากรซึ่งมีปัจจัยหลายประการที่องค์กรควรคำนึง เช่น การปฏิบัติงานที่บุคลากรนั้นๆ ว่าสามารถทำงานจากที่บ้านได้จริงหรือไม่ เครื่องมือหรือเทคโนโลยีขององค์กรสามารถรองรับได้ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่พร้อมต่อบุคลากรหรือไม่ ฉะนั้นก่อนที่องค์กรจะเริ่มมาตรการ Work from Home องค์กรควรทำการประเมินความพร้อมของปัจจัยต่างๆ ที่จะสนับสนุนการทำงานอย่างเพียงพอ

นอกจากนี้ การสื่อสารมาตรการและแนวทางการรับมือไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและบุคลากรอย่างทั่วถึง เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของขั้นตอนนี้ เพราะหากไม่ได้รับการสื่อสารที่เหมาะสมและทั่วถึงเกี่ยวกับมาตรการที่วางไว้ อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือคลื่นใต้น้ำ ที่เกิดจากความเข้าใจผิดว่าองค์กรไม่ได้เห็นค่า หรือความสำคัญของชีวิตและความปลอดภัยของพนักงาน ทำให้พนักงานอาจหมดศรัทธาในองค์กรได้จนเกิดผลเสียในระยะยาวต่อองค์กร

ขั้นตอนที่สี่ A - Assure the Efficiecy of BCP : ทดสอบและปรับปรุงแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ แม้องค์กรจะดำเนินการระบุกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญ วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงและผลกระทบ รวมถึงกำหนดมาตรการรับมือดีอย่างไร เพราะหากเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าสิ่งที่ทำมาอย่างดีแล้วนั้นจะสามารถใช้ได้บนสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การหมั่นทดสอบแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ทุกคนมีความมั่นใจว่าแผนที่ได้มีการจัดทำนั้นจะมีประสิทธิภาพ และใช้ได้จริงหากเกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้น ไม่ใช่สุดท้ายแผนที่จัดทำจะเป็นเพียงเศษกระดาษที่มีไว้ให้พนักงานและผู้บริหารซับน้ำตา เพราะไม่สามารถนำพาองค์กรให้พ้นวิกฤตได้

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


Work From Home ทำงานที่บ้านให้ได้งาน

เคล็ดลับ SMEs ใช้เทคโนโลยี “Work From Home”


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1222 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1582 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1869 | 25/01/2024
คู่มือออกแบบ BCP ฉบับเร่งรัด พยุงธุรกิจสู้ COVID-19