พร้อมหรือยัง? 5 สิ่งที่ IoT จะพลิกโฉมครั้งสำคัญในปีนี้

SME in Focus
25/03/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 4370 คน
พร้อมหรือยัง? 5 สิ่งที่ IoT จะพลิกโฉมครั้งสำคัญในปีนี้
banner

Internet of Things (IoT) เป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีที่โดดเด่นที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หากนับย้อนไปสัก 10 ปี ยุคที่อินเทอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน แต่ยังไม่ถึงกับแพร่หลายอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของการใช้สมาร์ทโฟนในขณะนี้ โดยค่าเฉลี่ยในปี 2563 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตสูงถึง 8 ชั่วโมง 44 นาที สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และประชากรกว่า 48 ล้านคนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ

จากข้อมูลนี้จะเห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในทุกกิจกรรมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือใช้ชีวิตส่วนตัว อันเป็นส่วนสำคัญให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปีอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้เราจึงหยิบยกเรื่อง Internet of Things หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า IoT แปลตามตัวได้อย่างสละสลวยว่า อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง หมายถึงทุกสิ่งอย่างถูกเชื่อมโยงกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ในปัจจุบันมีการนำ IoT ไปใช้ประโยชน์ในภาคต่างๆ และจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบางกลุ่มธุรกิจ อาทิ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ  

จาก Telemedicine ไปจนถึงความช่วยเหลือในบ้านอัตโนมัติ หรือเทคโนโลยี Smart Home สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะยังคงเปลี่ยนวิธีการส่งมอบการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อลดการสัมผัสโดยไม่จำเป็นในสถานการณ์ที่ความเสี่ยงของการปนเปื้อนของไวรัสสูงเป็นพิเศษ เช่นบ้านพักคนชราและที่พักผู้ป่วยโรคติดเชื้อภายในโรงพยาบาล

ที่สำคัญการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลสุขภาพ ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เช่นมีบริการ "เยี่ยมเสมือนจริง" หรือการนัดหมายออนไลน์กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ

นอกจากนี้ยังมีการเติบโตที่แข็งแกร่งในตลาดสำหรับอุปกรณ์ IoT ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมีกิจกรรมและใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างสะดวกปลอดภัย ซึ่งจะรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ AI ในการตรวจจับการตกหรือการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันปกติ ที่สามารถแจ้งเตือนญาติหรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพให้รับทราบข้อมูลแบบเรียลไทม์

โดยการประยุกต์ใช้ IoT เพื่อระบบสาธารณสุขอัจฉริยะสามารถทำได้ โดยการใช้อุปกรณ์ IoT ที่เก็บข้อมูลสุขภาพ และสัญญาณทางร่างกาย เช่น สัญญาณชีพจร ความดันโลหิต คุณภาพการนอน การเคลื่อนที่ การหายใจ ผ่านการใช้อุปกรณ์สวมใส่ เพื่อรวบรวมและประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลสุขภาพและอาการเจ็บป่วย ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยที่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยก่อนที่คนไข้มาถึง การดูแลของแพทย์ การคาดการณ์ และการวินิจฉัยการเจ็บป่วยล่วงหน้า แถมสามารถแจ้งเตือนการเจ็บป่วยทันที และระบบติดตามการแพร่กระจายของโรค ซึ่งจากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ก็มีการนำ IoT มาใช้ประโยชน์

 


2. การทำเกษตรแม่นยำ  

การเกษตรแม่นยำ หรือการทำ Smart farming โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของระบบเซ็นเซอร์ที่วัดความชื้น ปริมาณแสงแดด อุณหภูมิ ระบบ ฐานข้อมูลพืช และระบบให้น้ำ ปรับปริมาณแสง และระบบปรับอุณหภูมิ ที่ทำงานสอดคล้องกันเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด และแม่นยำที่สุด

ระบบดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรประหยัดและใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถประมาณการช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและปริมาณพืชผลที่จะได้อีกด้วย และด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ทำได้ง่าย อาทิ มีแอปพลิเคชันด้าน Smart Farm ให้ดาวน์โหลดฟรีมากมาย นี่จึงเป็นโครงการการทำเกษตรรูปแบบใหม่ที่เน้นใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

 


3. ภาคอุตสาหกรรม

สำหรับอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม (Industrial Internet) คือโครงข่ายข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องวัด และระบบการควบคุมในระบบอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายจะช่วยให้อุปกรณ์และระบบต่างๆ มีการทำงานที่แม่นยำ สามารถทำงานสอดคล้องกันได้โดยไม่ต้องการการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของเครื่องจักร เช่น อุณหภูมิ การสั่น การหมุน นอกจากจะช่วยตรวจสอบความผิดปรกติของเครื่องจักรได้ ยังช่วยใช้คาดการณ์เวลาที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ของอุปกรณ์เมื่อถึงเวลาเสียได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอะไหล่ใหม่โดยไม่จำเป็นได้

นอกจากนี้การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างร้านสะดวกซื้อ ระบบโลจิสติกส์ และโรงงาน จะช่วยให้สามารถบริหารการผลิตและกระจายสินค้าให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่มีสัดส่วนการผลิตใน ภาคอุตสาหกรรมที่สูง จะมีโอกาสได้ประโยชน์จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น

 


4. คมนาคมและการจัดการโลจิสติกส์

โครงข่าย IoT จะเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบคมนาคมและการจัดการโลจิสติกส์ โดยช่วยสนับสนุนให้มีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างยานพาหนะด้วยกัน หรือระหว่างยานพาหนะและระบบควบคุมการจราจรอื่น เช่น ระบบสัญญาณ การจราจร ระบบข้อมูลสภาพจราจร หรือการนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้กับระบบขนส่งมวลชนที่จะช่วยให้การบริการมีความปลอดภัย สะดวก และตรงเวลามากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้การนำระบบดังกล่าวไปใช้ในการขนส่งสินค้า จะทำให้สามารถทราบตำแหน่งยานพาหนะ ทราบสถานการณ์รับ-ส่ง สินค้า อันส่งผลให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของการใช้งานระบบติดตามยานพาหนะในประเทศไทย


 

5. การจัดการพลังงานและสาธารณูปโภค

ระบบการจัดการพลังงานและสาธารณูปโภค (Utility Management) ที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการตรวจวัดที่แม่นยำ การประมวลผลในภาพรวม และการประมาณการที่มีความเชื่อถือได้ ระบบ IoT ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในลักษณะการตรวจวัดระยะไกล เช่น ระบบ Smart meter ซึ่งมีความสามารถในการวัดปริมาณการใช้สาธารณูปโภค หรือวัดคุณภาพสาธารณูปโภค ก่อนจะส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ในภาพรวมต่อไป

ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งานประเภทนี้ คือบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า โดยใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณการใช้งานพลังงานไฟฟ้า และรวบรวมข้อมูลเพื่อประมาณการค่าอุปสงค์การใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุม การจ่ายไฟฟ้า การวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า จัดการแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า และการคิดราคาค่าไฟฟ้าแบบสอดคล้องกับค่าอุปสงค์-อุปทาน

 

อย่างไรก็ตามกล่าวกันว่า ในไม่ช้าเทคโนโลยี Edge Computing ก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์อันทรงพลังที่จะช่วยให้ประสิทธิภาพของ IoT ดีขึ้นอีกมาก เนื่องจากสามารถประมวลผลข้อมูลให้แสดงผลเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของเครือข่ายมากที่สุด ซึ่งข้อมูลเครือข่ายจะถูกส่งจากอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์สมาร์ทโฟนหรือหุ่นยนต์ในไลน์การผลิตกลับไปสู่ฐานข้อมูลกลางเพื่อประมวลผลและวิเคราะห์

ขณะที่ปัจจุบันเทคโนโลยี 5G คือก้าวสำคัญของการทำธุรกิจยุคนี้ ด้วยเหตุนี้เป็นที่น่าจับตาว่า โลกธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการสื่อสาร ข้อมูลที่แม่นยำและรวดเร็ว รวมถึงการเชื่อมต่อที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง อาจทำให้ระยะเวลาเพียงแค่ 1-2 ปี จะเกิดภาพอนาคตมิติใหม่ๆ ที่รูปแบบการทำธุรกิจแบบดั้งเดิมจะถูกแทนที่อย่างถาวร

ดังนั้นจึงถึงเวลาที่ทุกองค์กรควรมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีและพัฒนาธุรกิจอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่มีไว้เพื่อจัดการปัญหาของอุปกรณ์ภายในอย่างเช่นที่ผ่านๆ มา




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
4 | 18/04/2025
“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิต “วัตถุดิบโลหะ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร…
pin
7 | 11/04/2025
เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

แนวคิด Zero-Waste กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญหลายธุรกิจเริ่มตระหนักว่าการลดขยะไม่ใช่แค่ช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุน…
pin
10 | 06/04/2025
พร้อมหรือยัง? 5 สิ่งที่ IoT จะพลิกโฉมครั้งสำคัญในปีนี้