ความท้าทายตลาดส่งออก “กัญชาทางการแพทย์”

SME Update
18/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4702 คน
ความท้าทายตลาดส่งออก “กัญชาทางการแพทย์”
banner

ไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นที่ตื่นตัวเรื่องการใช้ "สารสกัดกัญชาทางการแพทย์" แต่กระแสนี้ได้กลายเป็นเทรนด์ธุรกิจในหลายๆ ประเทศอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งในแถบสหภาพยุโรป หรือแม้แต่แคนาดา

โดยในแคนาดากระแสการตื่นตัวเรื่องกัญชาทางการแพทย์ถูกปลุกขึ้นมาเมื่อ 3 ปีก่อน ด้วยการสนับสนุนของภาครัฐที่ผลักดันให้มีการผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้มีการปลูกและใช้กัญชาสำหรับความบันเทิงและสันทนาการ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองสามารถใช้กัญชาเป็นส่วนผสมในอาหารได้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 โดยมีกำหนดจะเริ่มวางตลาดในเดือนธันวาคม 2562

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) เป็นหน่วยงานหลักที่กำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข ขณะที่ Public Health Agency of Canada จะเป็นหน่วยปฏิบัติการณ์ที่ออกกฎระเบียบและแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งถือแม้ว่าจะมีการอนุญาตให้มีการใช้กัญชาเป็นส่วนผสมอย่างถูกกฎหมาย แต่ก็มีการตีกรอบว่าหากจะมีการผลิตสินค้าที่มีส่วนผสมจากกัญชาจะต้องแยกออกจากวิธีการผลิตปกติ จึงจะสามารถขออนุญาตผลิตได้

โดยจะมี Canadian Food Inspection Agency (CFIA) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งมีพนักงานรวมกว่า 3,200 คน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีกฎระเบียบและการวางแนวทางปฏิบัติอย่างรัดกุม แต่ทว่าในทางปฏิบัติก็ยังเกิดปัญหาจากขั้นตอนการตรวจสอบที่ยังไม่เข้มงวดหรือยังไม่ชัดเจนเพียงพอ หรือแม้แต่การประสานงานในการตรวจสอบระหว่างผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่

ที่สำคัญกติกาที่กำหนดให้แยกกระบวนการผลิตสินค้าที่มีกัญชาออกจากการผลิตปกติ ถือเป็น กำแพงสำคัญในการเข้าสู่ตลาด ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ตามผลศึกษาของมหาวิทยาลัย Dalhousie สำรวจพบว่า ชาวแคนาดาสัดส่วน 71% สนใจที่ทดลองสินค้าที่มีส่วนผสมจากกัญชา

อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งยังมีการวิจัยผลกระทบจากผลข้างเคียงของกัญชาในการนำมาผสมในอาหาร โดยมหาวิทยาลัย McGill และ บริษัท The 3C Global Cannabis Innovation Centre ซึ่งหากได้ข้อสรุปออกมาชัดเจนก็จำเป็นต้องมีการนำมาปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน


การผ่านร่างกฎหมายนี้ถือเป็นก้าวแรกขของการเปิดตลาดกัญชา สร้างโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากการผ่านร่างกฎหมายให้สามารถใช้สารสกัดกัญชาได้ โดยจะต้องเตรียมพัฒนาสินค้าที่ที่มีส่วนผสมของกัญชา เพื่อเข้าสู่ตลาดที่มีแนวโน้มจะเติบโตไปถึง 67,000 ล้านบาท ในปี 2563

ขณะที่ตลาดในฟากยุโรป "เยอรมนี" ถือเป็นตลาดที่เปิดเสรีต่อสารสกัดจากกัญชาเช่นกัน โดยขณะนี้รัฐบาลเยอรมนี โดย Office of Drug Control (ODC) อนุญาตให้ผู้ประกอบการชาวออสเตรเลีย ชื่อบริษัท Australian Natural Therapeutics Group (ANTG) ปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์ได้ คาดว่าอีก 1 ปี ทางบริษัทจะสามารถผลิตกัญชาเพื่อการส่งออกให้กับผู้ผลิตกัญชาทางการแพทย์สหภาพยุโรป Cannamedical Pharma ได้ถึง 2 ตัน

ตามข้อมูลระบุว่า ในปี 2561 มีผู้ป่วย 30,000 รายที่ต้องใช้กัญชานำเข้าประมาณ 22,000 กิโลกรัม และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะจากการวิจัยของบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจที่ชื่อ Prohibition Partner คาดว่าตลาดกัญชาททางการแพทย์จะมีมูลค่า 7,700 ล้านยูโรในปี 2571  

สำหรับในออสเตรเลียซึ่งเป็นแหล่งปลูกกัญชาหลักเพื่อส่งออกมายังสหภาพยุโรปนั้น เดิมในปี 2561 มีผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชาสำหรับทางการแพทย์ประมาณ 12 รายแล้ว ทั้งนี้ ระบบการปลูกภายในออสเตรเลียกำหนดให้เป็น "ระบบปิด" และต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยที่จะใช้สารสกัดกัญชาก็จะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ ซึ่งมีประมาณ 1 แสนคน มีความต้องการใช้ปริมาณ 5-10 ตัน สำหรับผลิตเป็นยาเม็ด น้ำมันสกัด สเปรย์ และสารละลาย ส่วนที่เหลือรัฐบาลออสเตรเลียอนุญาตให้ส่งออกกัญชาได้ แต่มีการคุมเข้มด้านคุณภาพ จนทำให้กัญชาออสเตรเลียเป็นที่ยอมรับในตลาดสากล 


ขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีความชัดเจนในเรื่องนี้ โดยล่าสุดรัฐบาลผลักดัน "กัญชง" ให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ก่อน "กัญชา" โดยปรับประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และ ประกาศคณะกรรมการควบบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง กำหนดลักษณะกัญชง (HEMP) พ.ศ.​2562 มีผลบังคับใช้

เหตุผลที่อนุญาตให้กัญชงก่อนกัญชา เนื่องจากสาร THC ที่มีผลต่อจิตประสาทต่ำกว่ากัญชา จึงมีโอกาสติดน้อยกว่า และสารซีบีดี (Cannabidiol : CBD) ซึ่งมีคุณค่าทางการแพทย์สูงกว่า สามารถนำมาใช้ผลิตอาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพรได้

อย่างไรก็ตาม โอกาสการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ยังไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจาก กัญชง ก็ยังถือเป็นสารเสพติดประเภทที่ 5 ยังต้องมีการขออนุญาต ควบคุมการปลูกและการผลิต และต้องใช้เมล็ดพันธุ์รับรองและขึ้นทะเบียนตามกฎหมายพันธุ์พืช ซึ่งมีส่วนผสมของสาร THC ไม่เกิน 0.3% ยังค่อนข้างเข้ม ถือเป็นความท้าทายในการขยายการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนี้

สวทช. อัพเดตเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า

ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
ความท้าทายตลาดส่งออก “กัญชาทางการแพทย์”