ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใช้สมาร์ทโฟน
และอุปกรณ์สื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นตั้งแต่ตื่นนอนก็ต้องเริ่มกิจกรรมต่างๆผ่านมือถือ
ทั้งเช็คอีเมลล์งาน ประชุม สื่อสาร รวมถึงไปการช็อปปิ้ง
ซึ่งทุกคนต่างหันมาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ลดเวลาในการเดินทางไปช็อปปิ้งตามห้างร้านต่างๆ
ลง "อี-คอมเมิร์ซ" จึงมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างจีน
ซึ่งถือเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่
โตเร็วที่ท้าทายพ่อค้าแม่ค้าทั่วโลกไม่น้อย
ข้อมูลจาก Chinainternetwatch
ระบุว่าในปี
2017
ยอดซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่านทางออนไลน์ของคนจีนพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 67
จากปีก่อนหน้านี้ โดย 3
เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ Tmall, Kaola และ
JD.com ซึ่งในรายงานของ
World Economic Forum ก็ระบุว่าจีนเป็นประเทศที่มีการเติบโตของผู้บริโภคสูงสุดในโลกด้วย
สอดรับกับข้อมูล Alibaba ที่ระบุว่าปี
2017
ยอดจำนวนค้าทางออนไลน์พุ่งสูงกว่า 168,000
ล้านหยวน ในขณะที่ JD.com อยู่ที่
127,000 ล้านหยวน เป็นอัตราที่เติบโตกว่าปีก่อนหน้าถึงร้อยละ
50 โดยเฉพาะยอดขายในเทศกาลวันคนโสด ตรุษจีน
และวันวาเลนไทน์
ล่าสุดเมื่อวันที่ 1
เมษายน 2562 รัฐบาลจีนได้ปรับลดภาษีอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (e-Commerce Cross
Broder Tax) ลงเหลือ 9.1%
จากเมื่อต้นปี 2562 ที่เคยลดไปแล้ว 1
ครั้ง จาก 11.9%
เหลือ 11.2% เพื่อกระตุ้นการค้าข้ามพรมแดน
ผ่านเส้นทางสายไหมใหม่ "One Belt One Road"
มุ่งที่จะซื้อทั่วโลก-ขายทั่วโลก
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
30 %
คือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
ขณะที่ในมุมของผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดการค้าออนไลน์ของจีน
“นายเซน หลี่” กรรมการผู้บริหาร บริษัท Britech
(Thailand) จำกัด
ในฐานะรองประธานสมาคมการค้าเอสเอ็มอีไทย-จีน
และที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในจีน
มีมูลค่า 300,000
ล้านหยวน หรือ 1.5 ล้านล้านบาท
มีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก ตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 57%
ของจำนวนประชากรจีน และหากเทียบกับตลาดสหรัฐ ซึ่งมีผู้ใช้ถึง 80%
ของประชากร
สำหรับ SMEs
ที่สนใจเจาะตลาดอีคอมเมิร์ชจีนมีเพิ่มขึ้นเป็น 100%
แต่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จกลับมีเพียง 30%
เท่านั้น เอสเอ็มอีไทยจำเป็นต้องปรับแนวทางในการรุกตลาด โดยสิ่งแรกจะต้องเลือก "มณฑล"
ที่เป็นเป้าหมายก่อน มณฑลที่เหมาะสมกับสินค้าของเรา
ไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ หรือกว่างโจว
เพราะถึงแม้ว่าตลาดเหล่านี้จะมีกำลังซื้อสูงแต่โอกาสที่ลูกค้าจะเข้าถึงสินค้าแบรนด์จากยุโรป
หรือจะเดินทางไปซื้อสินค้าไทยด้วยตัวอย่างย่อมสามารถทำได้
ดังนั้นหลายคนเริ่มจะไดัยินภาครัฐเร่งผลักดันกลยุทธ์เจาะตลาด
เรียกว่า "ตลาดเมืองรอง"
เช่น ชานซี (Shanxi),ฉ่านซี
(Shaanxi),เหอหนาน (Henan),อานฮุย
(Anhui) และหูเป่ย์ (Hubei)
ซึ่งส่วนใหญ่จะในภูมิภาคตอนกลางของประเทศ
พื้นที่ไม่ติดทะเล ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้จะต้องใช้เวลาในการเดินทางนานกว่าจะไปเมืองใหญ่
หรือเดินทางมายังประเทศไทย จึงทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสินค้าไทยได้
ยกตัวอย่างเช่น เหอหนาน เมืองหลวงคือ เจิ้งโจว
มีประชากร 108 ล้านคน มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ
5 ของจีน ต่อเนื่องมา 5
ปีแล้ว รายได้เฉลี่ย 25,000-30,000
บาท/คน/เดือน หากจะเดินทางมายังประเทศไทย สามารถใช้ได้เพียง 2
สายการบิน คือ ไทยสมายล์ กับไชน่าเซาเทิร์น และใช้เวลาบินถึง 4-4.5
ชั่วโมง เป็นต้น
เลือกแพลตฟอร์มที่ใช่
แนวทางในการเลือก "แพลตฟอร์ม"
นั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเลือกแพลตฟอร์มสัญชาติชาติจีนที่เป็นเจ้าตลาด 2
แบรนด์ คือ JD.COM
หรือ
Alibaba ได้อยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญไปมากยิ่งกว่านั้นคือ “กลยุทธ์การทำตลาดออนไลน์”
ซึ่งมีโจทย์ว่าทำอย่างไรให้โดนใจคนจีน ประเด็นนี้ "นายหลี่"
แนะนำว่า เอสเอ็มอีต้องต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ใช่หว่านไปทั่วทั้งหมด เช่น
เจาะตลาดเครื่องสำอางค์สำหรับผู้หญิงที่อยากขาว
ไม่ใช่รวมทุกๆอย่างไว้ครีมชนิดเดียว จุดนี้สำคัญ
ซึ่งผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจกับผู้บริโภค
โดยเฉพาะชาวจีนรุ่นใหม่ที่เน้นสินค้าที่มีรูปลักษณ์ทันสมัยและหรูหรา เป็นต้น
และสุดท้ายที่ลืมไม่ได้เลย คือ
การวางงบประมาณการทำการตลาดที่เหมาะสม เช่น 3
ปีแรก ต้องให้ความสำคัญสูงสุดในด้านการตลาด เพื่อโปรโมทให้สินค้าติดตลาด หลังจากนั้นอาจจะลดงบประมาณลงมา
เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้หลังจากสินค้าติดตลาดไปแล้ว