อียูเร่ง scale-up ภาคผลิตด้วยการส่งเสริม Circular Economy

SME in Focus
07/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1858 คน
อียูเร่ง scale-up ภาคผลิตด้วยการส่งเสริม Circular Economy
banner

สหภาพยุโรป (อียู) นับเป็นกลุ่มประเทศที่มีการดำเนินการด้านนโยบายด้านการรักษาสภาพแวดล้อมที่มีแนวทางชัดเจนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมธุรกิจให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อโลก รวมทั้งการให้ความสำคัญต่อการทำธุรกิจแบบวงกลม หรือตามแนวคิดการทำธุรกิจแบบหมุนเวียน Circular Economy อย่างเข้มข้น ซึ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2563 อียูได้ออกแผนปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป (Circular Economy Action Plan (CEAP) โดยเสนอมาตรการเพื่อปรับเปลี่ยนสินค้าในตลาดอียูให้เป็นสินค้าเพื่อความยั่งยืน และเพิ่มอัตราการใช้วัสดุหมุนเวียนของอียูมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียว

และขณะนี้อียูอยู่ระหว่างจัดทำกฎหมาย 3 เรื่อง ได้แก่

1) การกำหนดมาตรฐานสินค้าเพื่อความยั่งยืน

2) การปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้นในการตัดสินใจเลือกใช้สินค้ายั่งยืน

3) การกำหนดมาตรฐานของฉลากสีเขียว เพื่อป้องกันฉลากสีเขียวปลอม

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ทั้งนี้ สถาบัน European Policy Center (EPC) ได้จัดประชุมออนไลน์หัวข้อ “Innovative solutions for a circular economy” โดยเชิญวิทยากรด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อการเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน รวมถึงอุปสรรคในการขยายงานวิจัยสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม (scale-up) และสำรวจเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนของอียู โดยมีการแสดงความคิดเห็นดังนี้

นาย William Neale ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและการพัฒนาสีเขียว คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม เน้นย้ำถึงบทบาทของวัตถุดิบ (raw materials) ในเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน ซึ่งทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันในการมุ่งพัฒนาให้ทรัพยากรคงอยู่ และ/หรือนำกลับมาใช้ในเศรษฐกิจให้ได้นานที่สุด โดยเสนอแนวทางปฏิบัติดังนี้

1. การนำข้อมูลทางเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนานโยบายที่เหมาะสม

2. การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ICT ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการหมุนเวียนสูง อาทิ การสร้าง ICT data center  

3. การใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าขยะ โดยรักษาคุณสมบัติของทรัพยากรให้คงไว้ เพื่อให้นำมารีไซเคิลได้ ทั้งนี้อียูได้เสนอให้มีการออก “Digital Product Passports” เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของผลิตภัณฑ์ ความคงทน ส่วนประกอบ การซ่อมแซม และข้อมูลสำหรับการรีไซเคิล ซึ่งในชั้นนี้คาดว่าอียูจะประกาศใช้มาตรการนี้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2564

นาง Sirpa Pietikäinen ส.ส. ยุโรป พรรค EPP กล่าวสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหมุนเวียนของยุโรป (EU Circular Economy Action Plan) โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการออกแบบสินค้าเพื่อความยังยืน อย่างเช่นการเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสม ให้สามารถซ่อมแซมและ/หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าเพื่อการจำหน่ายเพียงอย่างเดียว สู่ธุรกิจที่ให้บริการสินค้าเพิ่มเติม (servitization) อาทิ บริษัทให้บริการพาเล็ตและบริษัทให้บริการเช่ารถ เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้บริโภค “เช่า” แทนการ “ซื้อ” ลดการสร้างขยะที่ไม่จำเป็น อีกทั้งยังเสนอให้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น

นาย Sveinung Rotevatn รัฐมนตรีกระทรวงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประเทศนอร์เวย์ กล่าวว่า นอร์เวย์สนับสนุนนโยบายกรีนดีล และแผนยุทธศาตร์ด้านอุตสาหกรรมของอียูในการเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจ “ดิจิทัลและสีเขียว” ซึ่งนอร์เวย์ได้เปิดตัวเว็บ “the Explorer” หรือ เว็บจับคู่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อให้ภาคส่วนที่สนใจ สามารถทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและข้อมูลผู้ติดต่อที่เกี่ยวข้องในประเทศนอร์เวย์ได้โดยตรง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสีเขียว มุ่งลดการปล่อยคาร์บอน และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

นาย Tom Eng รองประธานอาวุโส บริษัท Tomra ได้กล่าวถึงบทบาทของบริษัท Tomra ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาขยะ โดยการแยกขยะที่มีศักยภาพมารีไซเคิล อาทิ เครื่องจักรสำหรับการเก็บและคัดแยกขยะ เครื่องรับซื้อบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล หรือเครื่อง RVM (Reverse Vending Machines) สำหรับการจัดการขยะประเภทขวดพลาสติกและกระป๋องอลูมิเนียมในเครื่องเดียวกัน และเซ็นเซอร์สำหรับใช้แยกขยะในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมรีไซเคิล และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งนำไปสู่การจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ย้ำถึงความสำคัญของการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยยกตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี Deep Learning (DL) ของ AI มาใช้ในการแยกประเภทของขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็น PET HDPE PVC หรือ PP เพื่อให้สามารถนำขยะพลาสติกแต่ละประเภทกลับมาใช้ได้อีก

นาย Nicolas Schäfstoß ที่ปรึกษาด้านนโยบายจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติและความปลอดภัยทางปรมาณู (BMU) ประเทศเยอรมนี กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของอียู และความจำเป็นในการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลเพื่อประโยชน์ของภาครัฐ โดยการส่งเสริมให้อุตสาหกรรม ICT มีความยั่งยืน อาทิ การสร้างศูนย์เก็บข้อมูลปลอดคาร์บอน ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ และการออก “Digital Product Passports” เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าสำหรับสินค้า ICT ที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นพ้องว่า มาตรการลดหย่อนด้านภาษีนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการ scale-up ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีในระยะแรกนั้นต้องใช้เงินทุนสูง อีกทั้งในบริบทของยุคโควิดที่ทำให้เห็นว่า อียูต้องการโครงสร้างทางดิจิทัลที่แข็งแรง อาทิ เครือข่ายที่ประสิทธิภาพสูง และระบบการจัดการขยะจากครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้นช่วงโควิด อาทิ บรรจุภัณฑ์อาหารที่สั่งกลับบ้าน ซึ่งเป็นความท้าทายที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้นการเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนจึงต้องการความร่วมมือจากทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน

 

แหล่งอ้างอิง : Thaieurope.net 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<<

 

อียูออกกฎหมายผลักดันรถยนต์ลดการปล่อยคาร์บอน 

ส่องรายงาน World Bank Outlook 2050


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
4 | 18/04/2025
“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิต “วัตถุดิบโลหะ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร…
pin
7 | 11/04/2025
เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

แนวคิด Zero-Waste กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญหลายธุรกิจเริ่มตระหนักว่าการลดขยะไม่ใช่แค่ช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุน…
pin
10 | 06/04/2025
อียูเร่ง scale-up ภาคผลิตด้วยการส่งเสริม Circular Economy