ตราบที่ไม่มีวัคซีนป้องกันโควิค-19 การค้าโลกจะไม่ดีขึ้น

SME in Focus
29/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2923 คน
ตราบที่ไม่มีวัคซีนป้องกันโควิค-19 การค้าโลกจะไม่ดีขึ้น
banner

ข้อมูลจากองค์การการค้าโลก (WTO) ที่เผยแพร่รายงานการศึกษาการค้าสินค้าทางการแพทย์กับวิกฤตโควิด-19 แสดงสถิติการส่งออก นำเข้า และการเก็บภาษีศุลกากรสินค้าทางการแพทย์ของประเทศต่างๆ ระบุทั่วโลกมีการนำเข้าและส่งออกยามากที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจีนครองแชมป์ส่งออกหน้ากากอนามัย สิงคโปร์แชมป์ส่งออกเครื่องช่วยหายใจ ส่วนไทยเก็บภาษีสินค้าทางการแพทย์เฉลี่ย 7.2% แต่ล่าสุดรัฐบาลได้ยกเว้นภาษีนำเข้าหน้ากากอนามัยแล้ว และปรับลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นการชั่วคราว

อย่างไรก็ตามแม้ดีมานด์ด้านยาและเวชภัณฑ์จะเพิ่ม ทว่าเศรษฐกิจโลกที่โดนทุบจนกิจกรรมทุกอย่างแทบหยุดชะงัด ทำให้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะถดถอยอย่างรุนแรง

เบาสุดการค้าโลกจะลดลง 13% หนักสุดลด 32% หรือมากกว่า นี่คือการคาดการณ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) และระบุอีกว่า ปัจจัยที่มีผลกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก คือความรวดเร็วในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และนโยบายหรือมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ และหากทุกประเทศร่วมมือกันจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วกว่าการที่แต่ละประเทศดำเนินมาตรการเอง แต่การคาดการณ์ดังกล่าวอาจยังไม่แน่นอน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ อาทิเช่น สภาวะตึงเครียดของตลาดสินเชื่อ ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการให้บริการการเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ด้านผลกระทบของวิกฤตไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจต่างๆ พบว่า มาตรการปิดเมืองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสในหลายประเทศทั่วโลก เช่น จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ทำให้มีการปิดโรงงานชั่วคราว ส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก ซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่มูลค่าซับซ้อนโดยตรง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์

สำหรับภาคการค้าบริการส่งผลให้การใช้บริการคมนาคมขนส่ง ท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจค้าปลีกและบริการต่างๆ ลดลง หรือต้องปิดตัวในบางธุรกิจ เนื่องจากประเทศต่างๆ มีมาตรการจำกัดการขนส่งและการเดินทางเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส แต่ก็ยังมีสาขาบริการที่ได้ประโยชน์จากวิกฤต เช่น การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากสามารถใช้บริการในที่พักอาศัยได้ และมีพฤติกรรมการใช้มากขึ้น

อย่างที่ระบุในข้างต้นปัจจัยเร่งให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวเร็ว คือมาตรการที่สามารถหยุดยั้งไวรัสโควิดได้อย่างถาวร นั่นคือต้องมีวัคซีนในการรักษาหรือป้องกัน ซึ่งประมาณการณ์ว่าคงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 18 เดือนในการค้นคว้าและวิจัยได้สำเร็จ

ดังนั้นมองในทางร้ายไว้ก่อนว่า ปีนี้และปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะไม่ดีขึ้น และถึงแม้หมดโควิด ก็ไม่แน่ว่าทุกอย่างจะกลับมาสู่ภาวะปกติ เพราเศรษฐกิจโลก การค้า และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในยุคหลังโควิด


อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการควรใช้ช่วงเวลานี้ เตรียมความพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเต็มกำลังภายหลังวิกฤต โดยต้องวางแผนอย่างรอบคอบ ประเมินความเสี่ยงและทางเลือกใหม่ๆ รวมถึงปรับปรุงรูปแบบการดำเนินธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการ ขณะเดียวกันต้องให้ความสำคัญกับการสร้างและรักษาพันธมิตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มแนวร่วมในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่จะมีผลต่อพฤติกรรมของตลาดและผู้บริโภคในอนาคต เช่น ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด-19

10 ข้อเท็จจริงที่ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญหลังโควิด-19



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
5 | 18/04/2025
“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิต “วัตถุดิบโลหะ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร…
pin
8 | 11/04/2025
เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

แนวคิด Zero-Waste กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญหลายธุรกิจเริ่มตระหนักว่าการลดขยะไม่ใช่แค่ช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุน…
pin
11 | 06/04/2025
ตราบที่ไม่มีวัคซีนป้องกันโควิค-19 การค้าโลกจะไม่ดีขึ้น