‘Food Delivery’...จะสำเร็จต้องมีกลยุทธ์

SME in Focus
17/02/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5010 คน
‘Food Delivery’...จะสำเร็จต้องมีกลยุทธ์
banner
หลายคนอาจยังคงสงสัยว่าบริการเดลิเวอรี่ (Delivery) คืออะไร อาจจะบอกได้ว่าเดลิเวอรี่ก็คือ "บริการจัดส่งถึงที่" นั่นเอง ปัจจุบันธุรกิจเดลิเวอรี่เติบโตเร็วมาก โดยเฉพาะธุรกิจบริการส่งอาหาร "ฟู้ดเดลิเวอรี่" (Food Delivery) คนกรุงฯรู้จักและคุ้นเคยกับธุรกิจบริการส่งอาหารหรือ ฟู้ดเดลิเวอรี่ จริงๆจังๆน่าจะเป็นยุคที่ร้านพิซซ่าและเชนฟาสต์ฟู้ด ต่างๆเข้ามาบ้านเราใหม่ๆ แม้ร้านอาหารบางร้านจะไม่มีบริการเดลิเวอรี่เป็นของตัวเอง แต่ก็มีรถจักรยานยนต์รับจ้างละแวกใกล้เคียงบริการ ส่วนใหญ่จะให้บริการลูกค้าประจำแต่ก็ยังไม่แพร่หลายและแข่งกันดุเดือดอย่างทุกวันนี้

เทรนด์การเติบโตของธุรกิจ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ยังมีแนวโน้มการเติบโตค่อนข้างสดใส เพราะส่วนหนึ่งเข้าไปรองรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเมืองรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีทำให้ มีมูลค่าสูงถึง 7,000-8,000 ล้านบาท โตเพิ่มขึ้นถึง 7-8%  ข้อมูลจากผลสำรวจ โดยยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ระบุว่า ธุรกิจการบริการส่งถึงบ้านและซื้อกลับบ้านในประเทศไทย มูลค่าสูงถึง 26,000 ล้านบาท

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


รอไม่ได้ ช้าไม่เป็น ดัน Food Delivery โต

ทั้งนี้จะพบว่าคนเจนเนอเรชั่นวาย หรือคนมิลเลนเนียลที่มีไลฟ์สไตล์ในการเลือกรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยเมื่อรวมเข้ากับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ หรืออีกนัยหนึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคนี้คือ ‘รอไม่ได้ ช้าไม่เป็น’ ทุกคนจึงยอมซื้อความสะดวกสบาย นอกจากนี้ ยุคนี้เป็น ยุคของโทรศัพท์มือถือ เราสั่งอาหารได้ สั่งซื้อของได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงเอื้อต่อการทำตลาดมากขึ้น

ที่ผ่านมาการแข่งขันของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี เป็นไปอย่างดุเดือดและหลากสีสัน ไม่ว่าจะบริการเดลิเวอรี่ของสด ฟาสต์ฟู้ด อาหารสำเร็จรูป อาหารทะเล อาหารพื้นเมืองชื่อดัง อาหารปิ่นโต ผ่านโทรศัพท์มือถือและแอพพลิเคชั่น ซึ่งส่วนใหญ่จะพึ่งพาอาศัย “คนกลาง”หรือ Third Party ในการเดลิเวอรี่

ไลน์แมน-ฟูดแพนด้า โซ่ข้อกลาง "ฟู้ดเดลิเวอรี่"

ผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่เป็น “คนกลาง” อาทิ ฟู้ดแพนด้า ไลน์แมน แกร็บ ลาล่ามูฟ และอื่นๆ ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดในการสร้างระบบ เดลิเวอรี่ ของเชนร้านอาหาร และร้านอาหารทั่วไป และช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะ ไลน์แมนฟู้ดและฟู้ดแพนด้า จึงเป็นหัวใจสำคัญของฟู้ดเดลิเวอรี่

ในปี 2561 ไลน์แมนฟู้ด โตถึง 250%  ถือเป็นผู้นำตลาดบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ด้วยจำนวนพันธมิตรร้านอาหารทั้งสตรีทฟู้ด เชนร้านอาหารชื่อดัง และแม้กระทั่งภัตตาคารสูดหรูไว้กว่า 40,000 ร้าน ผ่านทางแอปพลิเคชั่น

ขณะที่ฟู้ดแพนด้ากลายเป็นผู้ให้บริการจัดส่งอาหารรายเดียวในไทยที่ให้บริการบนออนไลน์ครบวงจรจับมือกับร้านอาหารชั้นนำกว่า 650 ร้านใน 6 จังหวัด มียอดการสั่งอาหารทางออนไลน์สูงสุด แบ่งเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือถึง 50 % สั่งผ่านเว็บไซต์ 45 % มีเพียง 5 % เท่านั้น

“คนกลาง” จึงช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย และต้องการทานอาหารอร่อยๆถูกปาก เป็นอีกปัจจัยที่ทำไห้ฟูด เดลิเวอรี่โตอย่างก้าวกระโดด

 เคล็ดลับความสำเร็จ
การจะบริหารธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ให้เติบโตนั้นนอกจากปัจจัยข้างต้นไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป มีธุรกิจ ‘คนกลาง’ เป็นตัวเชื่อมระหว่างร้านอาหารกับผู้บริโภคแล้วยังต้องมีเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจดังนี้

1.ช่องทางการติดต่อเข้าถึงได้ง่าย : หากจะทำร้านอาหารแบบเดลิเวอรี่ ควรมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารและเข้าถึงได้ง่าย โดยใช้สื่อ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการรับจัดส่งสินค้าต่างๆ

2.เมนูอาหารต้องเจ๋ง : ทางร้านค้าไม่จำเป็นต้องจัดส่งทุกเมนู ควรเลือกเมนูที่เจ๋งจริงๆและเหมาะสมกับการจัดส่ง หรือจัดส่งแล้วยังคงคุณภาพความอร่อย สดใหม่จึงต้องเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับสินค้า  หรือแข็งแรงสำหรับการขนส่งด้วย

3.รายละเอียดและราคาต้องชัดเจน : ลูกค้าส่วนใหญ่จะให้ความสนใจกับร้านอาหารเดลิเวอรี่ที่มีการบอกรายละเอียดของเมนูอาหาร ราคาอาหารและราคาค่าบริการจัดส่งอย่างชัดเจน เพราะจะทำให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ  หากทำใบปลิวหรือลงประกาศขายในเว็บไซต์ ก็ควรใส่รายละเอียดให้ครบถ้วนและชัดเจน

4.บริการจัดส่งต้องรวดเร็ว : บริการจัดส่งอาหารไปถึงมือลูกค้า จะต้องมีความรวดเร็วทันใจปัจจุบันทำเวลาเฉลี่ยตั้งแต่สั่งอาหารจนอาหารถึงมือลูกค้าประมาณ 40 นาที และรูปแบบการคิดค่าบริการที่คิดค่าอาหารตามจริง บวกค่าส่ง ทำให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบค่าบริการได้อย่างสะดวก

5.ต้องโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย : ต้องมีจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายเช่น โปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เป็นการกระตุ้นยอดขาย เพราะไม่ว่าบริการจัดส่งจะดีแค่ไหนหากลูกค้ามีความสนใจในอาหารน้อยจึงต้องอาศัยการส่งเสริมการขายเข้าช่วย เพื่อเรียกลูกค้านั่นเอง

ภาษานักการตลาดกล่าวได้ว่า ริจะทำธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ต้องมี 4C ประกอบด้วย Convenience คือลูกค้าต้องสะดวกที่สุด เช่น พัฒนาระบบการสั่งซื้อผ่านแอพพลิเคชั่น ทำร้านอาหารแบบไดร์ฟทรู Connection ต้องมีคอนเนกชั่นที่ดีกับร้านอาหารหลากหลายประเภท รถรับจ้างขนส่งและอื่นๆ Communication สื่อสารให้ถึงตัวผู้บริโภค ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ Competitive differentiation สร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน ทั้งหมด 4 C จะทำให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จและเติบโตต่อไปได้


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
165 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
345 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
273 | 20/03/2024
‘Food Delivery’...จะสำเร็จต้องมีกลยุทธ์