Eco-design แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ยุคใหม่

SME in Focus
03/01/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 20026 คน
Eco-design แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ยุคใหม่
banner

ในวันที่กระแสการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นเพื่อการค้าอาจไม่ตอบโจทย์ผู้คนสมัยใหม่อีกต่อไป เนื่องจากกระแสภัยพิบัติ และภาวะโลกร้อนได้ขยับเข้ามาอยู่ใกล้ตัวผู้คนมากกว่าที่คิด ทำให้หลากหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้เริ่มหันกลับมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หนึ่งในเรื่องที่กำลังมาแรงและควรเริ่มทำความรู้จักก็คือ แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์แนว Eco-design เพื่อให้การพัฒนาสิ่งแวดล้อมสามารถก้าวควบคู่ไปได้พร้อมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์แนว Eco-design

แนวคิด Eco-design มาจากคำว่า Economic & Ecological Design หรือแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการเชิงรุก เพื่อมุ่งเน้นการลดขยะของเสีย ยืดอายุการใช้งาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภายหลังตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การนำไปใช้ ไปจนถึงการทำลายหลังเสร็จสิ้นการใช้งานหรือหมดอายุ โดยควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น ดังนั้น Eco-design จึงไม่ใช่ทางแก้ แต่ยังช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาที่สาเหตุ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

จุดเริ่มต้นของแนวคิด Eco-design

ความจริงแล้ว Eco-design ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะแนวคิดนี้เคยได้ถูกหยิบมาพิจารณาครั้งแรกในการประชุม World Conversation Strategy เมื่อปี 1980 จนกระทั่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ฯลฯ กลุ่มประเทศเหล่านี้จึงมีข้อกำหนดและกฎระเบียบทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เริ่มจากการเน้นไปที่เรื่องการจัดการขยะ เช่น ระเบียบการจัดการเศษเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE), ระเบียบห้ามใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (RoHS), ระเบียบการใช้สารเคมีในผลิตภัณฑ์ต่างๆ (REACH), ระเบียบการจัดการซากยานยนต์ (ELV) ฯลฯ

ผลที่ตามมาคือ ทำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการทั้งหลายที่ทำการค้ากับประเทศเหล่านี้ จำเป็นต้องศึกษาระเบียบและปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ เพื่อไม่ให้ถูกปิดกั้นจำกัดการค้า หนึ่งในแนวทางที่ผู้ประกอบการและชาวอุตสาหกรรมทั่วโลกต่างเลือกใช้เป็นแนวทางคือ Eco-design โดยยึดหลักสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และจริยธรรม เพื่อความยั่งยืน เพิ่มจากเดิมที่มักจะคำนึงเพียงต้นทุน ความสวยงาม การใช้งาน และความปลอดภัยเท่านั้น

 

หลักการพื้นฐานในการทำ Eco-design

หลักการพื้นฐานของการทำ Eco-Design คือ การประยุกต์หลักการของ 4Rs อย่าง การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair) มาปรับใช้ในทุกช่วงวงจรของผลิตภัณฑ์ ร่วมกับกลไก Eco-Design Strategy ทั้ง 7 ด้านให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ดังนี้

1. ลดการใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Reduction of low-impact materials)

2. ลดปริมาณและชนิดของวัสดุที่ใช้ (Reduction of materials used)

3. ปรับปรุงกระบวนการผลิต (Optimization of production techniques)

4. ปรับปรุงระบบการขนส่งผลิตภัณฑ์ (Optimization of distribution system)

5. ปรับปรุงขั้นตอนการใช้ผลิตภัณฑ์ (Optimization of impact during use)

6. ปรับปรุงอายุผลิตภัณฑ์ (Optimization of initial lifetime)

7. ปรับปรุงขั้นตอนการทิ้งและทำลายผลิตภัณฑ์ (Optimization of end-of-life)

 

ตัวอย่าง Eco-design ในไทย

ในประเทศไทยได้มีกลุ่มนักดีไซน์รวมตัวเพื่อสร้างโปรเจ็กต์รักษ์โลกหัวใจสีเขียวในชื่อ ECO DESIGN THAI มาซักพักใหญ่ โดยรวมตัวกันกว่า 26 แบรนด์ มีการดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน การกำจัด ไปจนถึงการโฆษณาและการขาย เช่น นำเศษวัสดุเหลือใช้มาเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับดีไซน์ใหม่โดยที่ผู้บริโภคมองข้ามเรื่องการเป็นวัสดุเหลือใช้ไป ฯลฯ หรือ GC ที่ได้มีโครงการผลักดันผลงาน ECO-Design จากวัสดุพลาสติกของ GC รวมไปถึงการนำพลาสติกมา Upcycle เป็นผลงานใหม่ที่มีมูลค่าสูงขึ้นในโครงการ Upcycling Upstyling เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชน-ผู้ประกอบการ และเตรียมวางแผนจัดจำหน่ายต่อไป

แม้ในปัจจุบันจะยังไม่เห็นการนำแนวคิด Eco-design มาใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายเท่าไหร่นัก แต่ผู้ประกอบการและนักลงทุนทั้งหลายเริ่มมองเห็นโอกาสและคาดการณ์เบื้องต้นแล้วว่า การบริโภคจากกระแสรักษ์โลกและ Eco-design จะเติบโตในตลอดประเทศไทยสูงขึ้น โดยอิงจากตลาดสหภาพยุโรปที่มีอัตราการขยายตัวเริ่มตั้งแต่ก่อนปี 2554 จนถึงเมื่อช่วงประมาณปีที่แล้ว มีการเติบโตในตลาดสูงมากกว่า 400 เท่าเลยทีเดียว

ดังนั้น หากคิดจะเริ่มต้นทำผลิตภัณฑ์แนวรักษ์โลก อย่าลืมที่จะนำแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco-design ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือการบริการในกิจการของคุณอยู่เสมอ



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


Case Study การเปลี่ยนผ่านของตลาดบรรจุภัณฑ์

กรณีศึกษา Circular Economy ใกล้ตัวกว่าที่คิด


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

“Tann Beach Club” การเติบโตแบบก้าวกระโดดสู่แลนมาร์คภูเก็ต ด้วยกลยุทธ์อันชาญฉลาดและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

“Tann Beach Club” การเติบโตแบบก้าวกระโดดสู่แลนมาร์คภูเก็ต ด้วยกลยุทธ์อันชาญฉลาดและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

จากโครงการหมู่บ้านจัดสรรแบรนด์คนภูเก็ต สู่การเป็นบีชคลับชื่อดังของไทยที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนหาดกะรน จังหวัดภูเก็ต…
pin
1 | 31/03/2025
ตีแตกธุรกิจ “โรงแป้งพรกมล” จากระยอง  ผู้ผลิตแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ส่งออกทั่วโลก

ตีแตกธุรกิจ “โรงแป้งพรกมล” จากระยอง ผู้ผลิตแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ส่งออกทั่วโลก

“ข้าว” คือ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของไทย เป็นทั้งอาหารหลักของคนในชาติและพืชเศรษฐกิจส่งออกที่ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด ในปัจจุบัน…
pin
3 | 28/03/2025
“พรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์” 30 ปีแห่งการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้หลัก “รู้จักตัด รู้จักเลือก”

“พรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์” 30 ปีแห่งการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้หลัก “รู้จักตัด รู้จักเลือก”

ในโลกของธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องจักร และระบบอุตสาหกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง “บริษัท พรีเมี่ยม…
pin
9 | 21/03/2025
Eco-design แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ยุคใหม่