เปิดรายงาน IMF–UNCTAD วิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังโควิด-19
จากรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) ที่ระบุว่า การเติบโตของเอเชียคาดว่าจะหดตัว 1.6%
ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าคาดการณ์ในช่วงเดือนเมษายน ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียในช่วงไตรมาสแรกของปี
2563 นั้นดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในรายงานเศรษฐกิจโลกในเดือนเมษายน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการรักษาเสถียรภาพของไวรัสในช่วงต้น-ประมาณการสำหรับปี
2020 ได้ถูกปรับลดลงสำหรับประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาค และมาตรการกักกันที่ยืดเยื้อในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายแห่ง
ด้านรายงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ (World Economic Outlook) ฉบับปรับปรุง ที่ระบุว่า
มาตรการชัตดาวน์ธุรกิจทั่วโลกทำลายตำแหน่งงานหลายร้อยล้านอัตรา
และบรรดาเศรษฐกิจสำคัญในยุโรปต่างเผชิญกับภาวะติดลบในระดับเลขสองหลัก ขณะที่แนวโน้มของการฟื้นตัวหลังจากโรคระบาดใหญ่โควิด-19
จะประสบกับ “ความไม่แน่นอนที่กระจายไปทั่ว” เนื่องจากวิถีการแพร่ระบาดของไวรัสที่คาดเดาไม่ได้
ในขณะที่ภาคธุรกิจต่างๆ กลับมาเปิดทำการในหลายประเทศ และจีนเผชิญกับการฟื้นตัวด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดหมายไว้ แต่การแพร่ระบาดของไวรัสระลอก 2 ยังคงคุกคามแนวโน้มการเติบโต
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
Chang Yong Rhee ผู้อำนวยการแผนกเอเชียและแปซิฟิกของ IMF บอกว่า เศรษฐกิจในเอเชียขึ้นอยู่กับห่วงโซ่อุปทานของโลกเป็นอย่างมาก และไม่สามารถเติบโตได้ในขณะที่โลกทั้งใบกำลังทุกข์ทรมานจากวิกฤติเศรษฐกิจ
IMF คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลกจะติดลบ 4.9%
ในปีนี้ และจะฟื้นตัวเพียง 5.4% ในปี 2564 แต่ต้องอยู่ “ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น” ซึ่งวิกฤติโควิดจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก
12 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 370.4 ล้านล้านบาท)
ในช่วงเวลา 2 ปี และ IMF ยังระบุด้วยว่า ภาวะขาลงของเศรษฐกิจโลกสร้างความเสียหาย
โดยเฉพาะกับประเทศต่างๆ ที่มีรายได้ต่ำและภาคครัวเรือน
รายงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจฉบับปรับปรุงของ
IMF ปรับลดตัวเลขทางเศรษฐกิจลงอย่างมากเทียบกับรายงานครั้งก่อนหน้าในเดือน
เม.ย. ซึ่งเป็นช่วงต้นของการระบาดใหญ่ ขณะนั้น IMF เตือนว่า เศรษฐกิจโลกจะหดตัว 3% พร้อมแสดงความกังวลว่าโควิด-19 จะสร้างความเสียหายเรื้อรังทั้งต่อการจ้างงาน
ธุรกิจ และการค้า
ขณะเดียวกันร่างกฎหมายสำหรับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของรัฐบาลต่างๆ
ซึ่งทำให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำมาก และมีแนวโน้มที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจโลกหลุดจากภาวะถดถอย
(Recession) ไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Depression) แม้จะสร้างหนี้ก้อนใหญ่ที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ก็ตาม
UNCTAD วิเคราะห์ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19
UNCTAD เปิดตัว World Investment Report 2020 หัวข้อ “International
Production Beyond the Pandemic” โดยสามารถดาวน์โหลดรายงานฯ
ฉบับเต็มได้จากเว็บไซต์ https://unctad.org/
สรุปผลวิเคราะห์สำคัญ ดังนี้
ผลกระทบของ COVID-19 ต่อ FDI
ภาพรวมระดับโลกมูลค่า FDI ทั่วโลกจะลดลงประมาณ
40% ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งจะทำให้มูลค่า FDI ลดลงต่ำกว่า 1
ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 2005 มูลค่า FDI จะลดลงเพิ่มอีกประมาณ 5-10% ในปี ค.ศ. 2021 และเริ่มฟื้นตัวในปี ค.ศ.
2022 Top 5,000 บริษัทข้ามชาติ (MNEs) ของโลก ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญต่อ
global FDI ได้ปรับประมาณการรายได้ลงโดยเฉลี่ยประมาณ 40%
ซึ่งรายได้ที่ลดลงจะส่งผลต่อ reinvested
earnings ซึ่งคิดเป็น 50% ของมูลค่า FDI Greenfield
investment และ Mergers & Acquisitions
(M&As) ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2020 ลดลง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี ค.ศ.
2019
ประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่า FDI ลดลงมากที่สุด เนื่องจากประเทศเหล่านี้เน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับห่วงโซ่การผลิตของโลก
และการสกัดทรัพยากรธรรมชาติ (extractive
industries) ซึ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากที่สุด
และไม่มี capacity ในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนกับประเทศพัฒนาแล้ว
ระดับภูมิภาคยุโรปจะมีมูลค่า FDI ลดลงประมาณ
30-45% ซึ่งลดลงมากกว่าอเมริกาเหนือ ซึ่งมูลค่า FDI จะลดลงประมาณ
20-35%
แอฟริกามีมูลค่า FDI ลดลง 10% ในปี
ค.ศ. 2019 และคาดว่าจะลดลง 25-40% ในปี ค.ศ. 2020
กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย
ซึ่งมีการลงทุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับห่วงโซ่การผลิตของโลกสูง จะมีมูลค่า FDI ลดลงประมาณ 30-45%
อเมริกาใต้มีมูลค่า FDI เพิ่มขึ้น 10%
ในปี ค.ศ. 2019 แต่ในปีนี้คาดว่าจะลดลงถึง 50% เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ปัญหาทางการเมือง
และปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
COVID-19
ต่อนโยบายด้านการลงทุน
มากกว่า 70 ประเทศได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุน หรือปกป้อง strategic industries จากการ takeover โดยต่างชาติ ประเทศส่วนใหญ่น่าจะเพิ่มมาตรการกีดกันการลงทุนในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์
โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข แต่จะแข่งขันในการดึงดูด FDI สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ
เพื่อสนับสนุนการสร้างงานและฟื้นฟูเศรษฐกิจ การปฏิรูป International Investment Agreements (IIAs) มีความสำคัญยิ่งขึ้น
เนื่องจากหลายมาตรการในการต่อสู้กับ COVID-19
และฟื้นฟูเศรษฐกิจของบางประเทศ อาจขัดกับพันธกรณีใน IIAs ที่มีอยู่
ขณะที่แนวโน้มเกี่ยวกับ International
production สถานการณ์ COVID-19
การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม สงครามทางการค้าระหว่างประเทศ
และข้อบังคับการผลิตด้านสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเปลี่ยน international production ในทศวรรษนี้ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่
- อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและพึ่งพาห่วงโซ่การผลิตสูง
จะมีการผลิตที่กระจุกตัวมากยิ่งขึ้น และเปิดให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตยากยิ่งขึ้น
- อุตสาหกรรมด้าน services และการผลิตที่พึ่งพาห่วงโซ่การผลิตสูง
จะมีฐานการผลิตที่กระจายตัวมากยิ่งขึ้น (ไม่กระจุกตัวในจีนที่เดียวอีกต่อไป)
ซึ่งเป็นโอกาสให้ประเทศต่างๆ ได้เข้าร่วมห่วงโซ่การผลิต อย่างไรก็ตามห่วงโซ่การผลิตจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นประเทศจะได้รับประโยชน์ คือประเทศที่มีความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
- ขั้นตอนตลอดห่วงโซการผลิต
จะกระจุกอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการลงทุนจะมีความสำคัญสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมที่ไม่ต้องพึ่งพาห่วงโซ่การผลิตมาก
จะย่นขั้นตอนของการผลิต โดยเน้นการออกแบบและการบริหารที่สำนักงานใหญ่
และตั้งโรงงานเพื่อผลิต final products ในภูมิภาคต่างๆ
ของโลกเพื่อการบริโภคในภูมิภาคนั้นๆ ซึ่งจะลดการถ่ายโอนทางเทคโนโลยี
ด้านการลงทุนใน SDGs
เมื่อปี ค.ศ. 2014 UNCTAD ประเมินว่า
ประเทศกำลังพัฒนาต้องได้รับการลงทุนเพิ่มเติมมูลค่า 2.5
พันล้านเหรียญสหรัฐเป็นประจำทุกปีเพื่อบรรลุ SDGs โดยการลงทุนใน SDGs มีพัฒนาการใน 6 SDGs sectors (จาก 10 SDGs sectors) ได้แก่ infrastructure,
climate change mitigation, food and agriculture, health, telecommunication และ ecosystems and biodiversity
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการดังกล่าวยังต่ำกว่ามูลค่าการลงทุนที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องได้รับอยู่มาก
Sustainability funds ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
มีอัตราการเติบโตที่สูง โดยมีมูลค่าประมาณ 1.2-1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
แต่การลงทุนเหล่านี้อยู่ในประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก และเน้นการลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียน
การระดมเงินทุนในลักษณะ social bonds โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ
COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของ
capital markets ในการสนับสนุนการบรรลุ SDGs ในประเทศกำลังพัฒนา และในช่วง 10 ปีข้างหน้าควรมี sustainability-themed products เพื่อสนับสนุนโครงการด้าน
SDGs ในประเทศกำลังพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน LDCs (5)
ถึงแม้ว่า 150 ประเทศ ได้บรรจุ SDGs ในแผนการพัฒนาประเทศแล้ว
แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศที่กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการสนับสนุน การลงทุนเพื่อ SDGs นอกจากนี้ การส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่จะเน้นด้านการคมนาคม นวัตกรรม
และการเกษตร
ในขณะที่ SDGs sectors สำคัญอื่นๆ ยังไม่มีมาตรการส่งเสริมการลงทุน อาทิ health water and sanitation, education และ climate change adaptation ดังนั้นจึงควรเน้นการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการบรรลุ SDGs ใน แผนการลงทุนระดับประเทศ และให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการลงทุนในแผนการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs ของประเทศ