4 จุดเปลี่ยนที่ต้องปรับเพื่อครองใจผู้บริโภคกลุ่มรักษ์โลก
กระแสพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้าที่มีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Eco-friendly) ยังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยิ่งตอกย้ำให้ผู้ผลิตสินค้าหรือบริการต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการผลิต
และแผนการตลาดให้สอดคล้องกับบริบทของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากข้อมูลจากงานวิจัยการตลาดของวิทยาลัยการจัดการ
มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU ที่เน้นเจาะกลุ่มผู้บริโภคสายกรีนรักษ์โลกของไทย
4 ประเภท อันประกอบด้วย
1. สายกรีนตัวแม่ จำนวน
37.6%
2.
สายกรีนตามกระแส จำนวน 20.8%
3.
สายสะดวกกรีน จำนวน 15.7%
4.
สายโนกรีน จำนวน 26.0%
ซึ่งทำให้พบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่สายกรีนรักษ์โลกไม่ได้จำกัดที่อายุ แต่เป็น ‘พฤติกรรมใหม่’ เพราะสำรวจระบุว่า ‘กลุ่มเบบี้บูมเมอร์’ เป็นกลุ่มที่คว้าแชมป์ผู้บริโภครักษ์โลกมากที่สุด
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
งานวิจัยระบุอีกว่า จากกลุ่มผู้บริโภคจำนวน
1,252 คน พบว่าผู้บริโภคจำนวน 74% มีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และมีจำนวนผู้บริโภคถึง 37.6% เป็นกลุ่มผู้บริโภคเพื่อโลกสวยที่มองหาเฉพาะผลิตภัณฑ์อีโค่เท่านั้น
โดยในจำนวนนั้นเป็นกลุ่ม Baby boomer อายุ 55-73
ปี และ Gen X อายุ 39-54 ปี สูงสุด
โดยกลุ่มสินค้าที่มาแรงในปี 2563
ได้แก่ สินค้าที่ใช้วัตถุดิบย่อยสลายง่ายและกลับมาใช้ซ้ำ สินค้าหรือบริการที่ใช้พลังงานสะอาด
สินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้าอีโค่มีดีไซน์ตอบสนองพฤติกรรมใหม่
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เราเห็นชัดว่า
‘กระแสการรักษ์โลก’
ไม่ได้จำกัดที่คนรุ่นใหม่อย่างที่เคยเข้าใจกัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเรียกให้ถูก คือพฤติกรรมและทัศนคติใหม่ที่ไม่จำกัดอายุ
ซึ่งส่วนนี้เองที่แบรนด์อาจจะเคยเข้าใจว่าเฉพาะคนรุ่นใหม่เท่านั้นที่มีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าที่ให้ความสำคัญต่อจริยธรรม
ความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องปรับแนวคิดใหม่ แต่จริงๆ แล้วคือคนทุกกลุ่มที่มีพฤติกรรมและความตระหนักรู้ต่อความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม
แบรนด์สินค้า-บริการควรปรับตัวอย่างไร
นอกจากเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพแล้ว
แบรนด์สินค้าบริการยังต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญในการทำตลาดในกลุ่มรักษ์โลกด้วย 4 จุดเปลี่ยนสำคัญดังนั้น
- การให้ความสำคัญต่อบรรจุภัณฑ์สินค้า เนื่องจากคนยุคนี้ใส่ใจและให้ความสำคัญต่อการแยกขยะชนิดต่างๆ ในแต่ละวัน
เพื่อให้ขยะเหลือทิ้งสามารถนำไปรีไซเคิลนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป จึงทำให้ผู้ผลิตสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเริ่มใช้แก้วเป็นภาชนะ/บรรจุภัณฑ์เน้นขวดแก้วแบบใส
เพื่อให้ผู้บริโภคมองเห็นสินค้าที่อยู่ในขวดได้อย่างชัดเจน
- นำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเสริมการใช้ซ้ำ โดยพัฒนาและปรับใช้บรรจุภัณฑ์อื่นๆ ทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว
เช่น การใช้หลอดไม้ไผ่ หรือการออกแบบขวดเครื่องดื่มจากวัตถุดิบรีไซเคิล ที่มีการออกแบบที่ทันสมัยแปลกใหม่
เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการนำขวดกลับมาใช้ซ้ำ
- ซัพพลายเชนที่ยั่งยืน การเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือกที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและหลีกเลี่ยงขยะฝังกลบ
เช่น ไม้ หรือวัตถุดิบที่ผลิตจากธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาสินค้าหรือแสวงหาแนวทางใหม่ๆ
ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
การแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าใหม่ที่ตอบโจทย์ ปรับเปลี่ยนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทำการตลาดและรูปแบบการจัดส่งเพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- สร้างจิตสำนึกด้วยวัฒนธรรมองค์กร การส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีจิตสำนึกที่ดี
ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนในทุกขั้นตอนยังเป็นประเด็นที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเช่นกัน
เช่น ความยั่งยืนของกระบวนการผลิตในโรงงาน แหล่งวัตถุดิบ การประหยัดพลังงาน
การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
เพื่อส่งเสริมลดการเพิ่มขยะเหลือทิ้ง
ทั้งนี้ การปรับปรุงและพัฒนาสินค้าบรรจุภัณฑ์ให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่เพียงเกิดประโยชน์เฉพาะการตลาดในประเทศ แต่ยังเป็นการสร้างจุดแข็งและโอกาส ในการประสบความสำเร็จในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศได้
เนื่องจากกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคสินค้าที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ทั่วโลก
โดยเน้นการ Reduce, Reuse, Recycle, Repurpose และสินค้า Upcycle
หรือแม้แต่การเป็น OEM ให้กับผู้ผลิตสินค้าต่างประเทศ ที่จะแสวงหาแหล่งซัพพลายเชน
หรือแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกทดแทนในการลดใช้พลาสติก
ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสท่ามกลางกระแสของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญด้านจริยธรรม
ความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อโลก