หลังจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ
FAO ของ UN ได้ออกรายงานเกี่ยวกับแมลงกินได้และกระตุ้นให้ทั่วโลก
หันมาบริโภคแมลงให้มากขึ้นปัจจุบันมีผู้บริโภคแมลงทั่วโลกถึง 2 พันล้านคน หรือ 1
ใน 3 ของประชากรโลก ในฐานะของแหล่งโปรตีนที่สำคัญในอนาคต ส่งผลให้ตลาดแมลงกำลังเติบโตสู่ระดับอุตสาหกรรมในหลายๆประเทศ
ขณะที่ข้อมูลจากบริษัท โกลบอล บั๊กส์ เอเชีย หนึ่งในผู้ผลิตโปรตีนจิ้งหรีดของไทยที่ทำฟาร์มและโรงงานอยู่ในพื้นที่ ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระบุว่าในช่วงปี พ.ศ. 2561 ตลาดโลกมีความต้องการโปรตีนจากแมลงเป็นจำนวนมากถึง 400 ล้านตันต่อปี และจะเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% เมื่อคิดเป็นมูลค่าในอีก 6 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าสูงถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
โดยพันธุ์จิ้งหรีดที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงมีอยู่
3 สายพันธุ์ ได้แก่ จิ้งหรีดทองดำ จิ้งหรีดทองแดง
และจิ้งหรีดบ้านหรือสะดิ้ง
โดยเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดเล็กในบ่อซีเมนต์
บ่อหนึ่งบ่อสามารถเก็บจิ้งหรีดได้ประมาณ 10 กิโลกรัม และราคาจำหน่ายประมาณกิโลกรัมละ 150 – 200 บาท สามารถมีรายได้ตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาทต่อเดือน
รายงานของนักวิจัยจากคณะกีฏวิทยา
มหาวิทยาลัย Wageningen ประเทศเนเธอร์แลนด์
ชี้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ทำจากแมลง
เนื่องจากประเทศไทยมีแมลงที่บริโภคได้มากกว่า 300 สายพันธุ์
กอปรกับประเทศไทยมีแหล่งผลิตและบริโภคแมลงอยู่แล้ว
ขณะเดียวกันในสหภาพยุโรปหรือ EU ได้มีการปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับอาหารใหม่เพื่อให้สอดคล้อง
กับการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของอาหารในปัจจุบัน โดยกฎระเบียบใหม่ของ Novel Foods (อาหารใหม่)
มีผลบังคับใช้ไป เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดให้ “แมลง”
อยู่ในกลุ่มอาหารพื้นบ้านที่มีการบริโภคนอกอียูมาแล้วไม่ต่ำกว่า 25 ปี
จึงเป็นโอกาสที่ดีในการส่งออกแมลงจากประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ในปัจจุบันนี้ในหลายๆประเทศผู้ประกอบการอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากแมลงเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ผลิตภัณฑ์อาหารเกี่ยวกับแมลงก็มีหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น ซอสแมลง,แยมแมลง,แมลงผง,ลูกอมแมลง,แป้งทำขนม คุกกี้แมลง,แมลงย่างรมควัน,ช็อกโกแลตแมลง,พาสต้าแมลง
อีกรูปแบบหนึ่งคือ ใช้แมลงเป็นวัตถุดิบรับประทานเป็นอาหารโดยตรง เช่น เบอร์เกอร์แมลง หรือใช้เป็นส่วนผสมในบางเมนูเสิร์ฟในร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ โดยแมลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ จิ้งหรีด ซึ่งมีการขายในรูปของแมลงเป็นตัว เป็นแป้งแปรรูป ขายผ่านออนไลน์ถึงผู้บริโภคโดยตรง ขายส่งแมลงกินได้ และขายเพื่อเป็นอาหารสัตว์
จิ้งหรีดแบบผง กิโลกรัมละ 1 พันบาท
อย่างที่ทราบประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงและแปรรูปแมลง
ทำขนมขบเคี้ยว เบเกอรี่ ยังมีร้านอาหารที่นำเมนูแมลงมาเสิร์ฟแบบฟิวชั่นทันสมัย
โดดเด่น จนเป็นที่กล่าวถึงในสื่อต่างประเทศ
โดยเฉพาะร้าน Insects in the
backyard ในกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ทำฟาร์มเลี้ยงแมลงและขายออนไลน์
ตามมาตรฐานการส่งออก ดำเนินกิจการแบบเจ้าของคนไทยและเป็นการร่วมทุนกับชาวต่างชาติ
โดยเน้นการส่งออกแมลงในรูปแบบต่างๆเป็นหลัก เช่น next-food.net และ Eco Insect Farmingหรือแหล่งใหญ่อีกแห่งที่หมู่บ้านจิ้งหรีด
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น บ.อีโค่ ฟาร์มมิ่ง จำกัด
ผู้รับซื้อจิ้งหรีดแปรรูปเพื่อการส่งออก มีโรงงานแปรรูปตั้งอยู่ จ.เชียงใหม่
ได้ผลิตแป้งจิ้งหรีดหรือจิ้งหรีดผง โดยส่งออกไปยังสหภาพยุโรปเป็นหลักด้วยรูปแบบผง
เป็นส่วนผสมอาหาร ขนม พาสต้า อนาคตหากเปิดตลาดมากขึ้น
ได้ตั้งเป้าส่งออกแป้งจิ้งหรีดไปยังสหภาพยุโรปราคากิโลกรัมละถึง 1,000 บาท เลยทีเดียว
ที่สำคัญสินค้าแมลงแปรรูปได้รับความนิยมในตลาดยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษและเยอรมันนี
โดยเฉพาะแป้งที่มีส่วนผสมของแมลงซึ่งสามารถมาแปรรูปเป็นเส้นพาสต้าหรือผสมในเบอร์เกอร์ที่เป็นเมนูอาหารที่ชาวยุโรปคุ้นเคยและรับประทานอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว
ดังนั้นนจิ้งหรีดเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มทางการตลาดดีขึ้นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงจิ้งหรีดมากกว่า 20,000 รายทั่วประเทศ
ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เช่น ขอนแก่น กาฬสินธ์ุ มหาสารคาม พิจิตร เชียงใหม่ พิษณุโลก สุโขทัย มีกำลังการผลิตสูงถึง 7,500 ตันต่อปี ผลผลิตปีละ 7,500 ตัน มีมูลค่าเกือบ 1,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการบริโภคภายในประเทศ และเริ่มมีการส่งออกไปต่างประเทศนอกจากนี้ยังมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนผลิตแมลงในไทย โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด พร้อมทั้งโรงงานแปรรูป
เมื่อตลาดในโลกเปิดกว้างมากขึ้น การยกระดับเพื่อเป็นเครื่องการันตีมาตรฐานและความปลอดภัยให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศมากขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมทั้งเทคโนโลยีการแปรรูปเป็นผงโปรตีนนั้น คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์จากแมลงได้ง่ายขึ้น เพราะกินโดยที่ไม่ต้องเห็นตัวมันนั่นเอง