ไทย – มาเลเซีย ผสานความร่วมมืออุตสาหกรรมยานยนต์

SME in Focus
14/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 23786 คน
ไทย – มาเลเซีย ผสานความร่วมมืออุตสาหกรรมยานยนต์
banner

มาเลเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในประเทศ ที่แข็งแกร่ง จากพัฒนาการที่ยาวนานนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เริ่มจากการผลิตรถยนต์โปรตอน (Proton) แบรนด์รถยนต์แห่งชาติของมาเลเซียในยุคแรกและปัจจุบันยังมีวิ่งบนท้องถนนประเทศไทย และเปอโรดัว (Perodua) ซึ่งเป็นรถยนต์แห่งชาติลำดับที่ 2

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


จนถึงขณะนี้ มาเลเซียมีนโยบายรถยนต์แห่งชาติครั้งใหม่ (Third National Car Policy) ด้วยแนวคิดของ ดร. มหาธีร์ โมฮามัด ผู้นำมาเลเซียคนปัจจุบันที่สนับสนุนการจัดตั้งบริษัทรถยนต์แห่งชาติเพิ่มขึ้นเป็นลำดับที่ 3 รวมถึงฟื้นโครงการโปรตอนกลับมาใหม่อีกครั้ง โดยลงทุนมูลค่าถึง 1,200 ล้านริงกิต (ประมาณ 9,100 ล้านบาท) ขยายโรงงานเพื่อรองรับกระบวนการผลิตรถยนต์รุ่นแรกของโครงการอย่าง Proton SUV X70 รวมไปถึงการพัฒนาศูนย์ R&D ของรถ Proton รุ่นใหม่ทั้งหมดเพื่อปูทางให้โปรตอนกลับมายิ่งใหญ่ในตลาดของรถยนต์พวงมาลัยขวา

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มาเลเซียให้ความสำคัญกับการมีองค์ความรู้และการพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากผู้ผลิตรถยนต์ร่วมทุนไม่ยอมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้อย่างต่อเนื่อง ความพยายามของมาเลเซียที่ต้องการองค์ความรู้ดังกล่าวทำให้รัฐบาลผลักดันเรื่อง R&D จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในมาเลเซีย

รวมถึงแนวทางที่รัฐบาลมีการสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีอยู่ตามแผนแม่บทในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศหรือ Third Industrial Master Plan (IMP3) เห็นได้ชัดว่ามาเลเซียมองว่าการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ประสบความสำเร็จ โดยสถาบันยานยนต์มาเลเซีย (Malaysia Automotive Robotics and IoT Institute – MARii) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการสนับสนุนนโยบายรถยนต์แห่งชาติของภาครัฐมาโดยตลอด และเป็นอีกจุดที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยควรศึกษาอย่างยิ่ง

ปัจจุบันสถาบัน MARii มีหน้าที่หลักในการเสนอแนะนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์มาเลเซียให้แก่กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศมาเลเซีย (MITI) จัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร รวมถึงวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านยานยนต์ โดยสถาบันจะจัดฝึกอบรมความรู้ขั้นพื้นฐานให้แก่แรงงานมาเลเซียและเยาวชนที่ไม่มีงานทำ เพื่อทดแทนแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยจัดอบรม 6,000 – 7,000 ครั้ง/ปี

นอกจากนี้ ยังจัดการฝึกอบรมแก่บุคลากรบริษัทยานยนต์เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีสอนในสถาบันการศึกษาหรือสถาบันฝึกอบรมของภาคเอกชนที่ศูนย์ MARii Resources Center อาทิ  ระบบ Hybrid ในรถยนต์ รวมถึงมีศูนย์ MARii Design Center ที่เมืองสลังงอร์ ซึ่งเปิดให้บริษัท OEM หรือบริษัทยานยนต์ใช้วิจัยและทดลองสร้างรถยนต์ต้นแบบ และมีศูนย์ให้บริการตรวจวัดมลพิษจากยานพาหนะตามมาตรฐาน EU ซึ่งในปีนี้ สถาบันมีแผนจะเปิดศูนย์ความเป็นเลิศที่มหาวิทยาลัย Universiti Teknologi MARA (UiTM) มหาวิทยาลัย University Putra Malaysia เกาะลังกาวีและเมืองโกตาคินาบาลู


เทคโนโลยี blockchain ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์ของมาเลเซียได้ก้าวหน้าไปอีกขั้น โดยเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2560 MARii ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Crypto Valley Malaysia Association (CVM) เพื่อนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์มาเลเซียภายในไตรมาสแรกของปี 2562 โดย MARii มีการลงทุนเริ่มแรก 2 ล้านริงกิต และทั้งสองฝ่ายมีข้อริเริ่มร่วมกันใน 4 เรื่อง คือ

1.พัฒนาระบบ digital identities สำหรับอะไหล่ยานยนต์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบราคาและคุณภาพ คาดว่าจะพัฒนาระบบแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2562

2.พัฒนาระบบเรียกใช้บริการรถยนต์โดยสารร่วม (e-hailing) เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค. 2562

3.พัฒนาระบบประเมินความพึงพอใจและมาตรฐานการให้บริการของอู่ซ่อมรถและศูนย์บริการรถยนต์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ก่อนเลือกใช้บริการ คาดว่าจะพร้อมใช้งานภายในกลางปี 2562

4.พัฒนาระบบเก็บรวบรวมข้อมูลของยานยนต์พาณิชย์เพื่อคำนวณ Carbon footprint โดยคาดว่าจะพัฒนาระบบแล้วเสร็จและนำมาใช้ได้ในปี 2563

นอกจากนี้ MARii และ CVM จะร่วมมือในการผลิตผู้เชี่ยวชาญด้าน Cryptography เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี blockchain เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย

ทั้งนี้หากพิจารณาถึงการดำเนินงานและบทบาทหน้าที่ของ MARii จะพบว่ามีความน่าสนใจในแง่การรวมศูนย์การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไว้ที่หน่วยงานอิสระ โดยนอกจากการเสนอแนะแนวนโยบายต่อรัฐบาลบนพื้นฐานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมแล้ว MARii ยังเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมและสร้างแรงงานฝีมือเพื่อป้อนอุตสาหกรรม มีสิทธิบัตรทั้งจากโครงการวิจัยที่ดำเนินการเองและที่ร่วมดำเนินการกับผู้เชี่ยวชาญและบริษัทเอกชนจำนวนหนึ่งด้วย เน้นการวิจัยและการอบรมบุคลากรเพื่อนำไปสู่การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี blockchain ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของมาเลเซีย


โอกาสแห่งการร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยานยนต์

โดยเบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าวของมาเลเซียในปัจจุบันได้รับแรงส่งที่ดีจากสถาบันยานยนต์มาเลเซีย ซึ่งเป็นสถาบันที่น่าศึกษาบทบาทการทำงานเป็นอย่างยิ่งสำหรับวงการยานยนต์ไทย อย่างไรก็ดี แม้สถาบัน MARii ได้มีความร่วมมือกับสถาบันอื่นในภูมิภาคอย่างสถาบันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของอินโดนีเซีย (Institut Otomotif Indonesia – IOI) แต่ก็ยังไม่มีความร่วมมือกับสถาบันของไทย

นับเป็นโอกาสดีของไทยที่ล่าสุดสถาบัน MARii มีประเด็นที่เตรียมหารือเพื่อสร้างความร่วมมือกับไทยใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.การพัฒนามาตรการลดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก (เครื่องยนต์ขนาดน้อยกว่า 150 ซีซี) โดยใช้เทคโนโลยีพัฒนาจักรยานยนต์ที่เหมาะกับการใช้งานในประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น พัฒนาระบบจำกัดความเร็วรถ และระบบหยุดรถอัตโนมัติหากเท้าผู้ขับขี่ไม่อยู่บนคันเหยียบ

2.ผลักดันให้มีมาตรฐานรถยนต์อาเซียนหรือ driving Cycle ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและสภาพท้องถนนของประเทศสมาชิกอาเซียน (ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนใช้มาตรฐานของ EU)

การผลักดันทั้งสองประเด็นของมาเลเซียที่จะร่วมมือกับไทย นอกจากจะเป็นการสนับสนุนการสร้างมาตรฐานรถยนต์ที่ผลิตในมาเลเซียให้มีคุณภาพเพื่อเตรียมการเข้าสู่ตลาดระดับภูมิภาคแล้ว ยังเป็นความพยายามที่จะสร้างความร่วมมือกับประเทศอาเซียนเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคร่วมกันด้วย

สำหรับไทยความร่วมมือกับสถาบัน MARii นับเป็นอีกช่องทางในการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะมาเลเซีย ซึ่งมีเป้าหมายชัดเจนในการใช้ R&D เพื่อพัฒนาการผลิตสำหรับรถยนต์แห่งชาติ จึงถือเป็นสิ่งที่ไทยควรพิจารณาหาวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงจับตามองในฐานะที่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยเพื่อสร้างขีดความสามารถให้ไทยได้ในอนาคต 

 อ้างอิง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากสูตรคุณแม่ ต่อยอดไลน์สินค้า ‘ปั้น คำ หอม’ แบรนด์ขนมไทย เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่-คนรักสุขภาพ

จากสูตรคุณแม่ ต่อยอดไลน์สินค้า ‘ปั้น คำ หอม’ แบรนด์ขนมไทย เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่-คนรักสุขภาพ

ขนมไทย เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญา ที่สะท้อนถึงความประณีต พิถิพิถัน ผ่านกรรมวิธีตามวิถีไทย จนเกิดรสชาติอันเป็นที่ชื่นชอบทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ…
pin
178 | 15/03/2024
‘บ้านแดง’ โดยเมธาวลัย ศรแดง โปรเจคต์ปั้นทายาท สืบทอดธุรกิจร้านอาหารไทย ในตำนาน!

‘บ้านแดง’ โดยเมธาวลัย ศรแดง โปรเจคต์ปั้นทายาท สืบทอดธุรกิจร้านอาหารไทย ในตำนาน!

บ่มเพาะทายาทธุรกิจร้านอาหาร คุณจิระวุฒิ ทรัพย์คีรี เป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของธุรกิจร้านอาหารไทย เมธาวลัย ศรแดง ที่มีประสบการณ์ด้านอาหาร ผ่านการเป็นลูกมือช่วยคุณแม่…
pin
250 | 12/03/2024
‘SMARTTERRA’ ตู้เลี้ยงต้นไม้สุดล้ำ ระบบนิเวศอัจฉริยะตอบโจทย์คนเมืองที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

‘SMARTTERRA’ ตู้เลี้ยงต้นไม้สุดล้ำ ระบบนิเวศอัจฉริยะตอบโจทย์คนเมืองที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

โลกยุคใหม่ ที่กำลังก้าวสู่วิถี Urbanization หรือความเป็นเมือง เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จนนำมาสู่การขยายตัวของเมือง…
pin
631 | 09/03/2024
ไทย – มาเลเซีย ผสานความร่วมมืออุตสาหกรรมยานยนต์