‘โดรน’ ปฏิวัติเศรษฐกิจสมัยใหม่

SME in Focus
03/11/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6476 คน
‘โดรน’ ปฏิวัติเศรษฐกิจสมัยใหม่
banner

“เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle-UAV) หรือ โดรน (Drone)” ถือเป็นคลื่นลูกใหม่ที่กำลังมาแรงมากในขณะนี้ ด้วยประโยชน์ใช้สอยที่เพิ่มขึ้น ระดับราคาที่สัมผัสได้ ทำให้เทคโนโลยีโดรนถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสื่อสาร ด้านการเกษตร ด้านการสำรวจ เป็นต้น

ปัจจุบันเทคโนโลยีโดรนได้รับการพัฒนาอย่างแพร่หลายทั้งในแถบทวีปยุโรป สหรัฐฯ ที่ผู้ผลิตยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon กระโดดลงมาเล่นเอง และในเอเชียก็มีการพัฒนามากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในจีน มี “เสินเจิ้น” ที่แถบจะเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งธุรกิจโดรนเลยก็ว่าได้ เพราะปัจจุบันมีจำนวนโดรนในจีน 75% ของจำนวนโดรน 3 ล้านเครื่อง 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


“เสินเจิ้น” เริ่มพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษครั้งแรกเมื่อปี 2523 หรือประมาณเกือบ 40 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นเมืองชั้นนำด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เช่น Airbus, Foxconn, Huawei, ZTE, Tencent, DJI เป็นต้น

สำหรับการลงทุนธุรกิจโดรนในเสินเจิ้นปัจจุบันมีจำนวนบริษัทโดรนประมาณ 2,000 บริษัท ทั้งที่เป็นบริษัทผู้ผลิต และบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์  โดยมีเจ้าตลาดอย่าง DJI และผู้ผลิตอีคอมเมิร์ช อย่าง JD Group และ บริษัท Cainiao โลจิสติกส์ ในกลุ่ม Alibaba ที่ลงมาเล่นในธุรกิจนี้ ทำให้เทคโนโลยีโดรนของเสินเจิ้นมีส่วนแบ่งทางการตลาด 70% จากมูลค่าตลาดทั่วโลก ในปี 2560 มีมูลค่าการผลิตของอุตสาหกรรม  4,443 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่ามูลค่าการผลิตจะเพิ่มเป็น 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565  

ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันในตลาดโดรนเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากจำนวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น สวนทางกับปริมาณการผลิตอาหารซึ่งไม่เพิ่มตาม จนมีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ จะเพิ่มขึ้นจาก 870 ล้านคนเป็น 2,000 ล้านคน ในปี 2593 ส่งผลให้จีนตื่นตัวพัฒนาโดรนสำหรับใช้ในงานด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโดรนเพื่อการเกษตร 16,000 ตัว ครอบคลุมพื้นที่เกษตรใช้งานแล้ว 37.5 ล้านไร่

โดยประสิทธิภาพของโดรนที่ถูกพัฒนาขึ้นในระดับโลก เช่น JD Group ได้พัฒนาโดรนขนส่งสินค้าจำนวน 40 ลำ ที่มีประสิทธิภาพสามารถบรรทุกสินค้าหนักตั้งแต่ 5-30 กิโลกรัม บินในรัศมีระยะทางกว่า 100 กิโลเมตรต่อการบิน 1 ครั้ง ช่วยให้ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมากขึ้น


โดรน มิติใหม่ด้านเศรษฐกิจของไทย

สำหรับโอกาสธุรกิจโดรนในประเทศไทย น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ระบุว่า เทคโนโลยีนี้สามารถช่วยสนับสนุนธุรกิจด้านต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสร้างสรรค์ เช่น การถ่ายรูป วิดิทัศน์ ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้า รวมถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ช ธุรกิจเกษตรซึ่งสามารถพัฒนาไปเป็นช่วยเป็นอุปกรณ์สำหรับฉีดพ่น ปุ๋ย รวมถึงยากำจัดศัตรูพืช รวมทั้งใช้ในการสำรวจเก็บข้อมูล เพื่อการพยากรณ์อากาศและสภาพดิน

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยได้วางกฎและมาตรการในการใช้โดรน เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เข้าถึงพื้นที่ส่วนบุคคลได้โดยง่าย ดังนั้น การใช้โดรนต้องขออนุญาตเจ้าของพื้นที่ก่อนใช้งาน และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น นักบินโดรนจะต้องได้รับอนุญาตเป็นผู้บังคับโดรน หรือมีใบขับขี่ ซึ่งเป็นไปตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินโดยสำนักงานการบิน พลเรือนแห่งประเทศไทย  

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินซึ่งเป็นการลงทะเบียนเครื่องโดรนและขอใช้ความถี่ที่กำหนด (ใบทะเบียนพาหนะ) ซึ่งนับตั้งแต่เปิดให้ลงทะเบียนจนถึงประมาณเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีผู้ขึ้นทะเบียนกับ กสทช. จำนวน 4,703 ลำ

นอกจากโอกาสในธุรกิจโดรนแล้ว เทคโนโลยีนี้ยังทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ เช่น ธุรกิจประกันภัย ซึ่งในการบินโดรนก็จำต้องมีการทำประกันเหมือนกับประกันภัยรถยนต์ด้วยเช่นเดียวกัน

ที่สำคัญที่ธุรกิจต้องตระหนัก คือเทคโนโลยีโดรนจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นเครื่องมือต่อภาคธุรกิจสามารถนำไปต่อยอดในเกิดการบริการหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เห็นได้ชัดมาแล้วอย่างเช่นการปฏิวัติการขนส่งโดรนใช้โดรน ที่ทั้งรวดเร็วและล้ำสมัย 


ต้องรู้! กฎหมายก่อนใช้โดรนเพื่อการเกษตร 

ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
50 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
179 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
785 | 17/04/2024
‘โดรน’ ปฏิวัติเศรษฐกิจสมัยใหม่