ปัจจัยเร่งสู่ ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ ในประเทศไทย

SME in Focus
14/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 31087 คน
ปัจจัยเร่งสู่ ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ ในประเทศไทย
banner

ยานยนต์ไฟฟ้า EV หรือ Electric Vehicle เพิ่งจะมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา และยิ่งถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ส่วนใหญ่คงเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า EV เป็นยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล จาการที่ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลายประเทศจึงเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อเกื้อหนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทำให้มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเห็นรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งตามท้องถนนในเร็ว

ซึ่งจากข้อมูลของนิสสัน อาเซียน ร่วมมือกับ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เผยถึงผลสำรวจเทรนด์ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยประจำปี 2564  พบว่ามีจำนวนร้อยละ 43 ของผู้ใช้รถยนต์ที่ไม่ใช่พลังงานไฟฟ้า จะเลือกพิจารณารถยนต์ไฟฟ้าอย่างแน่นอน หากจะต้องซื้อรถยนต์คันต่อไปในอีกสามปีข้างหน้า ผลสำรวจยังระบุอีกว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความกระตือรือร้นในการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เช่นเดียวกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงวิธีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 53 โดยวัดจากผู้ที่ร่วมตอบแบบสำรวจ นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า จำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 33 ของผู้ร่วมตอบแบบสำรวจ จะเลือกพิจารณาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ

1. ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV, Hybrid electric vehicle) เป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบลูกผสม (Hybrid) มีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไปและมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ จึงมีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่ายานยนต์ปกติ รวมทั้งยังสามารถนำพลังงานกลที่เหลือหรือไม่ใช้ประโยชน์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่  แต่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า

2. ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle) เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาต่อยอดมาจาก HEV ซึ่งมีการทำงานทั้ง 2 ระบบ (น้ำมันและไฟฟ้า) แต่เพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟขึ้นมา (plug-in) การอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอกและนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่นั้น ทำให้ PHEV สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลกว่า HEV

3. ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV, Battery Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาเลย เนื่องจากเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งมาจากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว ไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศจากยานยนต์โดยตรง

4. ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV, Fuel Cell Electric Vehicle) เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้พลังงานมาจากเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) โดยเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากภายนอก มีความจุพลังงานจำเพาะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นคำตอบที่แท้จริงของพลังงานสะอาดในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดอย่างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Station) มีน้อยมาก เหมือนที่รถ BEV มี Charging Station ที่น้อยเมื่อหลายปีก่อน ขณะที่ปัจจุบันเริ่มมีภาคเอกชนลงทุนในด้านนี้มากขึ้น

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการยานยนต์ไฟฟ้า

ทั้งนี้จากผลสำรวจระบุอีกว่า ปัจจัยอันดับต้นๆ ในประเทศไทยที่ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า คือการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้นจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นอย่างมาก ซึ่งกระแสสร้างโลกสีเขียวนี้ทำให้ร้อยละ 90 ของผู้ใช้รถตระหนักว่า ‘รถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคอาเซียน (ร้อยละ 88) เล็กน้อย

ในขณะที่ผู้ร่วมตอบแบบสำรวจคนไทยมากถึงร้อยละ 91 กล่าวว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีผลต่อการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ 3 ใน 4 ของผู้ใช้รถในประเทศไทยกล่าวว่า แหล่งพลังงานหมุนเวียนจะช่วยส่งเสริมให้มีการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้น

โดยงานวิจัยนี้ยังเผยถึงกระแสการตื่นตัวต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมที่กำลังสูงขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้นทำให้พวกเขามีส่วนช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่ต้องสงสัย ในปี 2563 ร้อยละ 39 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับงานวิจัยเดียวกันเมื่อปี 2561

อุปสรรคต่อการมุ่งสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

จากการสำรวจยังพบว่า ผู้บริโภคคนไทยคลายกังวลเกี่ยวกับอุปสรรคต่อการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าน้อยลงในช่วงปี 2561 ถึง 2563 โดยผู้ตอบแบบสอบถามกังวลเรื่องพลังไฟฟ้าจะหมดระหว่างทางก่อนไปถึงสถานีชาร์จ ซึ่งผลการสำรวจลดลงมาจากร้อยละ 58 ในปี 2561 เหลือร้อยละ 53 ในปี 2563 เช่นเดียวกับข้อสงสัยต่อเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดลงมาจากร้อยละ 48 เหลือร้อยละ 40 ในปี 2563

ผู้ใช้รถในไทยเห็นว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นปัจจัยหลักสำคัญเพียงเรื่องเดียว ที่ยังคงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2561 นั่นก็คือ “ความกังวลต่อระบบแท่นชาร์จไฟฟ้าสาธารณะที่มีอยู่อย่างจำกัด”

ในขณะเดียวกันข้อกังวลนี้กลับลดลงในทุกประเทศที่มีการสำรวจ โดยเฉลี่ยร้อยละ 9 และนอกจากนี้ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งก็คือเครื่องยนต์แบบ อี-พาวเวอร์ (e-POWER) ที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องชาร์จไฟฟ้า

อีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนผลการสำรวจนี้ คือร้อยละ 76 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยระบุว่า อุปสรรคต่อการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า คือสถานีชาร์จไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีมากขึ้นในเขตบริเวณที่พักอาศัย และความกังวลเกี่ยวกับระบบแท่นชาร์จไฟฟ้าตามแหล่งสาธารณะ (ร้อยละ 47) อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านราคาและการซ่อมบำรุงรักษา ยังเป็นอีกประเด็นที่ผู้บริโภคในประเทศไทยพิจารณา อันเนื่องจากทัศนคติที่มองว่ารถยนต์เป็นมากกว่ายานพาหนะ แต่เปรียบเป็นทรัพย์สินรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการเลือกที่จะใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอาจพิจารณาถึงความคุ้มค่าและต้นทุนในการดูแลรักษาควบคู่ไปด้วย เหตุนี้จึงมองได้ว่า หากประเทศไทยจะมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้อย่างรวดเร็ว ราคายังเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริโภค

 

แหล่งอ้างอิง : สถาบันยานยนต์  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
249 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
411 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
327 | 20/03/2024
ปัจจัยเร่งสู่ ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ ในประเทศไทย