ส่องเทรนด์อาหารและพฤติกรรมของผู้บริโภคปี 2021

SME Update
22/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 11428 คน
ส่องเทรนด์อาหารและพฤติกรรมของผู้บริโภคปี 2021
banner

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาความเปลี่ยนแปลงในทุกอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ “อุตสาหกรรมอาหาร” ที่ต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อรับกระแสการบริโภคของผู้บริโภคในวิถีใหม่ หรือ new normal ซึ่งจะมุ่งเน้นการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น

 

ทั้งยังมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from Home ซึ่งนั่นจะทำให้ผู้บริโภคสามารถปรับมาใช้เวลาในการปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น นำมาสู่การให้ความสำคัญกับเลือกสรรตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงการปรุงอาหาร เพื่อสุขอนามัย

 

ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารจึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจผู้บริโภคยุคใหม่ในปี 2021 เพื่อจะผลิตสินค้าอาหารตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

 

ข้อมูลจากห้าง whole Food ซึ่งเป็นเชนซุปเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียมที่จำหน่ายสินค้าออร์กานิคในสหรัฐ และสหภาพยุโรป โดยผ่านสาขากว่า 500 สาขาของห้าง เมื่อเร็วๆ นี้ โดยผ่านการรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ระบุว่า จากการเก็บข้อมูลของฝ่ายจัดซื้อสินค้าที่มาจากท้องถิ่นและต่างประเทศ รวมถึงทีมงานด้านอาหารของบริษัทกว่า 50 ราย ชี้ชัดว่าเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มในปี 2021 มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปอย่างมากหากเทียบกับยุคก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโควิด

 

พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคยุค 2021 จะเน้นการปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น โดยจะจับจ่ายเลือกซื้อสินค้าเพื่อการดูแลสุขภาพมากขึ้น และรับประทานอาหารมื้อเช้ามากขึ้น

 

สำหรับประเภทสินค้าที่มีแนวโน้มเติบโตดี ยังเป็นกลุ่มอาหารที่เรียกว่า “ซุปเปอร์ฟู้ด” ซึ่งเป็นสินค้าอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการสูงมีความสำคัญต่อร่างกาย เต็มไปด้วยคุณค่าวิตามินต่างๆ อาทิ กลุ่มฟังก์ชั่นนอลฟู้ด โปรไบโอติกส์ ยังสามารถขายตัวเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การผลิตอาหารกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาแปรรูปให้สามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น เก็บได้ระยะยาวและคงคุณค่าสารอาหารเอาไว้ได้

 

ทั้งนี้ข้อมูลพบว่า ความหลากหลายของเมนูเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่มาก ผู้บริโภคจะเน้นบริโภคอาหารเช้าที่ปรุงเอง แต่จะใส่ใจในรายละเอียดด้วยการเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ลงไป ทำให้เกิดเมนูใหม่ๆ ซึ่งนั่นจะทำให้อาหารทางเลือกต่อสุขภาพมีโอกาสเติบโตขึ้น

 

โดยเฉพาะกลุ่ม “โปรตีนจากพืช” ซึ่งเริ่มมีตัวอย่างให้เห็นหลายชนิดเช่น โปรตีนจากถั่วลูกไก่ (chickpea) ซึ่งได้มีการนำไปผลิตเป็นอาหารหลากหลายรูปแบบ เช่น แป้งจากถั่วลูกไก่ ซีเรียลถั่วลูกไก่ หรือเต้าหู้ถั่วลูกไก่ เช่นที่ก่อนหน้านี้เคยมีผู้บริโภคให้ความนิยมในการใช้แป้งจากดอกกะหล่ำ

 

นอกจากการพัฒนาอาหารทางเลือกจากวัตถุดิบใหม่ๆ อย่างโปรตีนจากพืชแล้ว การพัฒนาคิดค้นปรับเปลี่ยนรูปแบบเมนูอาหารเดิมไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น เดิมผู้บริโภคนิยมดื่มกาแฟในตอนเช้า แต่ในอนาคตกาแฟอาจจะไม่ใช่แค่เพียงเครื่องดื่ม แต่อาจจะไปคิดค้นเป็นอาหารชนิดอื่นที่มีส่วนประกอบของกาแฟ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ๆ ก็เป็นได้

 

หรือแม้แต่การพัฒนาสินค้าทางเลือกจากผลิตภัณฑ์เดิมๆ จากวัตถุดิบใหม่ เช่น น้ำมันมะกอกอาจจะถูกลดทอนความสำคัญลง เพราะมีการพัฒนาน้ำมันจากพืชอื่นที่ให้คุณค่าทางอาหารไม่แพ้กัน ทำให้ได้รับความนิยมจนกระทั่งมียอดขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น น้ำมันจากผลวอลนัท น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนานวัตกรรมอาหารตามเทรนด์เพื่อสร้างเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคจะเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ประเด็นเรื่อง “คุณค่าทางโภชนาการ” ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคยุคใหม่จะใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะคุณค่าทางโภชนาการอาหารสำหรับเด็ก การนำวัตถุดิบใหม่ๆ ที่ดีต่อเด็กมาใช้เป็นส่วนผสม เพิ่มความหลากหลายให้เมนู

 

นอกจากการให้ความสำคัญต่อคุณค่าทางโภชนาการต่างๆ ของอาหารทางเลือกใหม่แล้ว ขณะนี้ผู้บริโภคทั่วโลกยังให้ความสนใจกับการสร้างค่านิยมการรักษาสิ่งแวดล้อมและกระแสรักษ์โลก โดยมุ่งมองหาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการที่จะใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารให้คุ้มค่า เพื่อลดขยะจากอาหารให้เหลือน้อยที่สุด

 

ด้วยปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ ผู้ผลิตอาหารไทยซึ่งมีความตั้งใจจะเป็น “ครัวของโลก” จำเป็นต้องเร่งปรับตัว หันมาพัฒนานวัตกรรมอาหารอนาคต เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งไม่เพียงจะต้องมีความหลากหลาย แต่ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เชื่อได้เลยว่าหากดำเนินการสำเร็จไม่เพียงจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมอาหารของไทย แต่ยังช่วยเพิ่มรายได้จากการส่งออกออกอาหารซุปเปอร์ฟู้ด ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 6-7% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด หรือราว 29,000-30,000 ล้านบาท ให้เพิ่มขึ้นไปอีกได้




สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


‘วีแกน’ เทรนด์สินค้ากระแสแรงที่ธุรกิจต้องสนใจ

FTA ดันตลาดส่งออกอาหารแช่แข็งไทยโต


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1051 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1392 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1669 | 25/01/2024
ส่องเทรนด์อาหารและพฤติกรรมของผู้บริโภคปี 2021