การระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินและวางแผน
เพื่อรับมือกับผลกระทบจากไวรัสที่จะมีต่อวงการซัพพลายเชนทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าหรือมากกว่านั้น
ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลของการ์ทเนอร์ ระบุว่า ปัจจุบันประเทศจีนได้มีการพัฒนาและบูรณาการกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น และได้ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านเครือข่ายการขนส่งอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงความเกี่ยวเนื่องกันของซัพพลายเชน จะทำให้เกิดผลกระทบมากกว่าเป็นเพียงแค่ปัญหาในระดับภูมิภาค ประกอบกับการจำกัดการเดินทาง การขาดแคลนแรงงาน และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
รวมถึงความท้าทายด้านโลจิสติกส์ที่มีการควบคุมที่เข้มงวดรัดกุม ตลอดจนการปิดฮับและบริเวณชายแดน จะทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างส่งต่อกันเป็นทอดๆ มากขึ้น กว่าเมื่อ 17 ปีที่มีการระบาดของโรคซาร์ส โดยบรรดาองค์กรธุรกิจอาจจะเริ่มเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่ววงการซัพพลายเชนแล้ว ซึ่งประกอบด้วย
- วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ : เกิดการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ หรือสินค้าสำเร็จรูปที่มีการขนส่งผ่านศูนย์โลจิสติกส์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
- แรงงาน : อาจเกิดการขาดแคลนพนักงานออฟฟิศ หรือคนงานในโรงงาน
เนื่องจากการถูกกักกันโรค หรือจากอาการเจ็บป่วย
- การเข้าถึงแหล่งต้นทางของสินค้าหรือการบริการ : เนื่องจากการเดินทางอาจถูกจำกัดในบางพื้นที่
ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึง ในการเสาะหาธุรกิจหรือโปรแกรมใหม่ๆ
ที่มีคุณภาพเหมาะสมเพื่อธุรกรรมทางธุรกิจ
- โลจิสติกส์ : การจัดตั้งศูนย์ขนส่งและซัพพลายเน็ตเวิร์กต่างๆ
อาจเกิดข้อจำกัดด้านการจัดเก็บและความพร้อมใช้งาน
ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีวัสดุอุปกรณ์พร้อมอยู่ก็ตาม แต่มันอาจจะติดค้างอยู่ ณ
ที่ใดที่หนึ่ง
- ผู้บริโภค : ผู้บริโภคอาจจะระมัดระวังพฤติกรรมการซื้อของตนเองมากขึ้น
เนื่องจากกลัวการอยู่ในที่สาธารณะ และอาจมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้
ผู้บริโภคหลายรายอาจจะหันไปซื้อของออนไลน์แทน
เมื่อเกิดภาวะชะงักงันจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ธุรกิจต่างพากันใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการความเสี่ยง รวมถึงการเตรียมพร้อมในกรณีที่ต้องรับมือกับความไม่แน่นอน ที่สามารถควบคุมและคาดเดาได้ โดยแบ่งแผนการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ
แผนระยะสั้น คือต้องลงมือทำทันที
จะต้องมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับตรวจสอบ และรับมือกับความเสี่ยงสูงที่จะเกิดจากภาวะชะงักงันของซัพพลายเชนในประเทศอันได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัส
เริ่มจากซัพพลายเชนระดับที่ 1 และต่ำกว่า หากความโปร่งใสในซัพพลายเชนในระดับที่ต่ำกว่าขาดหายไป จะต้องเริ่มสร้างโปรแกรมและจัดลำดับความสำคัญของการค้นพบ
เพื่อให้ได้ภาพเต็มอย่างรวดเร็วที่สุด
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือจะต้องประเมินว่าการใช้จ่ายของลูกค้าอาจจะได้รับผลกระทบอย่างไร
ขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าคงคลังทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้
และอยู่นอกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนควรทำงานร่วมกับฝ่ายกฎหมายและทรัพยากรบุคคล
เพื่อทำความเข้าใจกับผลกระทบทางการเงินอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น จากการที่ไม่สามารถส่งมอบของให้กับลูกค้า
และจะต้องให้คำแนะนำแก่พนักงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
แผนระยะกลาง คือต้องลงมือทำในไตรมาสนี้
ควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน
รวมถึงต้องมีสินค้าคงคลังสำรองไว้ด้วย
เพื่อจะได้มีโอกาสเข้าถึงซัพพลายเออร์ที่หลากหลายมากขึ้น และมีการทบทวนหรือสร้างแนวทางการบริหารความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร
นอกจากนี้จะต้องมีการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรและซัพพลายเออร์สำคัญในเชิงกลยุทธ์
เพื่อสร้างแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกันในการตรวจสอบและเตรียมความพร้อม
สำหรับการขาดแคลนด้านวัสดุอุปกรณ์ และกำลังการผลิตที่มีศักยภาพ
แผนระยะยาว
คือจะต้องลงมือทำภายในปีนี้
เมื่อผลกระทบแรกของวิกฤตบรรเทาเบาบางลงแล้ว
สิ่งต่อไปที่จะต้องคาดการณ์ต่อไป คือจะเกิดผลกระทบขึ้นอีก “เมื่อใด”
ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนและทีม อาจจะมีการฝึกวางแผนและพัฒนาแผนปฏิบัติการไว้รองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
ซึ่งนี่คือเวลาที่จะค้นพบหรือพัฒนาแหล่งต้นทางของสินค้า หรือการบริการอื่นๆ
และได้เชนใหม่ๆ เข้ามาเพิ่ม
การจัดการกับซัพพลายเชิงกลยุทธ์ที่มีมูลค่าความเสี่ยงสูง
การรับมือภายในองค์กรอาจไม่เพียงพอที่จะบรรเทาภาวะชะงักงันสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นได้
เช่นแหล่งสินค้า/บริการทางเลือก เส้นทางขนส่ง สินค้าคงคลังและเงินสดสำรอง
ถึงกระนั้นก็ดี การเตรียมพร้อมในการรับมือย่อมดีกว่าการแข่งขัน
เพราะอาจเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ เมื่อมีการภาวะชะงักงันในครั้งหน้า