7 แนวทางการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน

SME in Focus
25/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2151 คน
7 แนวทางการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน
banner

พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ ในแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ ที่พบว่ามีสัดส่วนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเภทน้ำมันดิบและถ่านหินลิกไนต์สูงถึง 85% และ 78% (สถิติปี 2558) ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง เพื่อลดการพึ่งพาและการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เป็นการสร้างความมั่นคงและพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน เนื่องจากทั่วโลกมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยรัฐบาลไทยให้ความสำคัญ 3 ด้าน ประกอบด้วย

1. ความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) ในการตอบสนองต่อปริมาณความต้องการพลังงานที่สอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากร และอัตราการขยายตัวของเขตเมือง รวมถึงการกระจายสัดส่วนของเชื้อเพลิงให้มีความเหมาะสม

2. ด้านเศรษฐกิจ (Economy) ที่ต้องคำนึงถึงต้นทุนพลังงานที่มีความเหมาะสม และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

 

ประเทศไทยมีศักยภาพในด้านแหล่งเชื้อเพลิงพลังงานทดแทน แต่ยังมีต้นทุนในการดำเนินการที่สูง และประสิทธิภาพต่ำเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการส่งเสริมสนับสนุนให้มีรูปแบบต่างๆ มาช่วยสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นผ่านกระทรวงพลังงาน โดยมีการจัดตั้งโครงการส่งเสริมผ่านหน่วยงานและโครงการต่างๆ ไว้เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนร่วมลงทุน ดังนี้

1. กลไกการส่งเสริมโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ภาครัฐได้ยกระดับให้อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เป็นกิจการที่มีระดับความสำคัญสูงสุดและจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนในระดับสูงสุดเช่นกัน จึงมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งได้กำหนดสิทธิประโยชน์ที่ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 8 ปี และหลังจากนั้นอีก 5 ปี หรือตั้งแต่ปีที่ 9–13 จะลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ร้อยละ 50 รวมทั้งมาตรการจูงใจด้านภาษี อาทิ การลดภาษีเครื่องจักรอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งการอนุญาตให้นำต้นทุนในการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ไฟฟ้าประปา ขอหักลบภาษีได้สูงสุด 2 เท่า สำหรับโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นต้น ตามหลักเกณฑ์ในการพิจารณาส่งเสริมโครงการด้านพลังงานทดแทน ได้แก่ กรณีที่ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนน้อยกว่า 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการใหม่ หรือมีเครื่องจักรใหม่ที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย หรือมีระบบจัดการที่ปลอดภัย รักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบในการผลิต เป็นต้น

2. การให้บริการข้อมูลศักยภาพพลังงานทดแทน (พพ.) การบริการข้อมูลศักยภาพด้านพลังงานทดแทนที่สำคัญนั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาแผนที่และข้อมูลศักยภาพพลังงานทดแทน 3 ประเภท โดยมีการเผยแพร่ผ่านทางระบบฐานข้อมูลของ พพ. ได้แก่

1) ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ 

2) ศักยภาพชีวมวลในประเทศ ได้มีการนำเสนอบนระบบฐานข้อมูลชีวมวล

3) ศักยภาพขยะ แสดงข้อมูลศักยภาพขยะในการนำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน

ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือเว็บไซต์ http://www.dede.go.th

3. การสนับสนุนงบประมาณแบบให้เปล่า (พพ. และ สนพ.) การสนับสนุนเงินลงทุนแบบให้เปล่า หรือ Investment Grant โดย พพ. และ สนพ. จะให้เงินสนับสนุนโครงการประมาณร้อยละ 10-30 ได้แก่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา หรือองค์กรเอกชนที่ไม่มุ่งค้ากำไรตามมาตรา 26 ใช้ในการออกแบบและลงทุนในการบริหารโครงการ โดยบางโครงการอาจมีผู้ร่วมโครงการกับเจ้าของโครงการด้วย ซึ่งผู้ร่วมโครงการก็จะได้รับเงินสนับสนุนดังกล่าวเช่นกันผ่านทางเจ้าของโครงการ สำหรับบริษัทเอกชนทั่วไปที่ประสงค์จะลงทุนและดำเนินงานในด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน หรือเพื่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน ก็สามารถยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ได้เช่นกัน โดยจะถูกจัดอยู่ในลักษณะเป็นผู้ร่วมโครงการ และจะมีคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาการอนุมัติเป็นรายกรณี

4. โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เป็นโครงการที่กองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานผ่านการดูแลของ พพ. สนับสนุนผู้ประกอบการในการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน โดยการให้กู้ผ่านสถาบันการเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ปัจจุบันการดำเนินโครงการอยู่ในระยะที่ 6 (พ.ศ. 2558-2560) วงเงิน 1,489 ล้านบาท โดยมี 8 สถาบันการเงินเข้าร่วม ซึ่งธนาคารกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่สนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานทดแทน  

5. โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน (ESCO Fund) โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน (ESCO Fund) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้จัดตั้ง “โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ด้วยเงินทุนหมุนเวียน (ESCO Revolving Fund)” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน โดยให้ความช่วยเหลือด้านการลงทุนแก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการแต่ยังขาดปัจจัยการลงทุน และช่วยให้ผู้ประกอบการหรือผู้ลงทุนได้ประโยชน์จากการขายคาร์บอนเครดิต โดยมีแผนปฏิบัติการพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ตามกรอบแผนแม่บทแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558–2579 รูปแบบการจะส่งเสริมในหลายลักษณะ อาทิเช่น ร่วมลงทุนในโครงการ (Equity Investment) ร่วมลงทุนในบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO Venture Capital) ร่วมลงทุนในการพัฒนาและซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Market) การเช่าซื้ออุปกรณ์ (Equipment Leasing) การอำนวยเครดิตให้สินเชื่อ (Credit Guarantee Facility) และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (Technical Assistance)

6. มาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff คือ มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีต้นทุนค่อนข้างสูง) ซึ่งอัตรา FiT จะอยู่ในรูปแบบ อัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอดอายุโครงการ (มีการปรับเพิ่มสำหรับกลุ่มที่มีการใช้เชื้อเพลิง) โดยอัตรา FiT จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft ทำให้มีราคาที่ชัดเจนและเกิดความเป็นธรรม

7. การขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจจากการซื้อขายด้วยคาร์บอนเครดิต ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) เป็นการใช้กลไกตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถือเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการพลังงานทดแทน เช่น โครงการผลิตพลังงานชีวมวล ที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะและน้ำเสียเพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงาน รวมไปถึงโครงการด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะได้รับประโยชน์ในรูปแบบของการขายคาร์บอนเครดิต หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้

 

แหล่งอ้างอิง https://www.dede.go.th/ 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


แนวคิด ‘ขยะหมุนเวียน’ แก้ปัญหาขยะพิษล้นโลก

‘พลังงานหมุนเวียน’ เทรนด์ธุรกิจกระแสแรงยุคนี้


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
152 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
374 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1289 | 01/04/2024
7 แนวทางการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน