อุตสาหกรรมอาหาร
เป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละเกือบ 1 ล้านล้านบาท แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีที่ต้องการการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจโดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับการดำเนินธุรกิจให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
เมื่อเร็วๆ
นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรม “ตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม” เพื่อเป็นการต่อยอดไอเดียสู่โมเดลธุรกิจ
และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จริงทางเทคโนโลยี งานวิจัย
และนวัตกรรมระหว่างผู้พัฒนาและผู้ประกอบการ พร้อมที่จะต่อยอดไปสู่เชิงพานิชย์
โดยมีงานวิจัย Food Factory Internet of Things Platfrom (FIoT) เกี่ยวกับการพัฒนาระบบดูแลอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องที่มีผลต่อกระบวนการผลิตอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ ขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
แต่อุตสาหกรรมอาหารยังขาดผู้ที่มีความถนัดเฉพาะด้านอิเล็กทรอนิกส์และความสามารถด้านซอฟต์แวร์
ส่งผลให้ไม่สามารถวินิจฉัยหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตได้
รวมทั้งไม่สามารถลดงานเอกสารเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice)
ปัญหาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการทำวิจัยชิ้นนี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
สำหรับตัวเซนเซอร์ที่ทีมวิจัยได้ศึกษานั้นเรียกว่าระบบ Monitoring Automatic หรือระบบการตรวจวัดแบบอัตโนมัติ ซึ่งตัวเซ็นเซอร์สามารถตรวจวัดสถานะหรือปัญหาที่มีผบกระทบต่อกระบวนการผลิตได้ทั้งหมด
9 กระขบวนการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารได้แก่
1. กระบวนการควบคุมความร้อม
2. กระบวนการควบคุมแรงดัน
3. กระบวนการทำให้แห้ง
4. กระขวนการควบคุมความชื้น
5. กระบวนการควบคุมส่วนผสม
6. กระบวนการฆ่าเชื้อ
7. กระบวนการควบคุมคุณภาพ
8.
การนับ Stock และ
9. การวัด Cycle Time โดยการตรวจวัดจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบว่าต้องการจะให้ระบบตรวจวัดในกระบวนการใดบ้าง
ขึ้นอยู่กับว่าอุตสาหกรรมนั้นๆ ผลิตหรือมีปัญหาอะไรตามความเหมาะสม
แพลตฟอร์ม FIoT ประกอบด้วย
1.
ระบบการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบ ที่ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร
เพราะโดยทั่วไประบบฐานข้อมูลของโรงงานจะใช้ระบบ Machine
to Machine(M2M) จะเป็นระบบการรายงานผลข้อมูลด้วยระบบออนไลน์
ดังนั้นตัวเซ็นเซอร์ FIot ที่นำไปติดสามารถเข้าไปทำงานร่วมกับระบบดังกล่าวได้โดยไม่ติดขัด
ช่วยลดการรบกวนการทำงานของระบบโรงงานอุตสาหกรรมลง ทำให้ข้อมูลที่ตรวจวัดมีความแม่นยำมากขึ้น
2.
การยกระดับระบบควบคุมอัจฉริยะทั้งรูปแบบไมโครคอนโทรลเลอร์ และ programmable logic controller (PLC) ซึ่งทั้ง 2
ระบบเป็นระบบควบคุมเครื่องจักรของไลน์การผลิตในโรงงาน
โดยการติดตั้งเซ็นเซอร์จะไม่เข้าไปรบกวนการทำงานและยังสามารถตรวจวัดข้อบกพร่องต่างๆ
รวมกับระบบควบคุมเครื่องจักรโดยไม่ทำให้ไลน์การผลิตเสียหาย
3.
การติดตั้งที่ง่ายและรวดเร็วโดยการออกแบบลวงหน้าด้วยระบบ building information modeling โดยทั่วไปแล้วก่อนติดตั้งระบบเซ็นเซอร์จะต้องมีการออกแบบจุดที่จะติดเซ็นเซอร์ก่อนทุกครั้ง
แต่ระบบ FIot จะออกแบบโดยการขอแปลนโรงงานและนำมาออกแบบว่าจะติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรงจุดใด
โดยจะมีวิศวกรที่ทำหน้าที่ออกแบบโมเดล วิธีการดังกล่าวจะช่วยลดระยะเวลา
ทำให้เกิดความแม่นยำในการติดตั้งแต่ละจุด
4.
รูปแบบการวิเคราะห์ด้วย online web-based ระบบการทำงานของเซ็นเซอร์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบว่าโรงงานจำเป็นจะต้องเพิ่มหรือลดขบวนการผลิตลง
เพื่อให้สอดคล้องกับขีดความสามารถของโรงงาน ณ ขณะนั้น
รวมทั้งระบบยังช่วยวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรว่ามีความคงที่หรือไม่
ซึ่งการส่งข้อมูลจะเปรียบเสมือนการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาค่าวิกฤติต่างๆ ตามความต้องการของ ISO22000
5. การให้บริการ Cloud as a software service เป็นระบบการรองรับข้อมูลที่ได้จากวินิจฉัยผ่านตัวเซนเซอร์ทั้งหมด โดยหากเป็นธุรกิจขนาดเล็กสามารถทำได้ผ่านระบบ Google Sheet ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ด้านการแก้ไขข้อมูลสามารถดำเนินการผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ซึ่งจะลดกระบวนการตรวจสอบและเพิ่มคุณภาพง่ายต่อการนำไปใช้
การนำงานวิจัยมาปรับใช้ในธุรกิจเอสเอ็มอีถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ
เพื่อกระตุ้นให้เอสเอ็มอีเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาธุรกิจ
โดยการขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมให้มากขึ้น เพราะงานวิจัยถือว่าเป็นเครื่องมือที่จะก้าวนำคู่แข่งและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนในปัจจุบันมากขึ้น
รวมทั้งงานวิจัยยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์
และเพิ่มมูลค่าของธุรกิจ ลดความสูญเสียทั้งด้านแรงงานคน และวัตถุดิบ
อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือไลน์ธุรกิจใหม่ๆ
ให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย