การคุกคามทางไซเบอร์ อาจทำองค์กรหยุดชะงัก

SME Update
28/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2771 คน
การคุกคามทางไซเบอร์ อาจทำองค์กรหยุดชะงัก
banner

ความปลอดภัยไซเบอร์ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกองค์กรต้องใส่ใจ เพราะนอกจากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่อง ยังก่อให้เกิดปัญหาในหลายมิติ จากผลการศึกษา Asia Pacific CISO Benchmark Study ของซิสโก้ประจำปี 2562 สะท้อนให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและองค์กรธุรกิจไทยต้องรีบหาแนวทางแก้ไข

ผลการศึกษาดังกล่าวชี้ว่า 29% ขององค์กรธุรกิจในไทยประสบปัญหาระบบหยุดทำงานนาน 24 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น หลังการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่รุนแรงที่สุดในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 4% เท่านั้น และค่าเฉลี่ยสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ 23% ตัวเลขของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2561 ซึ่งในตอนนั้นมีองค์กรธุรกิจในไทยเพียงแค่ 11% ที่ประสบปัญหาระบบหยุดทำงานนาน 24 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น

เวลาหยุดทำงานที่ยาวนานกว่าย่อมส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่ 35% ขององค์กรธุรกิจในไทย ระบุว่าการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญที่สุดในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายประมาณ 30 ล้านบาท หรือมากกว่านั้น ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 30%

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ธุรกิจไทยเสี่ยง รับมือภัยคุกคาม 5 หมื่นครั้งต่อวัน

ผลการศึกษานี้อ้างอิงการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเกือบ 2,000 คนทั่วภูมิภาค ซึ่งชี้ให้เห็นว่าบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยในไทยมีภาระด้านการรักษาความปลอดภัยสูงกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยผลการศึกษาระบุว่า 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่าองค์กรของตนได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยคุกคามมากกว่า 50,000 ครั้งต่อวัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 23% เท่านั้น

ปัจจุบันจำนวนภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นความท้าทายที่สำคัญจึงอยู่ที่การดำเนินการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการแจ้งเตือน เช่น มีการแจ้งเตือนกี่รายการที่ได้รับการตรวจสอบ และมีการแจ้งเตือนกี่รายที่พบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และได้รับการแก้ไขในท้ายที่สุด

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นข่าวดีก็คือ องค์กรธุรกิจในไทยมีการปรับปรุงที่ดีขึ้นในเรื่อง “จำนวนการแจ้งเตือนที่ได้รับการตรวจสอบ” โดยผลการศึกษาชี้ว่า องค์กรธุรกิจในไทยดำเนินการตรวจสอบภัยคุกคาม 48% (เพิ่มขึ้นจาก 37% จากปี 2561) 

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงดีขึ้นในส่วนของจำนวนการแจ้งเตือนที่ได้รับการแก้ไข โดยจากภัยคุกคามทั้งหมดที่ได้รับการตรวจสอบและพบว่าเกิดขึ้นจริง มี 43% ที่ได้รับการแก้ไข (เพิ่มขึ้นจาก 37% ในปี 2561) องค์กรธุรกิจในไทยมีการดำเนินการที่ดีกว่าในเรื่องของ  “การแก้ไขปัญหาตามที่ได้รับการแจ้งเตือน” เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ 38%

ปัจจุบันจากการพัฒนาและปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างกว้างขวางมากขึ้นในประเทศไทย มีผู้ใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรต่างๆ แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้มีช่องทางการโจมตีเครือข่ายเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และทำให้องค์กรธุรกิจได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามและความเสี่ยงทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น  ด้วยเหตุนี้ ระบบรักษาความปลอดภัยจึงไม่ใช่ส่วนประกอบเพิ่มเติมที่ติดตั้งในภายหลังอีกต่อไป แต่ต้องเป็น “รากฐาน” ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการดำเนินงานผ่านดิจิทัล

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังเน้นย้ำให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีจากผู้ขายหลายรายจะก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นต่อบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัย โดยผลการศึกษาพบว่า 54% ขององค์กรธุรกิจในไทยใช้เทคโนโลยีจากผู้ขายมากกว่า 10 ราย เปรียบเทียบกับ 39% จากทั่วโลก  ตัวเลขดังกล่าวของไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ซึ่งในตอนนั้นมีบริษัทเพียง 51% ที่ใช้เทคโนโลยีจากผู้ขายมากกว่า 10 ราย 

 

ผลการศึกษายังพบแนวโน้มสำคัญอื่นๆ ได้แก่ อุปสรรค 3 ข้อที่สำคัญที่สุดสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงในไทย

1. การขาดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำสำหรับการรักษาความปลอดภัย (52%)

2. การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ (37%)

3. ปัญหาความเข้ากันได้ของระบบรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ (32%)


การสร้างปลอดภัยมีความสำคัญมากขึ้นเป็น “สองเท่า” สำหรับประเทศไทยในปีนี้ เมื่อเทียบกับปี 2561 ซึ่งในตอนนั้นมีองค์กรเพียง 27% ที่ระบุว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาท้าทายหลัก 

ส่วนเรื่องปัญหาข้อมูลรั่วไหลและการปรับปรุงที่ดำเนินการหลังจากที่เกิดปัญหา การปรับปรุงที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรธุรกิจของไทยคือ การเพิ่มทักษะและการฝึกอบรมเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่พนักงาน (48%) ตามด้วยการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ (46%) และการมุ่งเน้นเรื่องการวิเคราะห์ความเสี่ยงและการป้องกันความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น (46%)


6 วิธีป้องกันการแก้แค้นทางโลกไซเบอร์ ที่นายจ้างควรรู้ 

ภัยคุกคามจาก‘Hacker’ที่จะเกิดขึ้นในปี 2019



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1294 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1662 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1917 | 25/01/2024
การคุกคามทางไซเบอร์ อาจทำองค์กรหยุดชะงัก