4 เทรนด์ดิจิทัลที่ธุรกิจต้องเรียนรู้และปรับตัวในปี 2564

SME in Focus
18/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1800 คน
4 เทรนด์ดิจิทัลที่ธุรกิจต้องเรียนรู้และปรับตัวในปี 2564
banner

ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ ดังนั้นเทรนด์การปรับตัวของภาคธุรกิจและตลาดงานจึงต้องปรับตามการเติบโตของเทคโนโลยีที่มีความสามารถหลากหลายและถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีบทบาทและเปลี่ยนแปลงสังคม และเศรษฐกิจอย่างมากในโลกอนาคต ดังนั้นผู้ที่สามารถปรับตัวและก้าวทันตามกระแสเศรษฐกิจใหม่ในยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้น (Digital Transformation) ย่อมสร้างความได้เปรียบในหลายมิติ รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน ตลอดจนเพิ่มศักยภาพและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) ระบุว่า การจะตอบสนองเทรนค์ด้านดิจิทัลในยุคนี้ได้ ธุรกิจจะต้องทำ 4 ด้าน

- ด้านแรกคือ การปรับกลยุทธ์ด้านการวางแผนสถาปัตยกรรมไอที จากการรวมศูนย์ให้เป็นการกระจาย อาจจะปรับให้ข้อมูลถูกเก็บไว้หลายที่ ทั้งพับบลิคคลาวด์ หรือที่ใดก็ได้ แต่ต้องทำให้บริการสร้างได้เร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องกระจายเรื่องความปลอดภัย จากที่กระจุกแต่ในบางส่วนขององค์กร ก็จะต้องกระจายให้ครอบคลุมทั่วทุกส่วนขององค์กร

- ด้านที่ 2 องค์กรควรปรับตัวคือเรื่องไอที โดยเฉพาะการทำบิ๊กดาต้า เนื่องจากเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญของปีหน้าคือ "อินเทอร์เน็ตแห่งพฤติกรรม" ทำให้ธุรกิจต้องเก็บข้อมูลให้มากที่สุดทั้งในส่วนของระบบ CRM และช่องทางโซเชียล และต้องให้สอดคล้องกับกฏหมาย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้างโซลูชันที่ตอบทุกฝ่าย

- ด้านที่ 3 ทุกองค์กรควรมองไปที่ระบบ AI โดยองค์กรควรลงมือหรือมองแนวทางทำออโตเมชัน รวมถึงเตรียมความพร้อมในส่วนวิศวกร เพื่อปรับให้บริการองค์กรสามารถปรับหรือเพิ่มระบบ AI ให้ฝังอยู่ในบริการ

- ด้านที่ 4 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรปรับให้มีการออกแบบแอปพลิเคชั่นหรือบริการให้ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ตอบสนองความต้องการได้ตลอด

กระนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องทำคู่ขนานไปกับการปรับตัว 4 ด้านนี้ คือการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากความท้าทายหลักของการปรับตัวไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่คนในองค์กร โควิด 19 ที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้คนปรับตัวได้มาก และยิ่งเร่งให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหรือดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันเกิดได้เร็วขึ้น อีกจุดที่ชัดเจนคือโมบายเพย์เมนต์ซึ่งคนไทยคุ้นเคย โควิด 19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม คนไทยปรับตัวได้เร็วเพราะถูกบังคับ จึงถือเป็นโอกาสดีที่องค์กรต้องปรับวัฒนธรรม ซึ่งหากวิธีคิดเปลี่ยนแปลงแล้ว ก็จะต้องนำมาใช้ต่อให้เป็นประโยชน์ ต้องผสมและนำเอาหลักคิดใหม่เข้ามาใช้ให้การทำงานเกิดขึ้นได้มีประสิทธิภาพ

 

ความต้องการตำแหน่งงานด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้น

รศ.ดร.ธนชาติ ระบุอีกว่า จากข้อมูลของ World Economic Forum (WEF) ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง The Future of Jobs 2020 ผลการสำรวจมีข้อมูลที่น่าสนใจอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะด้านทักษะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเกิดวิกฤติโควิด ซึ่งทาง WEF ระบุว่า การล็อกดาวน์และเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอย่างมาก และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Double Disruption” ทำให้ความต้องการตำแหน่งงานใหม่ๆ มีมากขึ้น WEF ได้ระบุตำแหน่งที่จะมีความต้องการอย่างมากในหลายด้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องมีทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Data Analysis and Scientist, AI and Machine Learning Specialists, Big Data Specialists นอกจากนี้ยังมีงานใหม่ๆ อีกหลายด้าน ดังเช่น Customer Success Specialist, Digital Marketing and Strategy Specialist หรือ Digital Transformation Specialists

แม้ว่าคาดการณ์ตัวเลขการจ้างงานที่จะลดลงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีปี 2025 จะลดลงไป 85 ล้านตำแหน่ง แต่ก็จะมีตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้นถึง 97 ล้านตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ยังให้ความสำคัญกับการหาบุคลากรในการทำงานอยู่ แต่ต้องการคนที่มีความสามารถและปรับทักษะตามการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

จากการสำรวจพบว่า ครึ่งหนึ่งของพนักงานที่มีอยู่จำเป็นต้องการปรับทักษะใหม่ (Re-skill)  และคนที่ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม 40% ต้องเพิ่มทักษะ (Up-skill) การทำงานของตัวเอง เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของการทำงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีทักษะทั้งทางด้านการใช้เทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูล องค์ความรู้ด้านเอไอ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รวมถึงทักษะความเป็นผู้นำ

ด้วยเหตุนี้ ความท้าทายที่สำคัญที่สุดของการปรับตัวของภาคธุรกิจ และแรงงานเพื่อรับมือเทรนด์ปี 2564 ยังคงอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร วิสัยทัศน์ที่ควรมี คือการมองว่าเทคโนโลยีจะเป็นตัวหลักของธุรกิจ โดยต้องเอามาเป็นตัวขับเคลื่อน ใช้เป็นกลยุทธ์นำหน้าและมาก่อนเป็นอันดับต้น เพื่อเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงานให้ยืดหยุ่นว่าเดิม



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


วิศวกรไทย 2021 กับการปรับตัวในโลกยุควิถีใหม่

การพิสูจน์ตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
141 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
255 | 29/04/2024
4 เทรนด์ดิจิทัลที่ธุรกิจต้องเรียนรู้และปรับตัวในปี 2564