โลกยุค Disruption ส่งผลให้เกิดการละทิ้งรูปแบบเดิมๆ
เพื่อก้าวไปสู่สิ่งใหม่ๆ ด้วยการขับเคลื่อนจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ที่เห็นชัดที่สุดคือการสูญหายไปของหลายๆ
อาชีพ และก็ถูกทดแทนด้วยอาชีพใหม่ๆ ที่ในชีวิตนี้เราอาจจะไม่คาดคิดมาก่อน
อาชีพใหม่ๆ ก็มาพร้อมกับการมองเห็นโอกาสในอนาคต องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ( อพวช.) ได้คาดการณ์ 10 อาชีพในอนาคต ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในยุค 4.0 ที่สอดรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่ใช้ปัจจัย S-curve เพื่อสนองต่อเขต EEC รวมถึงกระแสของโลกที่ตอบโจทย์ในเรื่องสิ่งแวดล้อม
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
1. วิศวภูมิศาสตร์สารสนเทศ (Geomatics
Engineer) เกี่ยวกับการสำรวจ และวิทยาการของการจัดทำระบบข้อมูลผิวโลก และระบบการจัดทำแผนที่
2. ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คือ ผู้ดูแลความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ
เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน เช่น สวมหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นควัน
บรรเทาแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กำจัดของเสียอันตราย
3. นักออกแบบโปรแกรม (Software Developer) เป็นนักวิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ
ดูแลแก้ไขโปรแกรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ และตอบสนองความต้องการของตลาด
4. นักพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
(Robotics and Automation Developer) มีหน้าที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพและประสิทธิภาพให้อุตสาหกรรมด้านต่างๆ อาทิ การผลิตสินค้า การคมนาคม การแพทย์
หรือการศึกษาเพื่อจะช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์มากขึ้น
5. นักคิดค้นวัคซีน (Vaccine Developer) มีภารกิจในการวิจัย พัฒนาและผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ สามารถต่อต้านและป้องกันโรคได้ รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านวัคซีน การทำให้วัคซีนมีประโยชน์และมีความปลอดภัยสูงขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้วัคซีนมีความมั่นใจมากขึ้น
6. วิศวกรชีวการแพทย์ (Biomedical
Engineer) เป็นผู้ออกแบบหรือสร้างเครื่องมือการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสามารถใช้งานได้จริง รวมถึงศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ
เพื่อวินิจฉัย ป้องกัน ติดตาม บำบัด บรรเทา รักษาโรค รวมถึงการพัฒนาหรือสร้างเครื่องมือที่ปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วย
7. นักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากขยะ
(Grabage Designer) คือผู้เปลี่ยนโฉมขยะสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่
เป็นผู้ที่นำขยะหรือวัสดุเหลือใช้มาออกแบบสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
ที่สวยงามและสามารถใช้งานได้จริง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ
เพื่อลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อม
8. นักออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
(Green Product Design) สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ หรือสามารถนำไปผลิตซ้ำ หรือออกแบบใหม่ได้
โดยคำนึงถึงการเลือกใช้วัตถุดิบให้คุ้มค่ามากที่สุด
9. นักวิทยาศาสตร์อาหาร (Food Scientist) เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารด้านการผลิต
การประกัน หรือควบคุมคุณภาพอาหาร และความปลอดภัยของอาหาร แปรรูปอาหาร
10. เกษตรยุคใหม่ (Smart Farmer) คือเกษตรกรที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตร
รวมถึงรู้จักวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
โดยคำนึงถึงด้านคุณภาพของสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค
ทั้งนี้ผู้เรียน 10 อาชีพนี้ เมื่อจบการศึกษาแล้วออกมาแล้ว สามารถเป็นทั้งพนักงานประจำบริษัท โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ทำอาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ประกอบการ SME
3 แนวทางเพื่อธุรกิจทันยุค 4IR
5G จะพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย ปี 2020