ภายใต้โครงการจัดตั้งเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi) ซึ่งได้มีการจัดพิธีเปิดหน้าดินก่อสร้าง
ณ วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างอย่างเป็นทางการเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
นับเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันประเทศไทยขึ้นแท่น “ศูนย์กลางนวัตกรรมชั้นนำ”
แห่งใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมสมบูรณ์
ยกระดับงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมระดับประเทศ
หนึ่งในเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่น่าสนใจ คือ นวัตกรรมเกษตร (Innovative Agriculture) และเทคโนโลยีเคมีและชีวกระบวนการ (Chemical & Bioprocess Technology) เพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ศูนย์ BIOPOLIS ต่อยอดนวัตกรรมเกษตรชีวภาพ
ทิศทางการเกษตรของประเทศไทยจะต้องมุ่งสู่การเกษตรแบบที่เน้นการเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน
การปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) สู่การเกษตรสมัยใหม่
(Smart Farming) ด้วยการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้นมากขึ้น
ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป จนถึงการตลาด
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับรายได้เกษตรกรให้สูงขึ้น
แนวทางการพัฒนานวัตกรรมเกษตรสนับสนุนการทำเกษตรสมัยใหม่
(Smart Farming) โดยจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ ระบบ
high throughput phenotyping screening ในระดับโรงเรือนและระดับภาคสนาม
เป็นระบบตรวจสอบการทำงานของพืชที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ซึ่งเป็นเงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญของการร่นระยะเวลาของการการปรับปรุงพันธุ์ ให้ได้ลักษณะดีเด่นเร็วขึ้นให้ทันกับความต้องการของตลาดและเกษตรกร
รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ ระบบ Plant factory เน้นการประยุกต์เพื่อพัฒนาต้นแบบและการสาธิตเทคโนโลยีการผลิตพืชมูลค่าสูงในระบบโรงเรือนแบบปิด
โดยศูนย์ฯ
แห่งนี้ทำหน้าที่ปรับแต่งเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูกของประเทศไทย และมีต้นทุนที่เกษตรกรเข้าถึงได้
ต้นแบบสาธิตระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบปิด ที่มีการควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในระบบเลี้ยง
ให้เหมาะสมกับการเติบโตของสัตว์น้ำแต่ละชนิด ในสภาพความหนาแน่นสูงและมีการหมุนเวียนน้ำ
ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
รวมถึงใช้ในการทดสอบอาหาร วัคซีนและผลงานวิจัยด้านสัตว์น้ำ
ในระบบเพาะเลี้ยงระดับก่อนเชิงพาณิชย์
การจัดตั้งศูนย์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ทางการเกษตรอัจฉริยะ เช่น เซนเซอร์ควบคุมการให้น้ำ
การให้ปุ๋ย
อุปกรณ์ตรวจเช็คสภาพแปลงอย่างแม่นยำเพื่อเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและลดต้นทุนการผลิต
นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ยังทำหน้าที่ เป็นแหล่งในการบ่มเพาะสตาร์ทอัพทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่
เพื่อการสร้างและกระจายเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปสู่เกษตรกรในวงกว้าง และเป็นฐานผลักดันให้ประเทศก้าวสู่การเป็นผู้ส่งออกนวัตกรรมทางด้านการเกษตรสมัยใหม่
Plant Factory ผลิตพืชภายใต้สภาวะควบคุม
รวมทั้งภายในศูนย์ BIOPOLIS จะมีการดำเนินงานที่สนับสนุนการทำเกษตรสมัยใหม่
ได้แก่ ระบบ Plant Factory สำหรับการผลิตพืชสมุนไพร/พืชมูลค่าสูง
ที่มีระบบการเตรียมต้นพันธุ์ การปลูก การเก็บเกี่ยวที่ครบวงจรและได้มาตรฐาน อีกทั้งยังมีบริการหลักของศูนย์ฯ
ที่ให้บริการแก่ เกษตรกร สถาบันวิจัย/มหาวิทยาลัยทั้งไทยและต่างชาติ
รวมถึงกลุ่มบริษัท/Startups ที่เน้นเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ ได้แก่
(1) การให้บริการวิจัยและทดลองผลิต
(2) พื้นที่/ระบบสาธิตสำหรับเครือข่ายวิจัย
หรือ ชุมชนวิจัย (ผลิต เก็บเกี่ยว และตลาด)
(3)
ให้บริการให้คำปรึกษา/ฝึกอบรมครบวงจรและแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิค
โดยศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการกำหนดโจทย์วิจัยร่วมกัน เพื่อให้งานวิจัยในระยะต่อไปตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ได้ทันทีเมื่อแล้วเสร็จ โดยมีผู้ใช้ประโยชน์ร่วมอยู่ในเครือข่ายวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น
ทั้งนี้ กลไกการทำงานของศูนย์ฯ นวัตกรรมแห่งนี้
ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงการทำงานอย่างใกล้ชิด ระหว่างผู้พัฒนาและผู้ใช้เทคโนโลยี
การทำงานในลักษณะเครือข่ายวิจัยทั้งกับสถาบันการศึกษา
สถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเน้นการทำงานอย่างใกล้ชิดกับเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ
หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะหรือ ARIPOLIS โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาอุปกรณ์ทางการเกษตรอัจฉริยะ
(Agri-electronics) ดังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ฯ
ที่ตั้งอยู่ใน EECi และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
กล่าวกันว่า หากแล้วเสร็จ EECi จะเป็นศูนย์นวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุดในอาเซียน
ทั้งสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจสมัยใหม่ โดยเฉพาะเกษตรอัจฉริยะและเกษตรชีวภาพ
สอดคล้องกับการร่วมมือกับศูนย์ FOOD INNOPOLIS
ที่มุ่งนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาผนวกกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร
เพื่อยกระดับอาหารของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานสากลด้านการตรวจสอบย้อนกลับและเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า
เพื่อเพิ่มมูลค่าในระบบนวัตกรรมอาหารอย่างครบวงจร
และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของอุตสาหกรรมดิจิทัล
ไว้ครั้งหน้าเรามาต่อยอดกันที่ศูนย์ FOOD INNOPOLIS ในพื้นที่ EECi ภาคต่อของเกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยชีภาพสู่งานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาผนวกกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ถือเป็นภาคต่อของศูนย์ BIOPOLIS ก็ว่าได้
สตาร์ทอัพด้านเกษตร การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม
"โมเดิร์น ฟาร์ม” ทางเลือกที่จะพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน