ผลสำรวจชี้ อีคอมเมิร์ซไทยสร้างการเติบโตแบบทั่วถึง

SME Update
11/11/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3102 คน
ผลสำรวจชี้ อีคอมเมิร์ซไทยสร้างการเติบโตแบบทั่วถึง
banner

จากรายงานผลสำรวจ 'E-Commerce & SMEs Uncovering Thailand's Hidden Assets' โดย Sea (Group) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตชั้นนำใน 7 ตลาดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) เผยเทรนด์จากผลสำรวจอีคอมเมิร์ซแบบเจาะลึกครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จากผู้ขายและร้านค้ารายย่อยราว 7,000 ราย บนแพลตฟอร์มช้อปปี้

โดยเป็นการสอบถามถึงประสิทธิผลในการดำเนินงาน อัตราการเติบโตของธุรกิจ รายได้ของครัวเรือน และตำแหน่งที่ตั้งของผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) บนช้อปปี้ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อประเมินถึงผลกระทบไปจนถึงวิเคราะห์แนวโน้มที่พบหลังจากร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อยหันมาดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

โดยผลสำรวจแสดงข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น อีคอมเมิร์ซสามารถเพิ่มการเติบโตทางรายได้โดยรวมให้ผู้ขายถึง 133% โดยเฉลี่ยสำหรับผู้ขายที่มีทั้งช่องทางขายออนไลน์และออฟไลน์ และมากถึง 370% สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่ใช้มีช่องทางขายออนไลน์อย่างเต็มที่ (สัดส่วนขายออนไลน์ถึง100%) ผู้ขายถึง 82% ยังตอบว่าอีคอมเมิร์ซทำให้รายได้ของครัวเรือนโดยรวมสูงขึ้นและมอบช่องทางในการดำเนินธุรกิจที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

นอกจากนี้ อีคอมเมิร์ซ ยังช่วย 'เปิดประตู' ทำให้ผู้ขายสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยผลสำรวจพบว่า ผู้ขายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ได้รับประโยชน์จากการใช้อีคอมเมิร์ซมากที่สุด

ผลสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันสู่การเป็น 'เพื่อนคู่คิดภาคดิจิทัล' สำหรับผู้ขายอย่างเต็มรูปแบบ และเผยให้เห็นถึงบทบาทของอีคอมเมิร์ซที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงกว้าง เช่นก่อให้เกิด 'การเติบโตแบบทั่วถึง' (Inclusive Growth) เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของผู้ขาย ไปจนถึงลดข้อจำกัดด้านที่ตั้งของร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อีคอมเมิร์ซไทยยังวัยเยาว์ เทียบค้าปลีกเพียง 2 %

ภาพรวมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ถึง ปีพ.ศ. 2562 มีอัตราการเติบโตถึง 54% โดยยอดมูลค่าสินค้ารวม (Gross Merchandise Value: GMV) ของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอีก 24% ภายในปี พ.ศ. 2568 พร้อมยอดมูลค่าสินค้ารวมที่สูงถึง 18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องแล้ว ประเทศไทยยังนับว่าเป็นประเทศที่มีกลุ่มชาวดิจิทัลโดยกำเนิด หรือ 'Digital Native' มากถึง 38 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 68 ล้านคน อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนสูงถึง 71% จำนวนผู้สามารถเข้าถึงบริการทางธนาคาร (Banked Population) ที่ 78% สูงกว่ากลุ่มประเทศอาเซียน +6 ซึ่งมีเพียง 41% และมี 51% ของผู้บริโภคชาวไทยซื้อของผ่านแพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย อีกด้วย

อย่างไรก็ตามภาพรวมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย ยังเปรียบเสมือนอยู่ในช่วงเริ่มต้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีสัดส่วนของอีคอมเมิร์ซต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกทั้งหมดสูงถึง 30% ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีสัดส่วนเพียง 2% เท่านั้น

 

อีคอเมิร์ซ กระจายการเติบโตอย่างทั่วถึง

ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) ระบุว่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยความเจริญทางเศรษฐกิจสามช่องทางหลักๆ คือ การเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้ SMEs การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนนอกกรุงเทพ และการเปิดช่องทางคนที่อาจอยู่นอกตลาดแรงงาน เช่น นักเรียน แม่บ้าน ผู้สูงอายุ มีรายได้เสริม หรือกลุ่มที่เราเรียกว่าเป็น 'Hidden Entrepreneurs'

ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแบบดั้งเดิม (Traditional SMEs) คือ กลุ่มที่มีร้านค้าออฟไลน์และเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ผ่านอีคอมเมิร์ซ ซึ่งได้มีความเปลี่ยนแปลงใน 3 เรื่อง คือ  

1)  รายได้ อีคอมเมิร์ซสามารถเพิ่มการเติบโตทางกำไรให้ผู้ขายถึง 133% สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีทั้งช่องทางขายออนไลน์และออฟไลน์ คิดเป็นค่าเฉลี่ยการเติบโตต่อปีถึง 51% โดยอัตราการเติบโตทางรายได้มีหลายอัตรา เริ่มตั้งแต่ 93% สำหรับผู้ประกอบการที่มียอดขายจากช่องทางออนไลน์เพียง 20% และสูงถึง 369% สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีช่องทางขายออนไลน์เพียงอย่างเดียว

2)  ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้มากถึง 128% เพราะผู้ประกอบการรายย่อยสามารถใช้จำนวนแรงงานที่เท่าเดิมหรือน้อยลง ในการดำเนินงานผ่านอีคอมเมิร์ซ และยังสามารถเพิ่ม 'ประสิทธิภาพ' หรือ รายได้ต่อลูกจ้างให้มากขึ้นอีกด้วย เนื่องด้วยภาวะขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน อีคอมเมิร์ซจึงกลายเป็นหนึ่งเครื่องมือเศรษฐกิจสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

3)  อัตราการจ้างงาน ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า 46% ผู้ประกอบการรายย่อยบนอีคอมเมิร์ซตัดสินใจใช้กำไรที่ได้ในการจ้างงานเป็นอันดับต้นๆ อีกด้วย


รายงานระบุอีกว่า กลุ่มผู้ขายที่อยู่นอกกรุงเทพฯ อีคอมเมิร์ซสามารถช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เข้าถึงตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ได้กำจัดพื้นที่อยู่แค่ตลาดท้องถิ่นที่ผู้ประกอบการรายย่อยนั้นดำเนินการอยู่ เป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ขายในการเข้าถึงกลุ่มตลาดใหม่ (Market Discovery)

โดยผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าก่อนอีคอมเมิร์ซมีเพียง 45% ของผู้ประกอบการรายย่อยที่สามารถส่งสินค้าออกไปขายนอกต่างจังหวัดตนเอง หลังการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ เปอร์เซ็นต์ดังกล่าวเพิ่มเป็น 81% อีคอมเมิร์ซไม่เพียงลดข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ให้กับผู้ขาย แต่ยังลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและช่วยกระจายรายได้ โดยเฉพาะผู้ขายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ หลังจากเริ่มใช้อีคอมเมิร์ซผู้ประกอบการรายย่อยในภาคเหนือถึง 92% สามารถส่งสินค้าออกนอกภูมิภาคของตนเองได้ จากเดิมมีเพียง 43% เท่านั้น

บทสรุปของรายงานดังกล่าวบ่งชี้ว่าอีคอมเมิร์ซที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงกว้าง ผ่านการสร้าง 'การเติบโตแบบทั่วถึง' (Inclusive Growth) ทั้งในเชิงรายได้ การจ้างงาน ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดข้อจำกัดด้านที่ตั้งของร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อย สำหรับสามกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแบบดั้งเดิม กลุ่มผู้ขายที่อยู่นอกกรุงเทพฯ และ กลุ่ม 'Hidden Entrepreneurs'


2020 ผู้บริโภคเปลี่ยน ค้าปลีกก็ต้องปรับ 

“อีเมล” ช่องทางที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
31 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
27 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
35 | 07/12/2024
ผลสำรวจชี้ อีคอมเมิร์ซไทยสร้างการเติบโตแบบทั่วถึง