การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลรักษาสุขภาพ
อันหมายถึงการให้บริการที่ส่งผลให้เกิดความผาสุก (Wellness) เช่น การออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
การนวด หรือประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ รวมถึงโปรแกรมการลดนํ้าหนัก การฝึกโยคะ ไทเก๊ก
และการทําสมาธิ ฯลฯ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการเชิงสุขภาพเพื่อให้นักท่องเที่ยวมีสุขภาพทั้งร่างกาย
จิตใจ แข็งแรง
นอกจากนี้ ในปี 2560 Global Wellness Tourism รายงานว่ามูลค่าตลาด Wellness Tourism ทั่วโลกนั้นมีมูลค่าประมาณ 124 ล้านล้านบาท และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลกมีได้ถึง 100,000 ล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาใช้บริการมากกว่า 9.7 ล้านครั้งต่อปี
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ทั้งนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
และมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
ภูมิภาคอาเซียนถือเป็นจุดหมายปลายทางของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
ขณะนี้ถือว่าเป็นประเทศผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน
ที่มีจุดแข็งที่สำคัญ คือมีบุคลากรและสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล
รวมถึงมีอัตราค่ารักษาพยาบาลไม่สูงมากเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้รับ
นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดและรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างดีเยี่ยม
บทความฉบับนี้จึงนำเสนอสถานการณ์ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของกลุ่มประเทศอาเซียน
4ประเทศ ประกอบด้วยประเทศไทย ประเทศกัมพูชา
ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศเวียดนาม ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง
โอกาสและอุปสรรค์ 4 ประเทศอาเซียน
ประเทศไทย มีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากมีหน่วยการแพทย์ที่มีคุณภาพ
ราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้รับการรักษา
รวมถึงประเทศไทยนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ มีจุดเด่น
ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพถือเป็นโอกาสที่ดีแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
หรือ คลัสเตอร์ ที่จะได้องค์ความรู้เพื่อนำไปปรับใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
เพื่อให้เกิดการทำธุรกิจและสร้างรายได้
ขณะที่ประเทศกัมพูชานั้น
อย่างที่ทราบกันดีว่าในช่วงนี้ ประเทศกัมพูชาได้หันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจบริการด้านสุขภาพที่เติบโตขึ้นอย่างมาก ล่าสุดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีการเติบโตถึงร้อยละ 32.4แต่ก็มีสิ่งที่ควรคำนึงเป็นอย่างมาก
คือ จรรยาบรรณแพทย์ ซึ่งมีความสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือ
รวมทั้งต้องปรับปรุงเรื่องกฎระเบียบ
พัฒนาทักษะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สร้างคุณภาพ พิจารณาเรื่องการใช้เทคโนโลยี ซึ่งประเทศกัมพูชามีเทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่บุคคลยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้
ทั้งนี้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต้องอาศัยทั้งบุคคลากรและเทคโนโลยีเข้ามาผสานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ถัดเทียมกับนานาประเทศ
ปัจจุบันสิ่งที่ประเทศกัมพูชากำลังเตรียมตัวรับมือการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ การส่งเสริมเรื่องของการทำ สปา นวดสมุนไพร ซึ่งมีการปลูกและผลิตสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาโรค และสิ่งที่ควรปรับปรุงคือเรื่องการรักษาและบริการทางการแพทย์ เนื่องจากแพทย์ส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชาไม่เคารพจรรยาบรรณ เช่น บางโรงพยาบาลอาจจะมีค่าส่วนแบ่งจากการขายให้แก่ล่ามเมื่อนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเป็นต้น
สำหรับประเทศฟิลิปปินส์
ที่เข้าร่วมโครงการฯ ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ดูแลนักท่องเที่ยวเสมือนเป็นคนในครอบครัว
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่เป็นมิตรที่สุดในโลก
แต่ในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเตรียมตัวมาประมาณ 15 ปี
แต่ยังไม่เติบโต มีความล้าหลังในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญ
ปัญหาสำหรับประเทศฟิลิปปินส์ก็ไม่ต่างจากกัมพูชามากนัก
เช่น การขาดบุคคลกรด้านการแพทย์
ต้องการการรับรองในเรื่องของการเดินทางและเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านการเข้าถึงการแพทย์มากขึ้นนั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่การปลูกฝังคนหนุ่มสาวให้สนใจเรื่องสุขภาพและการแพทย์
การปรับตัว เพื่อรองรับเทคโนโลยีด้านดิจิทัล
สุดท้ายประเทศเวียดนามภาพรวมของสุขภาพ
การท่องเที่ยว การเป็นอยู่คล้ายคลึงกับประเทศกัมพูชาในเรื่องของแพทย์ทางเลือก
การใช้สมุนไพร สปา ซึ่งเติบโตเร็วและต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการรักษาสุขภาพเป็นจำนวนมาก ตลาดในประเทศเวียดนามนั้นยังมีขนาดเล็กแต่สามารถขยายตัวได้เร็ว
ในปี 2018 สามารถขยายตัวได้ 22.8% การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจึงมีการพัฒนา
เกิดการจ้างงานถึง 70% เป็นโอกาสที่ดีให้แก่ชุมชนและชนบท
ปัญหาของประเทศเวียดนามในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก็ยังคงเป็นเรื่องงบประมาณและขาดความหลากหลาย มีผลิตภัณฑ์แต่ขาดการเชื่อมโยง และวีซ่า (VISA) เนื่องจากมีขั้นตอนทางอิเล็กทรอนิคส์ที่ยังไม่สามารถรองรับได้พอ ส่วนทรัพยากรและสถานที่ท่องเที่ยวที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้นมีเพียงต่อนักท่องเที่ยวแต่ขาดการดูแลเท่านั้นเอง
โรงแรมรับเทรนด์ คู่รักอินเดียแต่งในไทย
กรุงเทพฯ เมืองที่นักท่องเที่ยวค้างแรมมากที่สุด