ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วและรุนแรง
คือความท้าทายของคนในยุค Digital Disruption ภายใต้สถานการณ์ที่บริษัทรายใหญ่
รายเล็ก ห้างร้าน ธุรกิจทุกระดับชั้นกำลังล้มหายตายจากเวทีการแข่งขันทางธุรกิจ แต่หากต้องการพยุงธุรกิจให้อยู่รอด
ต้องกล้าตัดสินใจปรับตัว พลิกแผนกลยุทธ์ และ รื้อโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ในเวลาเดียวกันแล้ว
โดยผู้ที่พรั่งพร้อมรับมือยุค Digital Disruption เท่านั้นจะอยู่รอดได้ และยังจะเต็มไปด้วยประตูแห่งโอกาสที่คอยเปิดอ้าแขนต้อนรับ แต่สำหรับผู้ที่ความสามารถในการปรับตัวต่ำ เข้าข่ายคุณลักษณะ Deadwood หรือตกยุค ซึ่งคนกลุ่มนี้จะตกเป็นเหยื่อถูกอนาคตไล่ล่าและกลืนกินในท้ายที่สุด
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
จากความร้ายกาจประการหนึ่งของยุค
Digital Disruption ก็คือ
เราไม่อาจอาศัยองค์ความรู้ดั้งเดิม หรือความถนัดเก่าๆ จากครั้งอดีตมาใช้ในยุคสังคมโลกดิจิทัลได้ทั้งหมด
ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด บางทักษะจึงต้องพัฒนา และบางทักษะจำเป็นต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามามีอิทธิต่อชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะทุกวันนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ซึ่งสัดส่วนของวัยแรงงานจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันเมื่อนำมูลค่าทางเศรษฐกิจไปหารด้วยจำนวนแรงงาน
จะพบว่ามีผลิตภาพ(Productivity) ที่ค่อนข้างต่ำ
และสุดท้ายก็คือกำลังเผชิญกับ Digital Disruption
ปัจจัยเหล่านี้สะท้อนว่าหากยังอยู่กันแบบเดิม
ไม่ว่ามนุษย์ผู้ใช้แรงงาน หรือประเทศชาติ คงไปต่อไม่ได้ นี่คือเหตุผลที่ต้องมีการพัฒนาทักษะ
ทั้งทักษะพื้นฐานในการทำงาน(Hard Skill) และทักษะที่ช่วยให้การทำงานไหลลื่นขึ้น (Soft Skill) เนื่องจากทุกวันนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ
ซึ่งสัดส่วนของวัยแรงงานจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันเมื่อนำมูลค่าทางเศรษฐกิจไปหารด้วยจำนวนแรงงาน
จะพบว่าประเทศไทยมีผลผลิตคุณภาพ หรือ Productivity ที่ค่อนข้างต่ำ
และสุดท้ายก็คือคนยุคนี้กำลังเผชิญกับ Digital Disruption
อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
พัฒนา Hard & Soft Skill เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
ถือว่ามีความสำคัญมากต่อชีวิตการทำงาน
และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน อันดับแรก คือทักษะด้านความรู้(Hard Skill) ประกอบด้วย
ความสามารถในการทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) การคิดการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
(Thinking) การบริหารจัดการคน (Team Management) ตลอดจนทักษะการใช้เทคโนโลยีต่างๆ
ที่เสริมด้วยเรื่องของทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล(Big Data)
ส่วนทักษะด้านอารมณ์( Soft Skill) ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ (Creative)
ทักษะการพูดและการโน้มน้าวใจ (Persuasive – Negotiate) การทำงานเป็นทีม (Team Leading and Following) ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้ในเวลาเดียวกัน
รวมถึงความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมตลอดเวลา (Adaptive) และการจัดการเวลา (Time Management)
สร้างทักษะใหม่ให้สอดคล้องเข้ากับโลกยุคใหม่
ปัจจุบันมีคำอยู่ 2 คำ
ที่กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ Re-Skill คือการสร้างทักษะใหม่ให้เข้ากับโลกยุคสมัยใหม่ได้
ซึ่งอาจเป็นได้หลายแนวทางขึ้นกับโจทย์ของภาคธุรกิจว่าต้องการคนที่มีลักษณะแบบใด
และ Up-Skill เป็นการพัฒนาทักษะเดิมให้ทันกับโลกยุคปัจจุบัน
มักจะเป็นเรื่องการทำให้คนใช้เทคโนโลยีเป็น เช่น
เรียนรู้การควบคุมเครื่องจักรที่ใช้ AI เพิ่มเข้ามาได้
จากงานวิจัยของสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่ได้สำรวจทักษะแรงงานของคนในยุค 4.0 และทักษะที่นายจ้างต้องการ พบว่า ผู้ประกอบการต้องการเด็กที่มีประสบการณ์ในโลกของการทำงานจริงในลักษณะสหกิจศึกษา
มากกว่าเด็กที่จบจากมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว เพราะเด็กที่ผ่านการฝึกงานแต่ละคนจะเข้าใจว่าสถานประกอบการนั้นต้องการอะไร
แบบไหน
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องการให้พนักงานบริษัท
หรือกลุ่ม White Collar มีทักษะในการตัดสินใจ
มีทักษะด้าน AI ตลอดจนการวิเคราะห์ Big Data เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือ Blue Collar ต้องการเพียงแค่ความสามารถในการปรับตัว
และไม่ปฏิเสธที่จะต้องทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเป็นทางเดียวที่จะอยู่รอดได้
แหล่งเรียนรู้ตอบโจทย์ทุกเจนเนอเรชั่น
สอดคล้องกับมุมมองของ ผศ.ดร.ศุภชัย
ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(มธ.) ให้ความคิดเห็นว่า แหล่งเรียนรู้ที่สามารถตอบโจทย์ทุกเจนเนอเรชั่น ที่ภาครัฐ
เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ซึ่งต้องเข้ามาสนับสนุนและลุงทุนให้เกิดการ Re-Skill และ Up-Skill
อาทิ
การสร้างแพลทฟอร์มของวิชาบางอย่างให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
เช่น ถ้าอยากให้คนเรียนรู้เรื่อง AI ก็ต้องทำหลักสูตรเบื้องต้นและเปิดอบรมฟรี
จัดหาโครงสร้างขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
อุปกรณ์เทคโนโลยี ฯลฯ เพื่อให้กลุ่มเหล่านี้ได้เข้าถึงเทคโนโลยี
ในทำนองเดียวกันสถาบันการศึกษาก็ต้องปรับการเรียนการสอน และควรให้บริการวิชาการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มคนอย่างที่สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์สถาบัน มธ.ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ โดยได้เปิดการให้บริการอบรมทักษะทั้งในรูปแบบที่เปิดสาธารณะแบบ in-house ภายในองค์กร รวมทั้งแบบบริการสังคมที่ไม่หวังผลกำไร พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาองค์กรด้านทรัพยากรมนุษย์
ผศ.ดร.ศุภชัย
บอกว่ารูปธรรมของผลงาน ไม่ว่าจะเป็น “โรงเรียนผู้สูงอายุ”
ที่ให้ผู้สูงวัยได้กลับมาเรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขาควรจะรู้ นับเป็นเรื่องที่ดียิ่งไม่แตกต่างกับการฝึกทักษะอาชีพให้กับกลุ่มผู้ใกล้พ้นโทษออกสู่สังคมโลกภายนอก ภาครัฐต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนกลุ่มนักโทษที่จะออกจากเรือนจำ
ตลอดไปจนถึงมหาวิทยาลัยประชาชน ที่ฝึกอาชีพให้กับประชาชน
แต่ที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาดคือมีตลาดรองรับ
แหล่งเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ของคนทุกเจนเนอเรชัน ในยุคที่ผู้คนอาจไม่ได้เกษียณอายุที่ 60 อีกต่อไป ดังนั้นการเพิ่มทักษะมนุษย์ ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากสารพัดปัจจัยลบรุมเร้าทุกด้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นพิเศษและอย่างจริงจัง