เทรนด์ธุรกิจคนขี้เกียจมาแรง ปี 2020

SME Update
09/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 55454 คน
เทรนด์ธุรกิจคนขี้เกียจมาแรง ปี 2020
banner

ในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีอิทธิพลและอำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของสังคมยุคใหม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคกลายเป็นมนุษย์รักสบาย หรือ เรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นมนุษย์“ขี้เกียจ” ทำให้เกิด “เศรษฐกิจคนขี้เกียจ” หรือ ภาษาอังกฤษเรียกเท่ๆ ว่า Lazy Economy รองรับกลุ่มผู้บริโภคสังคมปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจใหม่มาแรงในปี 2020 หรือ ปี 2563 เพราะสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภครักความสะดวกสบายโดยตรง ที่ผู้ประกอบการไทยใครเริ่มต้นก่อนย่อมได้เปรียบ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


เศรษฐกิจคนขี้เกียจเริ่มปรากฏภาพชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2561 หลังจากเว็บไซต์ “อาลีบาบา” (Alibaba) ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ของประเทศจีน เปิดให้บริการมนุษย์ขี้เกียจสั่งซื้อสินค้า “Lazy Products” หรือ “ผลิตภัณฑ์ตอบสนองความขี้เกียจ”ปรากฎว่ามียอดขายปีแรกถล่มทลายคิดมูลค่าสูงถึง 16 พันล้านหยวน หรือราว 6.9 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว จากนั้นกระแสลุกลามไปทั่วโลก รวมทั้งอาเชียน และประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจขี้เกียจที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเดียว แต่เกิดจากความขี้เกียจของสังคมยุคสมัยใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่ชื่นชอบรักความสะดวกสบายที่พร้อมทุ่มเงินซื้อสินค้า จ่ายค่าบริการ หรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ทำให้ธุรกิจดังกล่าวตอบโจทย์ความต้องการให้กับมนุษย์ขี้เกียจในยุคดิจิทัลอย่างน่าทึ่ง

ปี 2563 ธุรกิจที่จะเกิดการแข่งขันรุนแรงที่สุด คือ ธุรกิจอาหารพร้อมส่ง หรือที่เรียกว่า ฟู้ด เดลิเวอรี่ (Food Delivery) หลังจากยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพี ประกาศสงครามแย่งส่วนแบ่งตลาดฟู้ด เดลิเวอรี่ อย่างเต็มตัว หลังจากก่อนหน้านี้ปล่อยให้คู่แข่งยักษ์ใหญ่ค้าปลีกชิมลางเดินเครื่องครองส่วนแบ่งตลาด ทำให้ซีพีเสียโอกาสทางการตลาด

โดยปี 2562 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจคนขี้เกียจเติบโตพุ่งกระฉูดสวนกระแสเศรษฐกิจโดยรวม เพราะได้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง เพียงแค่ลูกค้ากดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ที่สมัครเป็นสมาชิกใช้บริการกับผู้ให้บริการ ฟู้ด เดลิเวอรี่ ไม่ว่าร้านดังจะอยู่ตรงไหน ใกล้ หรือไกล ก็ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปซื้อเองให้เมื่อย แค่นั่งรอ นอนรอ อยู่ที่บ้าน อาหารเมนูจานเด็ดที่สั่งไปผ่านแอปพลิเคชันก็จะมีคนขับรถจักรยานยนต์มาส่งถึงมือที่บ้าน โดยมูลค่ารวมของ”ฟู้ด เดลิเวอรี่” ปีที่แล้วพุ่งสูงถึง 3.3-3.5 หมื่นล้านบาททีเดียว และปี 2563 ธุรกิจ ฟู้ด เดลิเวอรี่ ยังคงมาแรง

 

ฟู้ด เดลิเวอรี่ ห่วงโซ่ตอบโจทย์คนขี้เกียจ

จากการทำวิจัยของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล(CMMU) ระบุว่า ฟู้ด เดลิเวอรี่  กลายเป็นห่วงโซ่ธุรกิจสนองเศรษฐกิจขี้เกียจ ที่กำลังเติบโตไม่หยุด นับตั้งแต่ปี 2561 ลากยาวปี 2563 กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดเฟื่องฟูในประเทศไทยว่าได้ ทุกวันนี้ไม่ได้มีแค่ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเท่านั้นเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจนี้ แต่ยังมีผู้เล่นอีก 2 ส่วน เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดก้อนโตและพลิกโอกาสทองจาก "ช่องว่าง" เล็กๆ กลายเป็นขุมทรัพย์มหึมา นั่นคือ ร้านอาหารและคนส่งอาหาร

โดยมีการคาดการณ์ว่า ร้านอาหารทั้งในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่จะมีเข้ามาส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท และคนส่งอาหารจะมีส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 3.9 พันล้านบาท ส่วนผู้ให้บริการแอปพลิเคชันที่เป็นผู้กุมห่วงโซ่ ฟู้ด เดลิเวอรี่” นั้นคาดว่าจะมีส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 3.4 พันล้านบาทเลยทีเดียว เมื่อมูลค่ามหาศาลขนาดนี้ แน่นอนว่า "การแข่งขันทางการตลาดย่อมดุเดือดเลือดพร่าน" หลายแบรนด์ต่างงัดกลยุทธ์โปรโมชันราคาออกมา เพื่อดึงดูดผู้บริโภคและเอาใจคนขี้เกียจ จากที่มีแค่แอปพลิเคชันเดียวอย่าง ‘แกร็บฟู้ด’ ปัจจุบันมีมากกว่า 10 แอปพลิเคชันเปิดศึกการแข่งขันทางการตลาด

 

ช้อปปิ้ง ออนไลน์ แห่ผุดแย่งส่วนแบ่งตลาด

ปัจจุบันประชาชนชาวไทยมีพฤติกรรมขี้เกียจทำอาหารมากขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับจากผลวิจัยเชิงลึกของ CMMU ยังพบว่าประชากรไทยสูงถึง 69% หรือประมาณ 45 ล้านคน ไม่เพียงแต่เป็นลูกค้า”ฟู้ด เดลิเวอรี่”แล้วธุรกิจ“ช็อปปิ้งออนไลน์ หรือเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซ ยังเป็นอีกหนึ่งห่วงโซ่ธุรกิจ ที่เริ่มเข้ามาตอบสนองความขี้เกียจของมนุษย์อย่างเป็นร่ำเป็นสัน ที่แห่เปิดให้บริการมากมาย ส่งผลทำให้มูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ซ มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง นั้บตั้งแต่ปี 2561 โดยมูลค่าสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท เช่นเดียวกับปี 2562 เติบโตสูงยิ่งขึ้นคิดมูลค่าอาจสูงถึง 3.8 ล้านล้านบาท และแนวโน้ยมไม่หยุดแค่นั้นในปี 2563 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าพุ่งทะลุกว่า 5 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

“ยกตัวอย่างตลาดอี-คอมเมิร์ซที่จัดโปรโมชั่นในช่วงเทศกาล 9.9, 11.11 หรือ 12.12 เมื่อปีที่ผ่านมา ปรากฎว่ามียอดสั่งซื้อของแต่ละเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมในไทยสูงขึ้นหลายเท่า โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่คนนิยมสั่งซื้อก็ยังหนีไม่พ้น สินค้าตอบสนองความขี้เกียจทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ตลอดทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นทั่วไปในครัวเรือน”


แม่บ้าน-ซ่อมบ้านเคลื่อนที่คนยุคใหม่ฮิตใช้บริการ

อีกหนึ่งพฤติกรรมตอบสนองความสังคมคนขี้เกียจ ที่กำลังกลายมาเป็นธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด นอกเหนือจากสั่งซื้ออาหารและการช้อปปิ้งออนไลน์แล้ว “ธุรกิจแม่บ้านทำความสะอาดและซ่อมบ้านเคลื่อนที่”มาแรงไม่แพ้กัน เนื่องจากสังคมยุคใหม่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลทำความสะอาดบ้านเรือน หรือห้องพักตามคอนโดมิเนียมต่างๆ ที่ต้องตื่นแต่เช้าไปทำงานกลับมาถึงที่พักก็ตกค่ำ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาด หรือบ้านพังชำรุดไม่มีปัญญาซ่อมแซมเองได้ ก่อให้เกิดธุรกิจบริการดังกล่าวที่ผู้ประกอบการเปิดเว็บไซต์ “แม่บ้านออนไลน์” และ “ช่างซ่อมบ้านออนไลน์” บริการผ่านแอปพลิเคชันมากกว่า 5 แอปพลิเคชันจากเดิมมีแค่ 1 ราย และยังมีสตาร์ตอัพรายใหม่อีกหลายรายเปิดให้บริการแบบลักษณ์ดังกล่าว สร้างรายได้ให้แม่บ้านออนไลน์และช่างซ่อมบ้านเกือบเท่าตัว ซึ่งจากผลวิจัยของ CMMU พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมขี้เกียจทำงานบ้านและซ่อมบ้านเองมากถึง 77% หรือประมาณ 50 ล้านคน

 

นักรับจ้างต่อคิวซื้อสินค้าแบรนด์ดังรุ่งฉุดไม่อยู่

กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อยเพราะเกิดจากความขี้เกียจนั่นเอง คือ “นักรับจ้างต่อคิว” ธุรกิจที่มีเวลาเป็นต้นทุน ถือเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เห็นได้จากงานเปิดตัวสินค้าแบรนด์ดังต่างๆ ที่มักจะมีคนแห่มาต่อแถวเพื่อซื้อสินค้าเป็นคนแรกๆ หรือที่เรียกว่า “ตั้งแคมป์” เพื่อต่อคิวซื้อสินค้า ซึ่งรายได้ของนักรับจ้างต่อคิวต่อครั้งอย่างต่ำก็คนละ 300 บาท หลายคนอาจมองว่าธุรกิจนี้ไม่แฟร์เท่าไร หรือเป็นธุรกิจที่ไม่น่าพิสมัย แต่ธุรกิจนักรับจ้างต่อคิว นับเป็นธุรกิจที่เกิดจากความพึงพอใจและการตกลงของ 2 ฝ่าย ระหว่างผู้จ้างและผู้ถูกจ้าง ที่ผู้จ้างยอมจ่ายเงินเพื่อเอาเวลาไปทำอย่างอื่น และผู้ถูกจ้างก็ยอมสละเวลาตัวเองเพื่อต่อคิวเพื่อแลกกับเงิน ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในอนาคตทีเดียว ซึ่งจากผลวิเคราะห์เชิงลึกของ CMMU พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมขี้เกียจรอคิวมากถึง 81% หรือประมาณ 53 ล้านคน

ธุรกิจและบริการเหล่านี้ในปี 2020 คาดว่าจะได้รับความนิยมและตอบสนองความต้องการตลาดกลุ่มคนขี้เกียจได้เป็นอย่างดี หากผู้ประกอบการ หรือกลุ่มสตาร์ทอัพที่กำลังมองหาแนวทางทำธุรกิจแนวใหม่ อาจจะหันมาศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมตลาดคนขี้เกียจและนำไปต่อยอดได้ในอนาคต



เทรนด์ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล ที่คุณต้องรู้

โจทย์ใหม่ค้าปลีก พฤติกรรมผู้ซื้อที่เปลี่ยนไป !


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

รักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ด้วย Food Ingredients ตัวช่วยสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร

รักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ด้วย Food Ingredients ตัวช่วยสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร

ประโยชน์ของ Food Ingredients ตัวช่วยรักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ในทุกจาน.เพราะมาตรฐานรสชาติคือหัวใจของธุรกิจร้านอาหาร ไม่ว่าจะมีสาขากี่แห่ง…
pin
3 | 02/04/2025
เคล็ดลับการเพิ่ม Engagement บน IG ฉบับปี 2025

เคล็ดลับการเพิ่ม Engagement บน IG ฉบับปี 2025

ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ SME เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่…
pin
6 | 31/03/2025
5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคสำคัญในปี 2025

5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคสำคัญในปี 2025

5 เทรนด์ผู้บริโภคโลก ปี 2025 โดย Euromonitorล่าสุด ผลสำรวจจาก Euromonitor International ได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค…
pin
13 | 17/03/2025
เทรนด์ธุรกิจคนขี้เกียจมาแรง ปี 2020