EEC ดัน SMEs 4.0 ด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

SME in Focus
14/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4557 คน
EEC ดัน SMEs 4.0 ด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
banner

หุ่นยนต์ไม่ใช่เทคโนโลยีที่คนธรรมดาทั่วไปจะเข้าไม่ถึงอีกแล้ว หลังจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความก้าวหน้าขึ้น ในยุค 2020 ได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ร่วมกับสมองกล AI ทำให้หุ่นยนต์มีความสามารถคิดอ่าน วิเคราะห์ โต้ตอบ หลีกเลี่ยง และแสดงพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ได้

ดังนั้นหุ่นยนต์ในยุคนี้และต่อไปจึงอาจจะมีวิวัฒนาการไปเหมือนหุ่นยนต์ตัวละครในหนังไซไฟ (Sci-Fi) ที่หลายคนชื่นชอบ และไม่ได้เป็นแค่เครื่องจักรกลที่ทำงานแทนมนุษย์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แม้ว่าวัตถุประสงค์ในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมานั้นก็เพื่อใช้เป็นเครื่องทุนแรงของมนุษย์ก็ตาม

แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่มีการใส่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าไป ยิ่งทำให้หุ่นยนต์นั้นสามารถทำงานได้เหมือนมนุษย์หรือมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน จนสามารถทำให้มนุษย์ตกงานจากตำแหน่งที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์อันยุ่งยากซับซ้อนแบบต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทางได้เลยทีเดียว ด้วยการนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์แบบ AI มาร่วมกับเทคโนโลยีที่ผสมผสานกันระหว่าง IoT, Big Data, OS, Edge Computing, ชิปประมวลผลต่างๆ และเครือข่าย 5G เข้าด้วยกัน จนออกมาเป็นบริการและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบหุ่นยนต์ Robotics ที่หลากหลายให้ระดับอุตสาหกรรม  และประชาชนคนทั่วไปจับต้องได้ ภายใต้ปัญญาประดิษฐ์ AI 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


Artificial Intelligence หรือ AI กับบทบาทสำคัญในชีวิตผู้คน

AI (Artificial Intelligence) คือตัวช่วยเพิ่มทักษะด้านการสื่อสาร ด้านความสามารถในการแสดงอารมณ์ให้แก่ Bot ที่จะพบเห็นกันได้จากแชทบอทบนแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งจัดเป็น AI รูปแบบหนึ่ง ที่ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวันของผู้คน เช่น หุ่นยนต์ที่ทำตามคำสั่งต่างๆ ของคน และ Conversation Agent หรือแชทบอทที่พบเห็นได้ทั่วไปแพร่หลายจนกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว โดยโปรแกรม AI ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ โดยการประมวลผลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ไปจนสามารถดัดแปลงการประมวลผล ปรับแต่งประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ

ดังเช่นการใช้งาน Siri ที่คุ้นชิน ดังนั้น AI จึงทำงานที่มีรูปแบบการทำงานชัดแจนแทนมนุษย์ได้ดี ตั้งแต่การขับรถ การทำงานบัญชี คิดวิเคราะห์การเงิน การลงทุน ซึ่งในวงการเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่มีการนำ AI มาใช้อย่างแพร่หลาย ในการประเมินสถานการณ์กู้ยืม การลงทุนธุรกิจ รวมไปถึงการตรวจสอบสิทธิ์ผู้มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์การช่วยเหลือรับเงิน 5,000 บาทติดต่อกัน เดือนในโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ของรัฐบาลไทย ที่กำลังดำเนินการอยู่ ก็ใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยตรวจสอบฐานข้อมูลของผู้ลงทะเบียนด้วย นี่จึงเป็นบทบาทหลักสำคัญของ AI ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเรื่องใกล้ตัว

 

ดันไทยไป 4.0 ด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ AI อาจใช้งานได้หลากหลายก็จริง แต่การนำมาผนวกร่วมกับหุ่นยนต์กลายเป็นนวัตกรรมที่น่าทึ่ง เข้าถึงความซับซ้อนและรองรับการทำงานที่หลากหลายได้มากและกว้างขวางกว่า นี่จึงเป็นเหตุผลที่ประเทศไทยผลักดันให้เกิดเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd) ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนด้านอุตสาหกรรม และนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาคในพื้นที่ EEC เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

โดยวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติร่วมด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมด้วย  3 แนวทาง ในการสร้างอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ Robotic ในไทย ดังนี้

1. กระตุ้นความต้องการใช้ : โดยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการภายในประเทศ นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมูลค่า 12,000 ล้านบาทในปีแรก ผ่านมาตรการของ BOI ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ในกิจการที่นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและบริการ ขยายครอบคลุมประเภทกิจการที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมากนัก โดยสำนักงบประมาณสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อการบริการประชาชน และกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับ SMEs ไทย เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหรือบริการ ด้วยการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ผ่านกองทุนพัฒนา SMEs และกองทุนอื่นๆ

2. สนับสนุนความต้องการเสนอขายสินค้า : เน้นการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศ โดยเฉพาะ System Integrator (SI) กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ทำหน้าที่ออกแบบติดตั้งระบบอัตโนมัติ โดยมีการตั้งเป้าเพิ่มจำนวน SI จาก 200 ราย เป็น 1,400 ราย ภายใน 5 ปี ซึ่ง BOI จะให้สิทธิประโยชน์กับ SI สูงสุด ขณะที่กระทรวงการคลังจะยกเว้นภาษีอากรนำเข้าชิ้นส่วน/อุปกรณ์ ที่นำมาผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางภาษี

3. พัฒนาบุคลากรและยกระดับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ : ไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ประเภทอื่นๆ ที่มีความซับซ้อน โดยจัดตั้ง Center of Robotic Excellence (CoRE) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือของ 8 หน่วยงานนำร่อง ได้แก่ สถาบันไทย-เยอรมัน, สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายจะพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบอย่างน้อย 150 ผลิตภัณฑ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชั้นสูงให้แก่ผู้ประกอบการ 200 ราย และฝึกอบรมบุคลากรไม่น้อยกว่า 25,000 คน ภายใน 5 ปี


การพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จัดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และเติบโต ที่อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานในประเทศไปบ้าง แต่การเข้ามาของนวัตกรรมหุ่นยนต์กับระบบ AI ได้ทำให้แรงงานตื่นตัว มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้เหนือกว่าหรือมีศักยภาพมากกว่าเดิม ในรูปแบบการทำงานที่หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้

แต่จะเอื้อประโยชน์ในมุมของผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ คือตัวช่วยลดต้นทุนการผลิตลงไปจนถึงช่วยแก้ปัญหาบางประการให้ดีขึ้นได้ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งมีแนวโน้มว่าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจะมีความต้องการใช้หุ่นยนต์ทั่วโลกแบบเติบโตต่อเนื่อง จากปัญหาเรื่องจำนวนประชากรวัยทำงานลดลง หุ่นยนต์มีราคาลดลงต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้น

การที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ซื้อและผู้รับเทคโนโลยีมาเป็นผู้สร้างและขายเทคโนโลยี จึงเป็นความท้าทายของทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องไปจนถึงนักลงทุน คนทำงาน และบุคคลทั่วไป ที่ไทยจะลุกขึ้นมาปรับโฉมในหน้าประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0 จากการเกิด Digital Park Thailand

การจัดตั้งสถาบันไอโอที (IoT Institute) และการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ Robotics ซึ่งเปรียบได้กับการโยนหินลงในบ่อน้ำที่ จะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมของน้ำรอบก้อนหินอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าประเทศไทยจะก้าวเดินไปสู่ยุค 4.0 ได้จริง จากเทคโนโลยี 5G ที่มีอยู่ในมือ และโควิด-19 มาช่วยทำให้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไป อันเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เร็วกว่าการคาดการณ์ไว้


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


EECd แลนด์มาร์คเมืองดิจิทัล

Smart City ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและการลงทุนในอีอีซี


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
256 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
426 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
335 | 20/03/2024
EEC ดัน SMEs 4.0 ด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์