FOOD INNOPOLIS จิ๊กซอว์สู่มหาอำนาจด้านอาหารของโลก

SME Update
09/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4332 คน
FOOD INNOPOLIS จิ๊กซอว์สู่มหาอำนาจด้านอาหารของโลก
banner

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงมีการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาผนวกกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อยกระดับอาหารของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล ด้านการตรวจสอบย้อนกลับและเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าในระบบนวัตกรรมอาหารอย่างครบวงจร และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของอุตสาหกรรมให้เป็นดิจิทัล (Digital Transformation)

โครงการที่น่าสนใจด้านนี้ คือ Food Innopolis หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า Food Innopolis  คืออะไร? และมีอะไรน่าสนใจบ้าง กล่าวโดยสรุปคือ เป็นศูนย์ด้านนวัตกรรมอาหารอย่างครบวงจร ภายในพื้นที่ EECi โดยมีแผนจัดตั้งห้องปฏิบัติการในสภาวะจริง (Living Lab) บนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ IoT เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการนำเทคโนโลยี IoT มาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนากระบวนการต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานอาหาร (Food Value Chain) อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสาธิตการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชั่น IoT และการสร้างระบบ Smart Manufacturing  เพื่อให้ผู้ประกอบการไปต่อยอดงานธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอาหารได้

ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี IoT เพื่อการทวนสอบกลับในอุตสาหกรรมอาหาร 4.0 มีการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายสำคัญ 2 ส่วน คือ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 




1.สนามทดลอง (Test Bed)

สนามทดลองและสาธิตการใช้งาน IoT ในห่วงโซ่อุปทานอาหารถือเป็นสิ่งโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้มีสถานที่ทดสอบและทดลองใช้ IoT อย่างเป็นระบบและครบวงจรตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานอาหารตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงจุดการจัดวางเพื่อซื้อ-ขาย เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในแต่ละขั้นตอนแบบ Real-Time การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบต่างๆ  ได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว รวมถึงเพื่อประเมินปัญหาตลอดจนความน่าเชื่อถือของระบบ สำหรับสนามทดลองนี้ครอบคลุมทั้ง 6 ขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ได้แก่

- การพัฒนาการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming)  คือ รูปแบบการเกษตรที่นำเทคโนโลยี IoT เซ็นเซอร์ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาติดตั้งบนแปลงทดลอง เพื่อตรวจวัด ควบคุม และเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโต เช่น อุณหภูมิ แสงแดด แรงลม ปริมาณ นํ้าฝน สารอาหาร ความชื้นในอากาศ พร้อมนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการวางแผนให้พร้อมรับมือ และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดและทันท่วงที ทำให้สามารถคำนวณวันเก็บเกี่ยวผลผลิต อัตราผลตอบแทนโดยประมาณ และเฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดโรค อีกทั้งเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

- การพัฒนาการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Harvest and Packaging) คือ การใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดการใช้แรงงานคน ช่วยเก็บรักษาให้ผลผลิตยังคงสดและใหม่ ส่วนบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะผู้ผลิตสามารถบันทึกข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าลงไปช่วยในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของวัตถุดิบ ข้อมูลอายุการใช้งาน และการเก็บรักษา  สารประกอบที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ วันหมดอายุ หรือข้อมูลอัพเดทอื่น ๆ ที่สำคัญ

รวมถึงยังสามารถติดตามตรวจสอบสินค้าระหว่างการขนส่งไปจนถึงมือผู้บริโภค นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์และฉลากอัจฉริยะกลายเป็นเครื่องมือป้องกันการปลอมแปลงสินค้า ปัญหาการปนเปื้อนสินค้า การขโมยสินค้า ทั้งยังเป็นตัวช่วยยืดอายุสินค้า ให้กับธุรกิจอาหาร และบรรจุภัณฑ์

- การพัฒนาด้านหุ่นยนต์เพื่อการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะสำหรับผลไม้ (Fruit Harvesting Robot and Smart Packaging) หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับการทดแทนแรงงาน ซึ่งสามารถช่วยในการควบคุมงบประมาณได้เป็นอย่างดี เพิ่มความแม่นยำของการทำงาน การเก็บเกี่ยวผลไม้โดยใช้หุ่นยนต์จะสามารถแยกผลไม้สุกและดิบ จากนั้นจึงคัดแยกผลไม้ตามคุณภาพและระดับความสุกบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ดังนั้นการพัฒนาด้านหุ่นยนต์เพื่อการเก็บเกี่ยวผลไม้จึงช่วยทำงานทดแทนแรงงานมนุษย์ และส่งผ่านข้อมูลสำหรับตรวจสอบได้อย่างดีทีเดียว

- การพัฒนาโรงงานต้นแบบอัตโนมัติ (Automatic Pilot Plant) รวบรวมและส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตของการเลี้ยงกุ้ง/ปลา โคนม และ ผลไม้ โดยการควบคุมคุณภาพแบบระบบอัตโนมัติเพื่อประมวลข้อมูลที่ได้ การสร้างระบบที่มีเซนเซอร์ตรวจจับอย่างใกล้ชิดและละเอียดในทุกขั้นตอนการผลิตอาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครื่องจักรต่างๆ และบริหารจัดการการผลิตแบบ Real-time มีระบบเฝ้าติดตามสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ จากระยะไกลในโรงงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและปฏิบัติการ ช่วยให้การผลิตมีความแม่นยำ ลดการสูญเสีย และการบริหารการผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การใช้ข้อมูลการผลิตมาพัฒนาสินค้าใหม่ หรือสร้างสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น

- การพัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Logistic) สามารถทำให้วางแผนปฏิบัติและควบคุมการไหลและการจัดเก็บของสินค้าบริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรวดเร็วในการขนส่งอย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา การติดตามวัตถุดิบได้ Real-time ส่งผลให้บริหารจัดการคลังสินค้าลดระดับสินค้าคงคลัง เพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์จากปริมาตรในคลังสินค้า ลดค่าแรงงานในการบริหารโลจิสติกส์ ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการให้บริการแก่ลูกค้า เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะได้เชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ฯ ที่ตั้งอยู่ใน EECi ในส่วนกับเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างยานยนต์กับสิ่งอื่น (Connected Vehicle Technology) การสื่อสารสิ่งของจากในรถบรรทุกเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เพื่อพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยียานยนต์ยุคหน้าที่ไร้คนขับเข้ากับระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะนี้

- การพัฒนาต้นแบบคลังสินค้าและร้านขายปลีกอัจฉริยะ (Smart Warehouse and Retail) คลังสินค้าอัจฉริยะช่วยให้สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้ามีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยจัดเก็บสินค้าคงคลังให้น้อยลง และให้มีอัตราการหมุนเวียนสินค้าสูง ช่วยลดมีความสลับซับซ้อนยุ่งยากและมีโอกาสที่จะผิดพลาดได้สูงจากการบริหารจัดการคลังสินค้าแบบเดิมๆ ช่วยเพิ่มความเชื่อถือด้านความปลอดภัยในบุคลากรและสินทรัพย์ นำมาซึ่งความตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

ร้านขายปลีกอัจฉริยะเป็นร้านค้าปลีกที่ช่วยทดลองขายสินค้าที่ได้ โดยมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารจัดการ stock สินค้า การชำระเงิน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคโดยทำการปรับเปลี่ยนวิธีการขายในรูปแบบใหม่ ทำให้เลือกซื้อของได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องจ่ายเงินกับพนักงาน การใช้เทคโนโลยีร้านค้าอัจฉริยะเข้ามาช่วยสามารถสร้างความพึงพอใจในการบริการได้มากยิ่งขึ้น ลูกค้าสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังกระบวนการผลิตสินค้าทุกชนิดได้ ทั้งสามารถประเมินและตัดสินใจบริหารจัดการสต็อคสินค้าให้สอดคล้องกับฤดูและเทศกาล รวมถึงประเมินยอดขายแต่ละผลิตภัณฑ์ได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งยังมีการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในพัฒนาสินค้าต่อไป

- การพัฒนาการรวมระบบและการทดสอบการใช้งาน (System Integration and Demonstration) System Integration เป็นส่วนสำคัญในเลือกอุปกรณ์หลัก ออกแบบ ติดตั้งระบบเขียนโปรแกรมและจัดขั้นตอนการทำงานของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เพื่อให้ระบบใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง รวมถึงมีการทดสอบการใช้งานแก้ไขการใช้งานได้


2.ศูนย์ควบคุมสั่งการและศูนย์ข้อมูล (Intelligent Operating Command (IOC) and Data Center)

ศูนย์ควบคุมสั่งการ ทำหน้าที่การประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) กลั่นกรอง และคัดเลือกข้อมูลที่มีความสำคัญที่เก็บรักษาไว้ในศูนย์ข้อมูล เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ testbed  โดยให้ IoT ประมวลผลข้อมูลในบริบทของตน การทำงานของศูนย์ควบคุมสั่งการจำเป็นต้องอาศัยการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงาน (Middleware) ระหว่าง application และ network อีกทั้ง ช่วยส่งข้อมูลที่ต้องการ privacy protection และสร้างความเสถียรภาพ ให้ระบบพร้อมรองรับข้อมูลตลอดเวลา

นอกจากนี้การทำงานของศูนย์ควบคุมสั่งการยังอาศัยปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) ที่พัฒนาจากเทคนิคการประมวลผลแบบ Machine Learning หรือ Deep Learning เพื่อการเรียนรู้สร้างระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ การเชื่อมต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักร ข้อมูล และมนุษย์ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำสูง ช่วยวิเคราะห์เทรนด์การซื้อขาย พฤติกรรมผู้บริโภค และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างทันที

ศูนย์ข้อมูล เป็นฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดเก็บข้อมูลทั้งหลาย ที่ได้จากเทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่งรับรู้ข้อมูลในบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น เซนเซอร์ และข้อมูลจากเทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่งมีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้อาจจะอยู่ในรูปแบบของภาพที่ได้จากดาวเทียม เมื่อต้องเผชิญหน้ากับข้อมูลจำนวนมหาศาล และมีรูปแบบที่หลายหลายที่ได้มาจาก Testbed ศูนย์ข้อมูลจึงต้องการพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล (Data Storage) ที่มากพอ มีความปลอดภัยสูง (Block chain) ระบบ Private Cloud ซึ่งช่วยบริหารจัดการข้อมูลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการคัดกรองข้อมูลที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์กับการทำงานต้องอาศัยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง High Performance Computing (HPC) สำหรับปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาช่วยทำการประมวลผล สมการทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน เพื่อให้ได้โมเดลสำหรับการบริหารจัดการหรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวดเร็ว แม่นยำขึ้น


ทั้งหมดนี้ คือโครงการที่ภาครัฐวาดหวังต่ออุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ภายใต้การเกิดขึ้นของโครงการ EECi และ Food Innopolis ที่เป็นศูนย์รวมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารที่ครบวงจร ซึ่งจะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจด้านผู้ผลิตอาหารของโลกได้อย่างมั่นคง


EECi - BIOPOLIS ‘เมืองนวัตกรรมชีวภาพ’ 

หลายๆ เหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องสนใจ EEC






Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1303 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1672 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1922 | 25/01/2024
FOOD INNOPOLIS จิ๊กซอว์สู่มหาอำนาจด้านอาหารของโลก