Ghost Kitchen ขายอาหารได้ไม่ต้องมีหน้าร้าน

SME in Focus
11/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 6693 คน
Ghost Kitchen ขายอาหารได้ไม่ต้องมีหน้าร้าน
banner

สมัยนี้ร้านอาหารอาจไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง หรือแม้กระทั่งพื้นที่ในการประกอบอาหารและอุปกรณ์ใช้สอย ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีด้วยซ้ำ เพราะด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง มีบริการ แชร์ครัว บริการที่ธุรกิจร้านอาหารยุคนี้ต่างให้ความสนใจ แถมมีบริการส่งถึงมือลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน ‘Food Delivery’ ที่ลงตัว รับเทรนด์การสั่งอาหารและเครื่องดื่มออนไลน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเมืองยุคนี้

ดังนั้นการทำธุรกิจอาหารยุคนี้ จึงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรมากนัก แต่ทราบหรือไม่ว่า เบื้องหลังของธุรกิจการให้บริการอาหารที่เปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้ และการขายอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน รวมทั้งบริการสั่งอาหารออนไลน์ ที่ส่งตรงถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ต้องเผชิญการแข่งขันอย่างไรบ้าง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


รู้จัก Ghost Kitchen ขายอาหารได้ไม่ต้องมีหน้าร้าน

ก่อนอื่นมาเริ่มต้นที่การขายแบบไม่มีหน้าร้าน ธุรกิจที่เรียกว่า Ghost Kitchenหรือ ‘Cloud Kitchen’ ที่เป็นร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน ไม่มีที่นั่งให้ลูกค้า แต่จะรับออเดอร์อาหารตามแอปพลิเคชัน โดยร้านหรือห้องครัวเหล่านี้จะอาจตั้งอยู่ในตัวเมือง ที่ใช้พื้นที่ขนาดเล็ก ข้อดีคือสามารถลดต้นทุนด้านค่าเช่าพื้นที่ได้ หรือมีต้นทุนที่ต่ำกว่าร้านอาหารที่มีหน้าร้านทั่วไป แต่มีทำเลที่สะดวกต่อการขนส่ง

Ghost Kitchen’ ในลักษณะอย่างนี้มีมากต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปได้พัฒนาจนถึงขั้นมีการใช้หุ่นยนต์ และ AI ช่วยการรับออเดอร์ และจัดเตรียมอาหาร ซึ่งสามารถลดต้นทุนในการประกอบการที่ต่ำที่สุด เพื่อแข่งขันกับธุรกิจร้านอาหารในรูแบบเดิมได้

จุดขายหลักของธุรกิจนี้ คือราคาอาหารที่(อาจจะ)ต่ำกว่าร้านอาหารทั่วไป และสะดวกรวดเร็วในการส่งมอบ เนื่องจากไม่ต้องมีหน้าร้าน และห้องครัวก็สามารถตั้งได้อยู่ที่ทุกที่ ผู้ประกอบการอาจเลือกเช่าทำเลที่ค่าเช่าไม่สูง แต่สะดวกด้านการจัดส่ง

โดยร้านอาหารประเภทนี้จะยังได้ประโยชน์การผลิตต่อขนาด (Economy of Scale) ในการผลิตสินค้าปริมาณมากๆ เหมือนๆ กัน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลง ซึ่งเดิมทีเราจะเห็นบริการรับทำข้าวกล่องในปริมาณมากๆ

ขณะที่ปัจจุบันมีบริการส่งด่วนอาหารหรือ Food Delivery ที่สะดวกและรวดเร็ว ถูกใจผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์ที่รีบเร่งในปัจจุบัน แถมประหยัดเวลา และอาจจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน  แถมยังได้รับประทานอาหารรสชาติที่ดีตรงตามต้องการอีกด้วย

 

จุดเปลี่ยนเมื่อผู้ให้บริการ Food Delivery ให้บริการแชร์ครัว

อย่างที่กล่าวถึงในข้างต้นว่า ปัจจุบันผู้ให้บริการ Food Delivery มีการลงมาแข่งขันในการให้บริการ แชร์ครัวทั้งของ Foodpanda ทีมีบริการ ครัว บาย ฟู้ดแพนด้าซึ่งตั้งอยู่ที่โครงการ The Curve อ่อนนุช ซอย 17 ถือเป็นโครงการนำร่องที่ต้องการสร้าง ครัวปรุงอาหาร ลักษณะเป็นคิทเช่น ป๊อปอัพ ให้เกิดขึ้นเพื่อบริการผู้อยู่อาศัยในย่านอ่อนนุช โดยเป็นการบริการแบบดิลิเวอรี่เท่านั้น ลูกค้าสามารถสั่งอาหารได้ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของฟู้ดแพนด้า

รวมทั้ง Grab Food ที่ปลายปีที่ผ่านมาเปิดบริการ Grab Kitchen โดยเลือกโลเคชั่น ตลาดสามย่านหวังใช้เป็นจุดกระจายอาหารครอบคลุมพื้นที่สยาม สีลม และสาทร ในรัศมี 8 กิโลเมตร พร้อมเปิดให้ลูกค้าสามารถรวมออเดอร์จาก 12 ร้านดัง ซึ่งตลาดสามย่านเป็นสถานที่ที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารอยู่แล้ว เป็น Heritage ที่มีชื่อเสียงด้านอาหารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

ในมุมของผู้บริโภคการที่มี Grab Kitchen ให้บริการอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง จะช่วยให้สั่งอาหารจากร้านได้รวดเร็วขึ้น ส่วนพาร์ทเนอร์ผู้ขับก็จะทำยอดในการจัดส่งได้มากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลารออาหารนานเพราะให้ความสำคัญกับการทำอาหารส่งอย่างเดียว

ข่าวว่า Grab ตั้งเป้าที่จะขยาย Grab Kitchen ให้ครอบคลุม 50 แห่ง ใน 5 ประเทศทั่วภูมิภาคอาเซียนภายในปีนี้ โดยปัจจุบันให้บริการแล้วในอินโดนีเซียกว่า 20 แห่ง จากที่ปัจจุบันให้บริการใน 221 เมือง 6 ประเทศ

เรียกได้ว่า เทรนด์ Ghost Kitchen นี้ได้ Disruption ธุรกิจร้านอาหารในหลายประเทศทั้งยุโรปและอเมริกา ผ่านผู้ให้บริการรายใหญ่ อาทิ บริการ Uber Eats หรือสตาร์ทอัพด้านส่งอาหารอย่าง Deliveroo ของ Amazon ที่มีการเชิญเจ้าของร้านอาหารมาร่วมพัฒนาเมนูอาหารสำหรับจัดส่งเดลิเวอรี่ และร่วมใช้พื้นที่ห้องครัวร่วมกันเพื่อความสะดวกในการจัดส่ง และลดต้นทุน

กลายเป็นว่ารูปแบบ Ghost Kitchen นี้ได้จุดประกายให้สตาร์ทอัพในท้องถิ่นต่างๆ พัฒนารูปแบบการ แชร์ครัว เพื่อส่งเสริมธุรกิจบริการจัดส่งอาหารให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ที่สำคัญทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มีสตาร์ทอัพด้าน Ghost Kitchen เพิ่มขึ้นเยอะมาก ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารเผชิญการแข่งขันจาก ครัวที่มองไม่เห็น มากขึ้น (เพราะไม่มีหน้าร้าน) ด้วยเหตุนี้เองร้านอาหารที่ไม่ปรับตัวอาจประสบปัญหาได้ และปัจจุบันเหตุการณ์ลักษณะนี้กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย และอาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารบางกลุ่มที่ขยับตัวช้า


อยากทำธุรกิจอาหารออนไลน์แบบ Ghost Kitchen ต้องใสใจอะไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางจุดเด่นก็ต้องมีจุดด้อย Ghost Kitchen ก็เช่นกัน อาทิการที่ร้านอาหารไม่มีหน้าร้านอาจจะต้องไม่แข่งขันกันในเกมราคา และความรวดเร็วของบริการจัดส่ง รวมทั้งการใช้บริการ แชร์ครัว อาจทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจในความสะอาดของอาหาร ดังนั้นมีหลายประเด็นที่ผู้ประกอบการจะทำธุรกิจลักษณะนี้ต้องใสใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจอาหารออนไลน์อย่างมีคุณภาพ

ผู้ประกอบการสามารถใช้ Search Engine ให้เป็นประโยชน์ เพราะการพึ่งพาการประชาสัมพันธ์ของแอปพลิเคชันส่งอาหารอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในสังคมปัจจุบัน ดังนั้นการทำให้ธุรกิจอาหารออนไลน์ได้รับความสนใจก็ต้องพึ่งพาการสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต การสร้างสตอรี่ของอาหารให้น่ารับประทาน มีมาตรฐานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

รวมทั้งการมีพาร์ทเนอร์ที่ดีช่วยได้ การทำธุรกิจลักษณะนี้อาจต้องประสานกับหลายส่วน ตั้งแต่แอปพิเคชันส่งอาหาร พนักงานจัดส่ง ซึ่งต้องเป็นส่วนเสริมที่ช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารออนไลน์เติบโต ดังนั้นการเลือกใช้บริการผู้ให้บริการแต่ละรายควรศึกษารายละเอียดให้รอบด้าน อาทิ ค่าบริการ ค่าส่วนต่างจากการสั่งอาหาร ค่าขนส่ง ระยะเวลาในการจัดส่ง ดังนั้นควรศึกษาให้รอบรอบ

ที่สำคัญอย่ายึดติดกับพาร์ทเนอร์รายใดรายหนึ่งมากนัก อะไรที่สามารถสร้างช่องทางการจำหน่ายได้เพิ่มเติม ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทำธุรกิจยุคนี้

ส่วนการใช้บริการ แชร์ครัว หรือการใช้ครัวกลางในพื้นที่ของผู้ให้บริการจัดส่งอาหาร แม้จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและอาจจะเป็นเทรนด์ต่อไป ที่จะสามารถดิสรัปธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย แต่จริงอยู่ว่าปรับตัวไวก็(อาจจะ)ไปได้เร็ว ในทางตรงกันข้ามบทเรียนของผู้อื่นก็สามารถนำมาเป็นข้อมูลของเราได้เช่นกัน ดังนั้นไม่รีบ ไม่เร่ง แต่ไม่ควรหยุดเรียนรู้ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


10 แฟรนไชส์อาหาร ที่ยังไปได้ดีแม้เศรษฐกิจผันผวน

6 เทรนด์ “อาหารเครื่องดื่ม” แห่งอนาคต


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
138 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
244 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
863 | 17/04/2024
Ghost Kitchen ขายอาหารได้ไม่ต้องมีหน้าร้าน