ภัยคุกคามไซเบอร์ ท่ามกลางช่องโหว่และโอกาสของ IoT

SME Update
17/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4514 คน
ภัยคุกคามไซเบอร์ ท่ามกลางช่องโหว่และโอกาสของ IoT
banner

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ทุกวันนี้มนุษย์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการดำรงชีวิต และมีแนวโน้มว่าอัตราการใช้เทคโนโลยีจะเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ยุค 5G ที่ทำให้การทำงานในระบบอัตโนมัติของอุปกรณ์ต่างๆ มีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์มากยิ่งขึ้นด้วย

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ทำการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 5G และสามารถกวาดรายได้เข้าภาครัฐได้นับแสนล้านบาท ขณะเดียวกันก็ทำภาพของการใช้เทคโนโลยีของเมืองไทยก็จะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อินเทอร์เน็ตกับการเปิดโลกกว้าง

จากเดิมการเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์มีเพียงสายแลน เป็นระบบที่ต่อตรงเข้าสู่เครื่อง ซึ่งในขณะนั้นคนไทยยังเข้าถึงอินเทอร์เน็ตน้อยมาก จนมาถึงยุค 3G เริ่มมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ประมาณ 10 ล้านคน และใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็พัฒนามาถึง 50 ล้านคนในปัจจุบัน โดยมีทั้งการเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือซึ่งมีจำนวนกว่า 90 ล้านเลขหมาย

นี่คือสัญญาณเริ่มต้นของการเชื่อมต่อถึงกันอย่างก้าวกระโดด และเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทั่วโลก ซึ่งทุกวันนี้มีจำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตราว 4,500 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 7,000 ล้านคนทั่วโลก

เมื่อการเชื่อมต่อผ่านหลายช่องทางมากขึ้น ภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ย่อมขยายระดับความเสี่ยงเพิ่มสูงตามไปด้วย และนี่คือประเด็นที่อยู่ในความสนใจขององค์กรต่างๆ ทั่วโลก

 

IoT จุดระเบิดความเสี่ยงโลกไซเบอร์

ในยุค 3G และ 4G คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้เป็นประตูเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ที่ทุกคนเชื่อมต่อถึงกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีได้รับการพัฒนามาถึงยุค 5G ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น เพราะ 5G เป็นเทคโนโลยีส่งข้อมูลความเร็วสูง มีความเร็วกว่า 4G ถึง 10 เท่า การรับส่งข้อมูลจะเสถียรมากขึ้น การรับส่งข้อมูลเป็นแบบ Real Time มากขึ้น

ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองคือ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น (Massive Machine Type Communications (mMTC)) โดยเทคโนโลยี 5G จะช่วยเสริมสร้างการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ แบบวงกว้าง สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากถึง 2 แสน – 1 ล้านเครื่อง/ตารางกิโลเมตร จากเดิมในยุค 4G ทำได้ไม่ถึง 1 แสนเครื่อง จึงกล่าวได้ว่านี่คือยุคที่ IoT จะมีบทบาทกับเราอย่างเป็นเต็มรูปแบบ

IoT หรือ Internet of Thing หมายถึง สรรพสิ่งหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ปัจจุบันมีการใช้งาน IoT อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ Smart Device ของใช้ส่วนตัวของผู้บริโภค ไปจนถึงนำมาใช้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งในการ Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ

จากผลการสำรวจ Gartner พบว่าอุปกรณ์ IoT ทั่วโลกปัจจุบันมีมากกว่า 26 พันล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากเมื่อราว 4 ปีก่อนที่มีจำนวนอยู่ราว 6 พันล้านชิ้น เมื่อมีการใช้งาน 5G จำนวนของอุปกรณ์ IoTจะเพิ่มมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยภายใน 1-2 ปีหลังจากนี้คาดการณ์ว่าการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ IoT จากเพิ่มเป็น 50 พันล้านชิ้น

 

ภัยคุกคามกับประตูที่เพิ่มขึ้น

ในส่วนของโอกาส เทคโนโลยี 5G จะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ  เหมือนหรือมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นกับกับเทคโนโลยี 3G และ 4G แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อช่องทางการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงก็ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้นนอกเหนือจากโอกาสแล้ว ยังมีความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งในยุค 4G ก็มีปัญหาเหล่านี้เข้าบุกรุก รบกวน ทั้งส่วนบุคคล และระบบการทำงานขององค์กรทั่วโลก ตามที่เคยปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับในประเทศไทยทางสำนักงาน กสทช. ได้วางมาตราการเข้มงวดในการกำกับดูแล และตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัย พ.ศ.2562 และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

เห็นได้จากการที่ กสทช.ผลักดันให้เกิดการประมูล 5เพื่อต้องการให้เกิด IoT อย่างเป็นรูปธรรม ใช้งานได้แท้จริง ซึ่งในประกาศหลักเกณฑ์การประมูลนั้น ผู้ชนะการประมูลจะต้องสร้างโครงข่ายให้รองรับและเป็นไปตามมาตรฐาน 5G ทั้งในด้านความเร็ว ความหน่วง และการรองรับอุปกรณ์จำนวนมาก

ทั้งนี้ กสทช. มีคำแนะนำว่า องค์กรควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ตามปกติอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาอุปกรณ์ IoT และการติดตั้ง โดยต้องมีการออกแบบโดยคำนึงถึงภัยดังกล่าว

รวมทั้งต้องมีการจัดทำการทดสอบช่องโหว่ หรือ Penetration Test เป็นประจำทุกปี และต้องมีการทดสอบเข้มข้นมากขึ้นหากมีอุปกรณ์ IoT เข้ามาใช้ในองค์กร สำหรับประชาชนผู้ใช้งานควรต้องตระหนักด้วยการตั้งคำถามและหาคำตอบด้านความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ เมื่อมีอุปกรณ์มาเชื่อมต่อภายในบ้านหรือองค์กร  เพื่อสร้างความมั่นใจมากขึ้น


นับจากนี้ไป การเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ IoT ยังเป็นประเด็นที่น่าติดตาม เนื่องจากปัจจุบันมีอุปกรณ์เป็นจำนวนมากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ IoT โดยอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้น มีทั้งผู้ผลิตและผู้ให้บริการรายเล็ก รายใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหลังจากนี้จะได้เห็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการร่วมกันสร้างมาตรฐานในการปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่อาศัยช่องว่างของช่องทางการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่เพิ่มขึ้น


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<  


ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารที่หลากหลาย

5G จะพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย ปี 2020


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

รักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ด้วย Food Ingredients ตัวช่วยสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร

รักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ด้วย Food Ingredients ตัวช่วยสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร

ประโยชน์ของ Food Ingredients ตัวช่วยรักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ในทุกจาน.เพราะมาตรฐานรสชาติคือหัวใจของธุรกิจร้านอาหาร ไม่ว่าจะมีสาขากี่แห่ง…
pin
3 | 02/04/2025
เคล็ดลับการเพิ่ม Engagement บน IG ฉบับปี 2025

เคล็ดลับการเพิ่ม Engagement บน IG ฉบับปี 2025

ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ SME เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่…
pin
6 | 31/03/2025
5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคสำคัญในปี 2025

5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคสำคัญในปี 2025

5 เทรนด์ผู้บริโภคโลก ปี 2025 โดย Euromonitorล่าสุด ผลสำรวจจาก Euromonitor International ได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค…
pin
13 | 17/03/2025
ภัยคุกคามไซเบอร์ ท่ามกลางช่องโหว่และโอกาสของ IoT