ทำความเข้าใจในเบื้องกันก่อนว่า การทำธุรกิจที่พักแรมนั้นไม่ว่าจะเรียกชื่อตัวเองว่าอย่างไร
เช่น เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ โฮมสเตย์ เกสต์เฮ้าส์ รีสอร์ท ฟาร์มสเตย์ ฯลฯ
หากเข้าองค์ประกอบของคำนิยามว่า “โรงแรม” ก็ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
โดยคำว่า “โรงแรม” ตามมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติโรงแรม
พ.ศ. 2547 บัญญัติไว้ว่า คือ สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
ส่วน “ผู้พัก” หมายความว่า คนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดที่ใช้บริการที่พักชั่วคราว
ทั้งนี้ไม่รวมถึง
1.
สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวซึ่งดําเนินการโดยส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเพื่อการกุศล หรือการศึกษา
ทั้งนี้โดยมิใช่ เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน
2. สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการที่พักอาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
กฎกระทรวง
ตรงนี้มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ
คำสั่ง คสช. มาตรา 44
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 คือ อนุญาตให้ผู้ที่เป็นอาคารเก่าเป็นโรงแรม
สามารถทำกิจการโรงแรมในพื้นที่ผังเมืองห้ามทำโรงแรมได้
โดยต้องทำให้สำเร็จได้รับใบอนุญาตการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคารก่อนกฎหมายปี 2559 หมดอายุซึ่งกฎหมายนี้จะหมดอายุภายใน 18 สิงหาคมปี 2564
อย่างไรก็ตามยังคงมีผู้ประกอบการผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุดฉบับหนึ่ง
จากปลัดกระทรวงมหาดไทยถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ
สาระหลักคืออนุญาตให้ผู้ที่ทำโรงแรมผิดกฎหมายสามารถไปแจ้งรายงานตัว
กับหน่วยงานท้องถิ่นที่ดูแลเรื่องการก่อสร้าง โดยประโยชน์จากการไปแจ้งคือโรงแรมแห่งนั้นจะได้รับการยกเว้นโทษจับ
ไปจนกระทั่งวันเวลาที่กฎหมายนี้หมดอายุในเดือนสิงหาคม 2564 นี่คือโอกาสสำคัญที่สุดสำหรับคนที่ทำโรงแรมและยังผิดกฎหมายอยู่
กรณีที่เข้าข่ายโรงแรมคือ 1.
ทำธุรกิจที่พัก 2. เป็นที่พักแบบชั่วคราว (น้อยกว่า 30 วัน) และ 3.
ได้รับค่าตอบแทนจากผู้มาพักกฎหมายโรงแรมถือว่าท่านทำธุรกิจโรงแรม
ดังนั้นตามมาตรา 15
บังคับว่าท่านต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม (ร.ร. 2)
หากไม่มีก็มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
ด้วยเหตุนี้ จะอ้างว่าไม่รู้หรือตีความกฎหมายแบบเลี่ยงบาลี
อย่างไรก็ตามแต่หากมีการขอตรวจสอบใบอนุญาตและไม่มี ตามมาตรา 44
ของกฎหมายควบคุมอาคารก็อนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งระงับการใช้อาคาร
หากมีการฝ่าฝืนอีกก็มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าปฏิบัติให้ถูกต้อง
ทั้งนี้ นอกจากผิดกฎหมายโรงแรมแล้ว
ยังเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 33
ซึ่งห้ามไม่ให้ใช้อาคารผิดประเภทที่ขอใบอนุญาตก่อสร้างไว้ คือ
ไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างโรงแรมก็นำอาคารมาทำโรงแรมไม่ได้ แน่นอนว่าอาจโดนสองเด้ง
หลายคนอาจมีคำถาม ฟาร์มสเตย์ โฮสเตย์
เกตส์เฮ้าส์ ที่อยู่อาศัยที่เปิดให้เช่า ที่มีกันกลาดเกลื่อนในปัจจุบัน
กำลังทำผิดกฎหมายอยู่หรือไม่ ...โดนมั้ย
อาคารชุดละ เข้าข่ายหรือไม่ ?
แน่นอนว่าเข้าเต็มๆ เพราะผู้ที่ต้องการซื้ออาคารชุดที่ผู้สร้างอาคารชุดขาย
บางรายประชาสัมพันธ์ว่าลงทุนเฉพาะเงินดาวน์
ส่วนที่เหลือจะมีผู้นำห้องไปให้เช่ารายวันหลังจากหักเงินที่ต้องผ่อนส่งรายเดือนแล้วยังมีส่วนเกินได้อีก
ทำให้ผู้เข้าใจผิดไปซื้ออาคารชุดเหล่านี้ ซึ่งจริงๆ มันผิด
เนื่องจากพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.
2522 มาตรา17/1 วรรคสอง คือ ห้ามผู้ใดประกอบการค้าในอาคารชุด
มีโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
แถมยังต้องผิดตามกฎหมายควบคุมอาคารว่าด้วยการใช้อาคารผิดประเภทอีกด้วย
ให้ต่างชาติเช่ายิ่งผิดสองเด้งเพราะ...
ผู้ที่ประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักชั่วคราวที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมจะผิดตามกฎหมายต่าง
ๆ ข้างต้นแล้วยังต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38
อีกด้วย กล่าวคือ “เจ้าบ้าน เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรม
ซึ่งรับคนต่างด้าว
ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเข้าพักอาศัยจะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ซึ่งมีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ทั้งหมดนี้คือข้อสรุปสำหรับคนที่จะทำหรือกำลังทำธุรกิจที่พักต้องรู้
เพื่อที่คุณจะไม่ทำผิดกฎหมาย