6 เทรนด์ “อาหารเครื่องดื่ม” แห่งอนาคต

SME in Focus
04/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5011 คน
6 เทรนด์ “อาหารเครื่องดื่ม” แห่งอนาคต
banner

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางประชากร สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการปรับเปลี่ยนของเทคโนโลยี ทำให้ภาคธุรกิจ ผู้ผลิตสินค้า และบริการทั้งระบบ ต้องปรับตัวรองรับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป การประกอบกิจการอาหารและเครื่องดื่มก็เช่นเดียวกัน กระแสรักษ์โลก รักสุขภาพที่มาแรงต่อเนื่อง และกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า

ผู้ประกอบธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจึงจำเป็นต้องตระหนัก และให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าและบริการ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ตรงจุด สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป รายงานว่า เดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา บริษัท Mintel บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก ได้จัดทำรายงานการวิจัย “ทิศทางอาหารและเครื่องดื่มโลกในปี 2573” ซึ่งน่าจะชี้ให้เห็นถึงเทรนด์หรือแนวโน้มในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของผู้บริโภคช่วงจากนี้ไป

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


1. การบริโภคอาหารอย่างชาญฉลาด (Smart Diet)

กลุ่มผู้บริโภคมีความตื่นตัว และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าในการบริโภคมากยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของสัตว์ โดยบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง เพราะคำนึกถึงผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สารมีเทน สารแอมโมเนีย และสารไนโตรเจน หันมาบริโภคอาหารประเภทโปรตีนจากพืช ผัก ผลไม้ และถั่วเพิ่มขึ้น เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพและราคาถูก คล้ายโปรตีนเกษตรหรือเนื้อเทียม ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาวิจัยจนสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

2. การใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตลาด

World Obesity Federation คาดการณ์ว่าภายในปี 2583 ประชากรเด็กทั่วโลกที่มีภาวะโรคอ้วนจะเพิ่มขึ้นเป็น 250 ล้านคน จากปี 2562 มีเด็กที่มีภาวะโรคอ้วนอยู่ 150 ล้านคน ส่งผลให้มีการรณรงค์ให้ใช้หญ้าหวาน หรือ Stevia ทดแทนการใช้น้ำตาลที่มาจากอ้อย และบีตรูต หรือผักกาดฝรั่งหรือผักกาดแดง ซึ่งเป็นพืชผักเพื่อสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากสารสกัดจากหญ้าหวาน หรือ Stevioside ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทั่วไป 200-300 เท่า แต่มีพลังงานเป็นศูนย์ ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และผู้รักษาสุขภาพ

3. การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายหรือบริโภคได้

อาทิ เช่น แคปซูลกาแฟที่ผลิตจากแป้ง ใบต้นปาล์มที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ พลาสติกชีวภาพ ฯลฯ เนื่องจากปลอดภัยต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในส่วนของประเทศไทยนั้น กลางปี 2562 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยได้กำหนดมาตรการทางการเงินหรือการคลังในการสนับสนุนผู้ประกอบการหรือประชาชน ที่สามารถลดปริมาณการใช้พลาสติกที่จะกลายเป็นขยะตกค้างที่ย่อยสลายได้

โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของรายจ่าย ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ และได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เพื่อสนับสนุนส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

4. อาหารที่เหมาะสำหรับการบริโภคของผู้บริโภคแต่ละราย

งานวิจัยดังกล่าวชี้ว่าในอนาคตอันใกล้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จะมีการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยีปัญหาประดิษฐ์ (AI) มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ในการเลือกซื้อสินค้าสำหรับการบริโภค นอกจากนี้จะมีการพัฒนาเครื่องครัวอัจฉริยะ หรือ Smart kitchen appliances เป็นอุปกรณ์ที่สามารถให้คำแนะนำด้านโภชนาการ และอาหารแก่ผู้ใช้งาน อย่างเช่นบริษัท Nestel ในประเทศจีนใช้ลำโพงอัจฉริยะสั่งการด้วยเสียงให้ระบบ AI ค้นหาข้อมูลโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคแต่ละราย

5. การปฏิวัติภาคการเกษตร

การเกษตรในฟาร์มแบบปิด หรือ Indoor Farm ฟาร์มในแนวดิ่ง หรือ Vertical Farming และฟาร์มขนาดย่อม หรือ Local Micro Farms จะได้รับความนิยมอย่างมาก และจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชุมชน และนวัตรรมทางการเกษตรจะเพิ่มพื้นที่เพราะปลูก ในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมอาจไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร เช่น การปลูกพืชในเรื่อนกระจกในเมือง การปลูกพืชภายในอาหาร ฯลฯ

6. ส่วนประกอบอาหารสังเคราะห์

อีกเทรนด์หนึ่งที่จะมีการพัฒนาการเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต คือการพัฒนาส่วนประกอบอาหารจากการสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อย่างเช่น น้ำมันปาล์มสังเคราะห์ซึ่งผลิตจากการหมักยีสต์ในห้องปฏิบัติการ แก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าปลูกปาล์ม เป็นต้น


ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มรู้ และปรับตัวให้ทันสถานการณ์ เพราะถือเป็นโอกาสแต่ท่ามกลางความท้าทายในโลกยุคใหม่


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


เทรนด์อาหารแห่งปี 2020 ที่ธุรกิจอาหารต้องรู้ !

อียูปลดล็อก Novel Foods – การบริโภคแมลง


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
152 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
256 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
878 | 17/04/2024
6 เทรนด์ “อาหารเครื่องดื่ม” แห่งอนาคต