ทุเรียนไทยอาจเสียแชมป์ส่งออกในมาเลเซีย

SME Update
28/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 8386 คน
ทุเรียนไทยอาจเสียแชมป์ส่งออกในมาเลเซีย
banner

ปี 2562  ถือเป็นทองของ ทุเรียนไทย ที่ทางนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประเมินว่ามีราคาสูงถึง 5 เท่าของต้นทุน เนื่องจากตลาดต่างประเทศต้องการสูง โดย จีน และเวียดนาม ที่นิยมบริโภคทุเรียนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากปี 2561 ไทยส่งออกทุเรียน 518,882 ตัน เพิ่มขึ้น 3.05% จากปี 2560 ที่มีปริมาณส่งออก 503,536 ล้านบาท มูลค่า 35,333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.21% จากปีก่อนหน้านั้นที่มีมูลค่าส่งออก 24,846 ล้านบาท ถือว่าประเทศไทยครองแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนมากที่สุดในโลก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

ข้อมูลระบุว่า ปริมาณการส่งออกทุเรียนในปี 2561  จำนวน 518,882 ตัน มีสัดส่วนส่งออกไปยังจีน 41% เวียดนาม 37% ฮ่องกง 17% ของปริมารการส่งออกทั้งหมดที่เหลือไปยังประเทศต่างๆ ส่วนราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2562 จะใกล้เคียงปี 2561 คือราคาเฉลี่ยจากสวนกิโลกรัมละ 78.16 บาทเพิ่มขึ้นจากปี 2560 สัดส่วน 8.84% เมื่อคำนวนกับต้นทุนแล้วราคาทุเรียนสูงกว่าต้นทุนการผลิต 5 เท่า จากต้นทุนผลิตปี 2561 ที่ 15.10 บาท/ก.ก. ลดลงจากต้นทุนปี 2560 อัตรา 5.12% จากต้นทุนที่ 15.93 บาท/ก.ก.

สำหรับผลผลิตทุเรียนในปี 2562 คาดทั้งปีจะมี 863,732 ตัน เพิ่มขึ้น 17.18% จากปีก่อนที่มีผลผลิต 737,065 ตัน และเพิ่มขึ้น 13.54% จากผลผลิตปี 2560 ที่มี 649,171 ตัน

ก่อนหน้านี้ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการ สศก.ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2557 ผลผลิตและราคา ทุเรียนไทย เติบโตขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากไทยมีข้อได้เปรียบคู่แข่ง อาทิ ไทยสามารถส่งทุเรียนสดเข้าจีนได้ โดยเน้นส่งเป็นทุเรียนหมอนทอง ขณะที่มาเลเซียยังส่งออกได้เฉพาะทุเรียนแช่แข็งพันธุ์ มู ชาน คิง (มูซังคิง) มีราคาแพงกว่า กิโลกรัมละ 300-400 บาท

แม้ประเทศไทยจะครองแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนมากที่สุดในโลกก็ตาม แต่อย่าลืมบทเรียนจากข้าว ที่ไทยครองแชมป์ส่งออกมายาวนานกว่า 30 ปี แต่ปัจจุบันไทยกลายเป็นรองจากอินเดีย และเวียดนามไปแล้ว ดุจเดียวกับทุเรียน ที่ทุเรียนหมอนทองเรากำลังบูม

ขณะที่มาเลเซีย ซึ่งกำลังจะเป็นคู่แข่งการส่งออกทุเรียนที่สำคัญกำลังแต่งตัว เพื่อเปลี่ยนโฉมประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมันมากที่สุดในโลก หันมาให้ความสำคัญกับผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนมากขึ้น ถึงขนาดมีการโค่นสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน มาปลูกทุเรียนกันแล้ว

โดยเฉพาะราชาทุเรียนของมาเลเซีย มูซังคิง (Musang King) หรือ เหมา ซาน หวาง ที่รัฐบาลมาเลเซียประกาศตัวเป็นราชาแห่งผลไม้ หรือ King of fruit ทำให้นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าในไม่ช้านี้ รัฐบาลมาเลเซียจะเปลี่ยนยุทธศาสตร์ จากประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน สู่การเป็นประเทศผู้ผลิตผลไม้แทน เน้นที่ทุเรียน เนื่องจากราคาและรายได้มากกว่าปาล์มน้ำมันมากถึง 9 เท่าตัว

ปัจจุบันหากตีตัวเลขกลมๆ ที่ไม่ต้องคาดคะเน ไทยผลิตทุเรียนได้กว่า 7.3 แสนตันต่อปี ส่งออกทุเรียนได้มากที่สุดในโลก ขณะที่มาเลเซีย มีผลผลิตแต่ละปี กว่า 3.6 แสนตัน มีตลาดหลักคือสิงคโปร์ แต่ล่าสุดได้มีการลงนามส่งออกไปยังฮ่องกง และจีน โดยเฉพาะจีนมีการส่งออกอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นทุเรียนแช่แข็ง เนื่องจากมาเลเซียนิยมแกะทุเรียนที่สุกแล้ว

นับตั้งแต่เมื่อปี 2554 ครั้งที่อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นายราจิบ ราซัค” ไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการและถือโอกาสนี้ได้นำทุเรียนมูซังคิง ไปฝากให้นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ของจีน (สมัยนั้น)ด้วย นับจากนั้นมาถือเป็นการเปิดทางให้มาเลเซีย มีโอกาสส่งออกทุเรียนไปเข้าสู่ตลาดจีน ซึ่งปัจจุบันมาเลเซียเองก็มีพันธุ์ทุเรียนหลากหลายกว่า 200 สายพันธุ์ ที่รัฐบาลมาเลเซียกำลังให้ความสำคัญด้านการค้นคว้า วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ เพราะเชื่อว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบให้กับทุเรียนมาเลเซียได้ดีกว่าปัจจุบัน

ที่สำคัญยิ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะเพียงมาเลเซียเท่านั้น หากแต่เวียดนาม ก็กำลังเร่งขยายปริมาณการผลิต ทุเรียน เพื่อส่งไปตลาดจีนด้วยเช่นกัน  ซึ่งเวียดนามนั้นจะได้เปรียบไทยด้านการขนส่ง เพราะใช้เวลาส่งทุเรียนไปจีนเพียง 18 ชั่วโมง หากเทียบกับไทยที่ใช้เวลา 3-4 วัน

ล่าสุด นายเอกชัย ตั้งจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเด้นคิง แพลนท์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนมาเลเซีย มูซังคิง ในประเทศไทย ไปสำรวจคร่าวๆพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในเวียดนามโซนใต้บริเวณแม่โขงเด้ลต้าตั้งแต่โฮจิมินทห์ ซีติ้ ทางทาง จ.ดองนาย มีธอ เกิ่นทอ ประมาณการว่าราวๆว่ามี 4 หมื่นไร่ ที่สำคัญ


ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์หมอนทองของไทย

สอดคล้องกับข้อมูลของ ดร.วรชาติ  ดุลยเสถียร ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโซ่อุปทานด้านเกษตร CLMV (กัมพูชา- สปป.ลาว-มาเลเซีย –เมียนมา) และอุปนายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร ซึ่งคลุกคลีอยู่ในธุรกิจภาคการเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน ได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ทุกเรียนในอีก 5 ข้างหน้าว่า ปัจจุบันใครๆก็ปลูกทุเรียนเพราะราคาแพง พุ่งเป้าตลาดหลักที่ประเทศจีนที่มีประชากรจำนวนมาก และนิยมบริโภคทุเรียน ซึ่งอดีตทุเรียนเหล่านี้ล้วนแต่มาจากประเทศไทย โดยเฉพาะในฤดูกาลผลทุเรียนออกสู่ตลาด จะมีการส่งทุเรียนจากไทยไปยังประเทศจีนวันละกว่า 100 ตู้คอนเทนเนอร์ บางช่วงอาจถึง 200 ตู้คอนเทนเนอร์

ที่น่าจับตามองอีกอย่าง ดร.วรชาติ บอกว่า ยุคนี้การปลูกทุเรียนไม่เฉพาะแต่เกษตรกรไทย หากแต่ในเมียนมา ก็ปลูกทุเรียนหมอนทองของไทยเป็นจำนวนมาก ในย่านจังหวัดเหมาะลำไย และบริเวณใกล้เคียงอีก -3-4 จังหวัด เช่นเดียวกับ กัมพูชา เปลี่ยนจากพริกไทยที่กำลังประสบโรคระบาดที่จังหวัดกำปงจาม และอีกหลายจังหวัดก็ปลูกทุเรียน  และเวียดนามอีกหนึ่งประเทศที่ใช้พื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดดองนายก็ปลูกทุเรียนจำนวนมาก  ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่าทั้ง 3 ประเทศนี้ล้วนแต่ปลูก “หมอนทอง” ของไทย รวมถึงรวมบางส่วนถึงแขวนจำปาสักของ สปป.ลาว ด้วย

ทุเรียนไทย

อีก 5 ปีไทยอาจเสียตลาดทุเรียนหมอนทอง

ดร.วรชาติ ได้คาดการณืว่า อีก 5 ปีข้างหน้า สถานการณ์ทุเรียนหมอนทองของไทยน่าห่วง เพราะทุเรียนหมอนทอง อาจไม่ใช่ของไทย เพราะจะมาจากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้และส่งออกไปยังจีน ที่น่ากังวลยิ่งคือทุเรียนหมอนทองที่ปลูกถิ่นอื่น จะมีรสชาติจะเปลียนไปหรือไม่ จะทำลายเอกลักษณ์และอรรถรสของหมอนทองของไทยหรือไม่ ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะมาเลเซีย ก็หันมาปลูกทุเรียนเช่นกัน บางพื้นทีโค่นสวนยาง โค่นปาล์มน้ำมัน หันปลูกทุเรียนสายพันธุ์ของเขาเองคือมูซังคิง และเริ่มส่งไปยังฮ่องกงและจีนอย่างเป็นทางการกันแล้ว

ฉะนั้นเมื่อประเทศเพื่อนบ้านหันมาปลูกทุเรียนหมอนทองของไทย อนาคตคงไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า ทุเรียนหมอนทองที่ส่งออกไปยังตลาดโลก โดยเฉพาะจีนอาจจะไม่ใช่มาจากประเทศไทยอีกต่อไป และหากมีรสชาติที่เปลี่ยนไปจากที่ปลูกในประเทศไทยซึ่งเกษตรกรมีประสบการณ์ในการดูแลเป็นอย่างดี ทำให้รสชาติอร่อย ก็อาจทำลายอรรถรสของความ”หมอนทอง”ของไทยเพี้ยนไป และจะเปิดโอกาสให้”มูซังคิง” ของมาเลเซียที่กำลังฮิตในจีนขณะนี้แซงขึ้นมาได้

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ สศก.มองถึงอนาคตของทุเรียนไทยว่า ถึงเวลาเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ควรเน้นผลิตทุเรียน เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีมากกว่า การเน้นในเรื่องของปริมาณ เพื่อรองรับการแข่งขันของคู่ค้าในอนาคต จากปัจจุบันไทยเน้นส่งออก ทุเรียนหมอนทอง ควรเพิ่มสายพันธุ์ทุเรียนให้มีความหลากหลาย อาทิ ก้านยาว ชะนี พวงมณี เพื่อกระจายความเสี่ยง ยกระดับการขายเป็นขายทุเรียนพรีเมียม และเพิ่มรูปแบบการแปรรูปทุเรียนเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ทุเรียนอบกรอบ ทำทุเรียน freeze dried เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่ชอบกลิ่นทุเรียน และเน้นตลาดในประเทศมากขึ้นนั่นเอง


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1049 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1388 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1666 | 25/01/2024
ทุเรียนไทยอาจเสียแชมป์ส่งออกในมาเลเซีย