ส่องแผนบริหารจัดการน้ำ ‘อีอีซี’

SME in Focus
09/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4361 คน
ส่องแผนบริหารจัดการน้ำ ‘อีอีซี’
banner

ปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบในช่วงฤดูแล้ง (มี.ค.-เม.ย.) เป็นปัญหาที่เรื้อรังของภาคตะวันออกมานาน แม้ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา การบริหารจัดการน้ำมีเพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน แต่ในอนาคตยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและน่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง เกี่ยวกับต้นทุนน้ำไม่เพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรม

เมื่อรัฐบาลเร่งผลักดันโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ดึงดูดกลุ่มนักลงทุนทั่วโลกย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก และแนวโน้มยังจะมีการเคลื่อนย้ายประชากรนับล้านคนเข้ามาอาศัยในพื้นที่อีอีซี ซึ่งกำลังกลายเป็นสิ่งท้าทายรัฐบาลไทยจะต้องวางแผนรับมือปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ปัจจุบันความต้องการน้ำในโครงการอีอีซี ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ประเมินว่า ปริมาณน้ำต้นทุนในอีอีซีอยู่ที่ 1,640 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อปี ซึ่งปริมาณน้ำส่วนหนึ่งผันน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ 23 แห่ง และจากโครงการผันน้ำอีก 4 โครงการ โดยในจำนวนนี้จัดสรรน้ำเพื่อการใช้ประโยชน์รวมทั้งสิ้น 1,323 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อภาคการเกษตรประมาณ 31% ที่เหลือเป็นการใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่นๆ

ส่วนการเตรียมน้ำต้นทุนรองรับการพัฒนาอีอีซีในเบื้องต้นระหว่างปี 2560-2570 ทางกรมชลประทานมีการเตรียมการรองรับไว้แล้วจำนวน 16 โครงการ ประกอบด้วยการพัฒนาอ่างเก็บน้ำและปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมที่มีอยู่ให้สามารถกักเก็บปริมาณได้มากขึ้น

ตลอดทั้งปรับปรุงและจัดทำระบบเชื่อมโยงแหล่งน้ำ และระบบผันน้ำ ดังนั้นเมื่อโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จจะทำให้การบริหารจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 671 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนรวมในอีอีซี ในปี 2570 เพิ่มขึ้นเป็น 2,311 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี หรือจัดสรรได้ 1,823 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี

เช่นเดียวกับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ก็ได้เตรียมแผนการรองรับปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคอุตสาหกรรมแบบยั่งยืนไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยมีโครงการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาเพื่อป้อนให้กับอีอีซี ที่กำลังดำเนินการอีกอย่างน้อย 5 โครงการ ซึ่งจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาได้รวมทั้งหมดอีก 432,000 ลบ.ม.ต่อวัน และปริมาณน้ำยังมีเพียงพอสำหรับความต้องการของประชากรที่เพิ่มอีกกว่า 2 ล้านคน

 

ปี 2570 “อีอีซี” ต้องการใช้น้ำ 1,493 ล้าน ลบ.ม./ปี

แม้ว่าอีอีซียังไม่แจ้งเกิดเต็ม 100 % แต่ความต้องการใช้น้ำในอยู่ที่ประมาณ 1,295 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ส่วนใหญ่มีความต้องการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 47% เกษตรชลประทานประมาณ 34% และอุปโภคบริโภคประมาณ 19%  โดยคาดว่าความต้องการใช้น้ำปริมาณภายในปี 2570 จะมีความต้องการรวมทั้งสิ้น 1,493 ล้าน ลบ.ม. และปี 2580 จะมีความต้องการปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 1,692 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี

อย่างไรก็ตามการประมาณการดังกล่าวได้คำนึงถึงปัจจัยการเพิ่มขึ้นของประชากร นักท่องเที่ยว และความต้องการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัวแบบก้าวกระโดด ขณะที่ความต้องการน้ำเพื่อการเกษตรชลประทานค่อนข้างคงที่ ซึ่งพบว่าทุกวันนี้น้ำยังมีเพียงพอต่อความต้องการใช้และยังมีเพียงพอต่อเนื่องไปจนถึงปี 2570 สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนในอนาคตเพื่อให้อีอีซีมีน้ำเพียงพอระยะยาว จำเป็นต้องเร่งดำเนินมาตรการและแนวทางบริหารจัดการน้ำแต่ละด้านแบบบูรณาการ ทั้งอุปสงค์และอุปทานครบวงจรทุกด้าน

 

เปลี่ยน“น้ำเสีย”เป็น“น้ำดี”คลายวิกฤติน้ำขาดแคลนได้

ถ้าหากพูดถึง “น้ำเสีย”จากภาคอุตสาหกรรมแล้วหลายคนมักถูกสังคมมองเป็นตัวการก่อมลพิษสิ่งแวดล้อม หรือต้นเหตุของการสร้างความเสียหายให้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่หากเปลี่ยน “น้ำเสีย” ให้เป็น “น้ำดี” ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ก็ไม่มีวันหมด อีกทั้งจะกลายเป็นแหล่งน้ำที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาในช่วงวิกฤตขาดแคลนน้ำให้กับพื้นที่อีอีซีได้เช่นกัน ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในแผนผังการบริหารจัดการน้ำของ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)ที่กำลังดำเนินงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในอนาคต


ทั้งนี้ อีอีซี เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องของงานวิจัยการพัฒนาระบบการวางแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายของ สทนช. ทั้งด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ โดยโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ เป็นโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นการหามาตรการ หรือแนวทางการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และรองรับการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอกับอุตสาหกรรมในอนาคต หลังจากอีอีซีเกิดขึ้นเต็มตัว หรือแผนกอื่นๆ ในเชิงพื้นที่ที่จะเติบโตขึ้นตามนโยบายของภาครัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หรือลดปริมาณการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมให้ได้อย่างน้อย 15%

การลดการปริมาณใช้น้ำลง 15% ในภาคอุตสาหกรรมนั้น ยังหมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำขึ้นอย่างน้อย 15% แม้ปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน 3 R (Reuse, Reduce and Recycle ที่นำเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่จะทำอย่างไรให้เป็น “ระบบจัดการน้ำอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นใหญ่ที่ สทนช. กำลังเร่งดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางหรือโมเดลที่จะลดการใช้น้ำหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และสามารถขยายผลไปยังภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ในอีอีซีต่อไป

ดังนั้นแผนผังระบบบริหารจัดการน้ำอีอีซี เป็นส่วนหนึ่งของแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน, แผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่อีอีซี เพื่อวางแนวทางการใช้พื้นที่รองรับการพัฒนาการบริการตามความต้องการใช้น้ำอย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพสูงสุด เพียงพอและได้มาตรฐานสากล

อนึ่ง "น้ำ" เป็นปัจจัยสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม และที่ผ่านมามีการแก้ไขข้อจำจัดของจังหวัดอีอีซีที่มีน้ำใช้ในภาคอุตสาหกรรมไม่เพียงพอ เป็น Pain Point เดิมๆ สู่การจัดการในรูปแบบใหม่ อาทิเช่น ธุรกิจการสนับสนุนด้านน้ำใช้ในภาคอุตสาหกรรม การจัดการน้ำเสีย เทคโนโลยีด้านการจัดการน้ำ ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถนำไปต่อยอดจากเรื่องนี้ได้



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


“ฮ่องกง” แตกไลน์แห่ลงทุน“อีอีซี” 

500 บริษัทญี่ปุ่นลุยลงทุน EEC


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
184 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
393 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1351 | 01/04/2024
ส่องแผนบริหารจัดการน้ำ ‘อีอีซี’