“Digital Transformation for SME” ขับเคลื่อนธุรกิจไทยด้วยดิจิทัล มุ่งสู่ความยั่งยืน

SME in Focus
16/09/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 83 คน
“Digital Transformation for SME” ขับเคลื่อนธุรกิจไทยด้วยดิจิทัล มุ่งสู่ความยั่งยืน
banner
ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจ SME ยุคนี้ กำลังเผชิญกระแสการเปลี่ยนแปลงสำคัญ (Mega Trend) หลายประการ จนเสี่ยงต่อการถูก Disruption หรือการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี ที่ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ กลายเป็นประเด็นที่ธุรกิจ SME ต้องให้ความสำคัญกับ Mega Trend และการ Transformation เพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเหล่านั้น

 

คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และประธานกรรมการบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จํากัด กล่าวถึงประเด็น Mega Trend ที่สำคัญและการทำ Transformation สำหรับ ธุรกิจ SME ในงานสัมมนา “Digital Transformation for SME” EP 1 ซึ่งจัดโดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันพฤหัสบดีที่  9  พฤษภาคม  2567 ระบุว่า เทคโนโลยี เป็น Mega Trend ที่เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตผู้คนมากขึ้น  ในฐานะที่เราทำงานในบริษัทโทรคมนาคม มองเห็นความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คนยุคใหม่ชอบความรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตต้องความเร็วสูง ตอบโจทย์การใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยม เช่น Facebook Line เพราะฉะนั้น จึงต้องถูกบังคับให้ Transforms ตัวเอง 
 


ผู้เล่นใหม่ ต้องสร้างความแตกต่าง

TRUE เป็นรายสุดท้ายที่เข้ามาในตลาดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ดังนั้น การให้บริการจะทำเหมือนรายใหญ่ไม่ได้ ต้องสร้างความแตกต่าง เรื่อง Transforms จึงเป็น DNA อันหนึ่งที่เราต้องทำ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเปรียบเหมือนท่อ เป็น Base พื้นฐาน สิ่งที่แข่งขันกันตอนนี้คือ Data และ Application สิ่งสำคัญคือการให้บริการที่หลากหลาย โดยนำ Data มาสร้าง Value เริ่มจากสิ่งที่มี แล้วคิดต่อในสิ่งที่อนาคตต้องมี และผู้บริโภคต้องการ 

ยกตัวอย่างเช่น True ID เว็บไซต์ และ Application ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกในการเข้าถึงบริการจาก TRUE ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการให้บริการระบบ Payment คือ True Money หรือ Application หมอดี แพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะ เป็นต้น

 

คุณณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ในการแข่งขัน เราจะเป็นเพียงบริษัทโทรคมนาคมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเป็น Digital Company วันแรกที่เข้ามาในตลาด เราเป็นเพียง Start Up วิธีเดียวที่จะแข่งขันได้คือทำให้แตกต่าง เราเริ่มจาก 3G ต่อด้วย 4G มี Digital Contents รายการทีวี อยู่ใน True ID  Application จนถึง Internet of Things (IoT) คือบริการติดตั้งกล้องวงจรปิด ให้ความปลอดภัยตามบ้าน ร้านค้าต่าง ๆ รวมทั้งการปรับองค์กรภายในเป็น 5G โดย TRUE เป็นเจ้าแรกที่เปิดตัว 

ในการทำงาน ผมยึดบทเรียนหนึ่งที่ได้จากเจ้านายของผมมาโดยตลอดว่า ถ้าคุณจะเปลี่ยนแบรนด์ อย่าง ลูกค้า เขาไม่ได้สนใจหรอกว่าคุณเปลี่ยนแล้ว มีผลอะไรกับเขา แต่สิ่งที่คุณเปลี่ยนนั้น จะต้องมีอะไรใหม่ ๆ ให้เขาด้วย 

ตอนแรกที่เราเป็น Telecom Asia แล้วเปลี่ยนมาเป็น TRUE  เราเปิดตัวระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) รายแรกของประเทศไทย ความเร็ว 256 K ซึ่งทุกวันนี้เพิ่มเป็นพันเท่าแล้ว นั่นคือความเปลี่ยนแปลงของเราที่มาพร้อมการ Transform ธุรกิจ

 

TRUE และ DTAC ‘Better Together’ จับมือก้าวสู่ Digital Transformation


ปัจจุบัน TRUE และ DTAC ได้ดำเนินการควบรวมเป็นบริษัทใหม่ร่วมกัน  โดยใช้ชื่อว่า "บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)" (True Corporation)  จากจำนวนประชากรในประเทศไทย 70 ล้านคน ผู้ใช้บริการของ TRUE และ DTAC รวมกันอยู่ที่ 51 ล้านคน ขณะที่ AIS มี  40 กว่าล้านคน เพราะคนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 เครื่อง รวมทั้งมีการใช้  eSIM ในอุปกรณ์ เช่น Tablet หรือ Smart Watch ที่แนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทุกภาคส่วน มีโอกาสใช้ Digital ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งหากใครไม่เข้าร่วมในการใช้เทคโนโลยี อาจตกขบวนได้
 


Digital Technology มีความจำเป็นมาก เพราะเข้าไปทำให้ชีวิตคนดีขึ้น สิ่งที่เราทำ ต้องใหญ่พอที่จะมีผลกับสังคม ในตอนนี้ TRUE ไม่สามารถแข่งกับรายเล็กได้ เพราะไซซ์ของธุรกิจเราเติบโตขึ้น ต้องจับมือกับรายเล็กแล้วทำด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น SME หรือ Start Up 

เงื่อนไขง่าย ๆ ที่เราคุยกับทีมงานคือ ถ้า SME หรือ Start Up มาเสนอ Project อะไรก็ตาม ต้องถามว่า มันจะมี Impact กับสังคมมากพอไหม เราจะเป็นผู้ชนะ หรือเป็น 1 ใน 3 ของตลาดได้ไหม ถ้าไม่ได้ เราต้องไม่เข้าร่วม 


ทำอย่างไร? จะดันอุตสาหกรรมไทย สู่อนาคต Digital     

อีกหนึ่ง Mega Trends ที่เห็นได้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลง ในแง่ Consumer คือเทรนด์การจับจ่ายซื้อสินค้าของผู้บริโภคยุคใหม่ คุณณัฐวุฒิ ระบุว่า ก่อนโควิด เราสั่งอาหารโดยสั่งที่ร้าน กลับมากินที่บ้าน แต่ทุกวันนี้ อยากกินอะไรเราสั่ง Application Food Delivery อย่าง Grab Lineman รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ง่าย และสะดวก ไม่ต้องเดินทาง แม้แต่การทำงาน การเรียน ก็ทำผ่านออนไลน์โดยใช้ Zoom หรือ Team ได้ ฉะนั้น ตอนนี้ เราเลือกมองไปข้างหน้า ในอุตสาหกรรมของเราเอง ว่าจะมีอะไรที่เข้ามาตอบโจทย์ให้ผู้บริโภคและเป็นตัวเลือกให้เขาได้ 

 

“ถ้าธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับการเกษตร โจทย์คือจะทำยังไงให้เข้าถึงเทคโนโลยีได้ มีอะไรบ้างที่ทำให้ผลผลิตพวกเขาดีขึ้น ทุกวันนี้ เกษตรกรซื้อยา หรือสารอาหาร เขาซื้อผ่าน Lazada Shopee TikTok เพราะราคาถูกกว่าหน้าร้านเกือบ 50% แต่ปัญหาคือ ร้านค้าในแพลตฟอร์มออนไลน์ ยังส่งของที่มีน้ำหนักมากไม่ได้ บางอย่างเช่น ปุ๋ย หรือของที่มีน้ำหนัก จึงต้องซื้อจากหน้าร้านค้า อีกปัญหาคือ การเข้าถึง Online eCommerce บางคนอยากสั่ง แต่ยังทำไม่เป็น ต้องให้ลูกหลานสั่งให้ แต่ถ้าเป็น LINE ส่วนใหญ่ใช้เก่งทุกคน เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงรูปแบบนี้ที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ”

การเปลี่ยนแปลง ไม่ได้หมายถึงการทำ Application อย่างเดียว นอกจากผู้บริโภคจะปรับเข้าหาเทคโนโลยีแล้ว ฝั่งผู้ให้บริการก็ต้องปรับเข้าหาวิธีการให้บริการง่าย อันนี้คือเรื่องสำคัญที่สุด พอพูดถึงเทคโนโลยีผู้บริหารส่วนใหญ่จะนึกถึงการทำ Application ก่อน แต่ลืมไปว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยังโหลดไม่เป็น แต่ Line คือ Application พื้นฐานที่ลงมาให้ในเครื่องตั้งแต่ซื้อ เป็น Chat Based ที่คนคุ้นเคย เพราะฉะนั้น ในแง่การใช้เทคโนโลยี ให้เริ่มนึกถึง Line Chat ก่อน อาจจะเพิ่ม AI เข้ามาช่วยตอบคำถามเบื้องต้นให้ นี่คือตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเกษตรที่ควรเรียนรู้



Framework ของ True Corporation เป็นแบบไหน?

การขับเคลื่อนธุรกิจของเรา สิ่งแรก ไม่ใช่เรื่องการหาเงินยังไง แต่เราจะพัฒนาชีวิตของผู้ใช้ให้ดีขึ้นแบบไหน เพราะถ้าเราทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นไม่ได้ เขาจะไม่เหลือเงินมาซื้อของจากเรา เรื่อง Digital Transformation  ก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่เรากำลัง Transforms จะช่วยให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้นยังไงก่อน แล้วค่อยมากรองดูว่า มีโอกาสสำเร็จในสิ่งนั้นหรือเปล่า 

ตัวอย่างเช่น ใน 10 Project ที่เราเลือกพัฒนา อาจจะมี 2 เรื่องที่ทำแล้วจะช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตดีขึ้น หลังจากนั้นมาดูว่า ผ่านไปสัก 3-5 ปี เรายังอยู่ในท็อป 3 ในประเทศได้ไหม และสุดท้าย คือมีโอกาส Scale ไหม เพราะเราคิดแบบ Start Up ที่ต้องมีการเติบโตขึ้นด้วย 
 



การ Transformation เรื่องของ นวัตกรรม เทคโนโลยี มีผลแค่ 20% อีก 80% คือ Know how หรือวิธีการปฏิบัติที่  Process เปลี่ยนไป ยกตัวอย่าง เราทำ Project อันหนึ่งกับโรงพยาบาลศิริราช คือแก้ปัญหาการเดินทางของรถพยาบาลในซอยแคบ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดหัวใจหยุดเต้นระหว่างนำส่ง โจทย์ของคุณหมอ คือทำยังไง จะลดเวลานำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน จาก 24 นาทีให้เหลือ 4 นาทีให้ได้ ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องเข้าไปแก้ไขไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี แต่เป็น Know how โดยเราส่งคุณหมอไปสอนการปั๊มหัวใจให้กับวินมอเตอร์ไซค์ในพื้นที่ จากนั้นค่อยใช้เทคโนโลยี คือระบบ SMS และวิดีโอคอล สามารถเปิดกล้องคุยกับหมอได้เลยเป็น Step ต่อไป

รูปแบบการทำงาน คือ การใช้ AI ส่งข้อมูลไปหาวินมอเตอร์ไซค์ที่ใกล้ที่สุด เมื่อวินฯ มาถึงภายใน 3 นาที 4 นาที ก็เริ่มปั๊มหัวใจ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้  เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลก และช่วยชีวิตคนมาแล้วหลายร้อยคน ไม่ใช่การใช้เทคโนโลยีที่ใหม่ แต่เป็นการนำองค์ความรู้และวิธีคิด มาใช้แก้ไขปัญหา

ถ้าผมมีโซลูชัน คือ Connectivity แต่ให้บริการเชื่อมต่อเพียงอย่างเดียว วันหนึ่งก็ต้องถูก Disruption และตายลง เพราะการเป็นน้องใหม่ที่ตามหลังเข้ามาในตลาด จะต้องมาพร้อมคอนเทนต์ใหม่ ๆ  มี Solution + AI หรืออาจจะต้องคิดไปถึงการรุกตลาดต่างประเทศ นี่คือการ Transformation ที่สำคัญอีกอันหนึ่ง
 
นอกจากนั้น ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมใช้คือ เวลาที่เห็นของเล่นสวย ๆ ข้างในอาจจะเต็มไปด้วยวัสดุที่ยุ่งเหยิง ธุรกิจที่ภาพลักษณ์สวยงาม ระบบข้างในอาจจะดูยุ่ง ๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดีไซน์ดี ๆ ก็จะออกมาสวยงาม สิ่งหนึ่งที่ MIT ( Massachusetts Institute of Technology)  สอนในการทำ Framework ที่ผมได้เรียนรู้ คือ การลองทำ Workshop กับทีมงาน ตั้งโจทย์ว่า ลูกค้าอยากเจออะไรบ้าง แล้วค่อยมาแก้ไข ลดกระบวนการที่ซับซ้อนลง แล้วค่อยมาดูว่าเราต้องการ Innovation เข้ามาแก้ในเรื่องอะไรบ้าง ทุกปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นว่าทุกอย่างจะต้องไฮเทค แต่ขึ้นอยู่กับกระบวนการ

Key ของการ Transformation คือการหา Pain Point หรือสิ่งที่ยังเติมไม่เต็มในตลาด จากการสังเกต สำรวจ พูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายที่เราไม่คุ้นเคย กับทีมงานที่มี Background การทำงานต่างกัน เพราะจะได้มุมมองที่ไม่เหมือนกัน มาวิเคราะห์ และปรับจูนให้ได้เป้าหมายที่ตรงกัน



Mega Trends มีอะไรบ้าง? 


ประเด็นนี้ คุณณัฐวุฒิ อธิบายโดยสรุปว่า จะประกอบไปด้วย

1. Cloud Computing
เทคโนโลยี เข้าถึงชีวิตเราเกือบทุกคน มีข้อมูลอยู่บนฟ้า หรือ Cloud ใน Data Center ที่มีการเติบโตมหาศาล ประมาณ 20% ต่อปี คาดว่ามูลค่าจะขึ้นไปถึง 50 ล้านล้านบาทในปี 2028

2. Virtual Reality
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน ที่มักจะเห็นได้จากธุรกิจอสังหาฯ โดยเป็นการจำลองบรรยากาศเสมือนจริงให้ลูกค้า ส่วนวงการแพทย์ จะใช้ Virtual Reality สอนปั๊มหัวใจให้กับนักศึกษาแพทย์ รวมถึงเริ่มเข้ามาในโลกของธุรกิจทั่ว ๆ ไปมากขึ้น 

3. Cyber Security 
ความปลอดภัยทางไซเบอร์  เป็นวิธีลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางอินเทอร์เน็ต ที่อาจส่งผลต่อการทำงาน อุปกรณ์ และบริการที่ใช้งาน

4. Automation และ Artificial Intelligence 
การทำให้ระบบ เป็นอัตโนมัติมากขึ้น รวมถึง ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) และ Open AI 
กว่าจะมาถึงวันนี้ องค์กรของ TRUE มี Vision สืบทอดมายาวนานมาก ที่ต้องมี เพราะจำเป็นต้องตามให้ทันรายอื่น ถึงจะขายของได้   


อีกทั้ง ผมยังมองว่า Mega Trends ที่เกิดขึ้น บ่งบอกว่าทุกธุรกิจมีโอกาสใช้ Data ให้เป็นประโยชน์ ส่วนใหญ่ทุกบริษัทมีข้อมูลอยู่แล้ว 

“ผมเคยให้บริการด้านข้อมูลกับร้านอาหาร คือทำระบบ POS  กับ ระบบสะสมแต้ม ซึ่งเรามี Module ที่ทำให้เขาวิเคราะห์ข้อมูลได้ แต่ไม่มี User มาดูเลย เหตุผลคือ ระบบพวกนี้ ต้องทำให้มันเป็นอัตโนมัติ ถ้าเราอยากให้ธุรกิจร้านอาหารใช้ประโยชน์ได้ ต้องฝังเข้าไปในระบบเลย เพราะเจ้าของร้าน เขาไม่มีเวลามานั่งวิเคราะห์เองทีละครั้ง ฉะนั้น โลกออนไลน์ทุกวันนี้เป็นระบบออโตโมชันหมด เราเข้าไป Search อะไร ข้อมูล บวกกับปัญญาประดิษฐ์ จะวิเคราะห์ ประมวลผลออกมาสรุปให้ แล้วเอามานำเสนอเรา เป็นโลกที่มี IoT แทบทั้งหมด 

ในส่วนของประเทศไทย การปรับมาสู่โลกของเทคโนโลยี หรือ Transforms อะไรก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญ คือการปลูกฝังแนวคิดของเด็ก การศึกษายุคนี้ ต้องฝึกให้เด็กเป็นนักตอบคำถาม ต้องเป็นนักจินตนาการ ตั้งคำถาม ให้เขากล้าที่จะตอบ กล้าที่จะมีความเห็นที่ไม่เหมือนคนอื่น 

ตั้งแต่มีการทำ Transformations กันมา เชื่อว่าไม่เคยมี Project ไหน ที่ไม่ Fail ก่อน หรือผ่านคำดูถูก หากจะสำเร็จได้ ต้องลองผิดลองถูก ถ้าคุณไปถามผู้บริหารของบริษัทฟอร์ดเมื่อร้อยปีที่แล้วว่าอยากได้อะไร? คำตอบน่าจะเป็น อยากได้รถม้าที่วิ่งเร็วขึ้น คงไม่มีใครตอบว่า ‘รถยนต์’ 

นั่นเป็นเพราะ “นวัตกรรมจะเกิดได้ ต่อเมื่อคุณมีความมุ่งมั่นว่าคุณทำได้ และไม่ยอมแพ้”

รับชมงานสัมมนา “Digital Transformation for SME” EP 1 ฉบับเต็มได้ที่ 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
4 | 18/04/2025
“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิต “วัตถุดิบโลหะ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร…
pin
7 | 11/04/2025
เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

แนวคิด Zero-Waste กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญหลายธุรกิจเริ่มตระหนักว่าการลดขยะไม่ใช่แค่ช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุน…
pin
10 | 06/04/2025
“Digital Transformation for SME” ขับเคลื่อนธุรกิจไทยด้วยดิจิทัล มุ่งสู่ความยั่งยืน