ผสานการแพทย์ และนวัตกรรม ‘Atgenes - Pulse Science’ ต่อยอดสู่ธุรกิจ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
Your Code Your Life ชีวิต
คือชุดข้อมูลที่เรียกว่า DNA ข้อมูลที่ถูกส่งต่อมาในลักษณะ
‘โยนหัวก้อย’ ถ้าเป็นสำนวนไทยคงประมาณ
บุญทำ กรรมแต่ง ก่อเกิดเป็นความหลากหลายของเผ่าพันธุ์ แต่ทราบหรือไม่ว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ทำให้เรามีสิทธ์เลือกได้มากขึ้น หรือแม้แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตให้ดีขึ้นได้
จุดเริ่มของเรื่องนี้ต้องเล่าย้อนไปเมื่อปี 2547
คุณหมอท่านหนึ่งเรียนจบปริญญาเอกจากอ๊อกซฟอร์ด กลับไทยมาเป็นอาจารย์สาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คนในวงการตั้งสมญาว่า ‘หมอโลหิต’ เนื่องจากท่านเป็นผู้ชำนาญการพิเศษด้านโลหิตวิทยาชั้นแถวหน้าของไทย
และด้วยผลงานวิจัยด้านโลหิตวิทยากว่า 100
เรื่อง ที่ได้รับการยอมรับและตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำในต่างประเทศ ปี 2558 ศ.ดร.นพ.วิปร
วิประกษิต ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางกุมารเวชศาสตร์อย่างเป็นทางการ
และเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานระหว่างองค์ความรู้ทางการแพทย์ระดับโมเลกุลกับ Biotech
และ Infotech จนนำไปสู่รักษาและการปรับแต่งรูปแบบชีวิตด้วยข้อมูลยีนส์และดีเอ็นเอ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
การผสานเสริมของการแพทย์ และนวัตกรรม
ศ.ดร.นพ.วิปร
ยังคงมองหา Challenge ใหม่ๆ
โดยต้องการให้งานวิจัยที่ทำสามารถนำไปใช้งานได้จริง จึงก่อตั้งบริษัท แอท-ยีนส์
จำกัด ต่อมาให้มีโอกาสรู้จักกับ คุณนัทธี
อินต๊ะเสน ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง บริษัท พัลซ ไซเอนซจำกัด นักนวัตกรรมและนักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างห้องปลอดเชื้อในคลินิกการปฏิสนธินอกร่างกาย
(IVF) และต่อมาได้เป็น Strategic Partner ที่สำคัญของ แอท-ยีนส์ ทำงานร่วมกันโดยใช้ know how จากการวิจัยมาแตกแขนงออกมาเป็นบริการในรูปของการตรวจข้อมูล
และการวินิจฉัย
โดยภาพรวมธุรกิจของแอท-ยีนส์ คือการขายข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์
โดยการตรวจ DNA และหากย้อนไปเมื่อ 7 ปีตอนเริ่มต้นธุรกิจ
ที่ยังไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ และถ้าเปรียบแอท-ยีนส์เป็นนักบิน บจก.พัลซ ไซเอนซ ของคุณนัทธีก็เปรียบเหมือนผู้จัดหาเครื่องบิน
โดยเข้ามาดูแลในเรื่องการทำห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ และทีมสนับสนุนนับเป็นการสปินออฟที่เหมาะเจาะพอดี
การแพทย์ที่รักษาด้วย ‘ข้อมูล’ ทำอะไรได้บ้าง
?
ศ.ดร.นพ.วิปร
อธิบายว่า ถ้าเปรียบเทียบเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ คือทุกคนมีโค้ดอยู่ในตัวเอง หรือการถูกโปรแกรมมาว่าต้องทำอะไรบ้าง
โค้ดจะอยู่ในชุดข้อมูลที่เรียกว่า DNA โดยธรรมชาติส่งต่อจากพ่อแม่อย่างละครึ่ง
ขณะที่เทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่กำลังเป็นเทรนด์ทั่วโลกขณะนี้
เรียกว่า Molecular medicine คือการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะโดยอาศัย
‘ข้อมูลทางพันธุกรรม’ หรือ ‘ข้อมูลในระดับโมเลกุล’ มาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค
หรือความเสี่ยงในการเกิดโรคโดยการหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ (DNA sequencing) ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Next-Generation Sequencing ซึ่งเป็นข้อมูลจีโนม (Genome) และเอ็กโซม (Exome)
ข้อมูลเหล่านี้ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้อย่างไร
สำหรับแอท-ยีนส์ ใช้ข้อมูลนี้ช่วยในการวินิจฉัยโรคให้แม่นยำมากขึ้น โดยการตรวจทำให้รู้เลยว่าแบบเป็นโรคอะไร
หรือแม้แต่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคอะไรในอนาคต
รู้ความเสี่ยงก่อนเป็นโรค
...ชีวิตก็ออกแบบได้
ดังนั้น ธุรกิจของแอท-ยีนส์ ไม่ใช่การตรวจเชื้อโรค
แต่เป็นการตรวจข้อมูลพันธุกรรมเพื่อการวินิจฉัย ป้องกัน หรือรักษาโรค เป็นโปรแกรมออกแบบและดูแลสุขภาพได้ตรงจุดกับความเสี่ยงที่แต่ละคนมี
พอรู้ว่าจะเกิดความเสี่ยงใดในอนาคต ก็สามารถแก้ไขโค้ดได้ รวมทั้งยังมีบริการตรวจความเสี่ยงในการแพ้ยา
ความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม การเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ
ซึ่งเป็นบริการที่แอท-ยีนส์ ให้ได้
“ที่ผ่านมา
มีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งซื้อบริการเขาเราไปใช้ในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วย หรือลูกค้าที่ต้องการรับบริการตรวจหาความเสี่ยงจากการเกิดโรคซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้ารายได้สูงเป็นหลัก”
มดลูกเทียม และการเพาะเชื้อตัวอ่อน
อีกบริการหนึ่งที่เป็นบริการสำคัญของแอท-ยีนส์
คือ การตรวจพันธุกรรมตั้งแต่ก่อนเป็นมนุษย์ โดยการตรวจตัวอ่อน ปกติหญิงชายอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ช่วงวัยรุ่น
ขณะที่คนปัจจุบันนี้แต่งงานและมีลูกช้า ทำให้เกิดปัญหามีลูกยาก และเด็กอาจมีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์
ที่ผ่านมีการแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีการเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อดูโครโมโซมมีความผิดปกติหรือไม่
แต่วิธีการเจาะน้ำคร่ำซึ่งตัวอ่อนฝังตัวในมดลูกแล้ว
และยังต้องรอผลตรวจอีกไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
ขณะที่บริการของแอท-ยีนส์ มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
โดยใช้หลักการผสมเทียม นำตัวอ่อนที่แข็งแรงมาเพาะเลี้ยงระยะหนึ่ง
ก่อนที่จะนำไปผสมกับเชื้อไข่ในตู้มดลูกเทียมที่ออกแบบมาสำหรับเพาะเลี้ยงตัวอ่อนมนุษย์
(Embryo)
มีรูปแบบการทำงานเหมือนมดลูก ผลงานรางวัล Innovation Award
of The Year ปี 2563 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
หรือ NIA รางวัลทางด้านสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
คุณนัทธี ซีอีโอ พัลซ ไซเอนซ
ผู้ออกแบบตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนมนุษย์ อธิบายว่า
ตู้ปฏิบัติการระบบปิดควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับการผสมเทียมใต้กล้องจุลทรรศน์ หรือจะเรียกสั้นๆ
ว่า ‘มดลูกเทียม’ ก็ได้ ทำหน้าที่เหมือนภายในมดลูก
โดยติดตั้งกล้องจุลทรรศน์หัวกลับพร้อมชุดจุลหัตถการ (Micromanipulator) เพื่อทำการผสมเทียมนอกร่างกายไว้ภายในตู้ได้
สามารถจำลองสภาวะแวดล้อมเลียนแบบมดลูกได้ทั้งอุณหภูมิ
ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน
ศ.ดร.นพ.วิปร อธิบายเสริมว่า
หลังจากที่ได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์แข็งแรงมา จากนั้นจะใช่ฝังที่แม่อุ้มหรือแม่แท้ก็ได้
แอท-ยีนส์ เป็นบริษัทที่ทำการตรวจตัวอ่อนที่มีครบวงจร และมีประสิทธิภาพที่สุดในประเทศ
“จะเพศชาย หญิง ก็เลือกได้หมด
แต่หลักการสำคัญเราไม่ได้ตั้งใจจะเลือกเพศ
แต่เราต้องการจะเลือกทารกที่สมบูรณ์ที่สุด”
ดันไทยศูนย์กลางการทำ IVF
ศ.ดร.นพ.วิปร
กล่าวอีกว่า ช่วงก่อนเกิดโควิด ธุรกิจด้านการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) เติบโตดีมากเป็น Medical
Hub ของการทำ IVF โดยแต่ละปีมีลูกค้ามาทำที่ แอท-ยีนส์ประมาณ
3-4 หมื่นคู่ต่อปี และกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นคนจีน
“ธุรกิจ IVF
ในประเทศไทยเรียกได้ว่าน่าจะเป็นหนึ่งในสามของอันดับโลก
ลูกค้าหนึ่งรายมีค่าใช้จ่ายต่อการทำ 1 Cycle หรือการกระตุ้นให้มีไข่ตกหนึ่งรอบมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า
1 ล้านบาท”
ด้วยเหตุนี้ทำให้ประมาณได้ว่า ในแต่ละปีประเทศไทยมีรายได้เข้าประเทศจากกลุ่มคู่รักชาวจีนกว่า
3 หมื่นล้านบาท และไม่ใช่ว่าทุกคนที่มาทำ Cycle เดียวแล้วจะสำเร็จ
อาจมีทำซ้ำ เพราะฉะนั้นมองว่ามูลค่าตลาดมากกว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี
และหากนับรวมตลอดซัพพลายเชนที่เป็นโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกต่างๆ
มูลค่าตลาดนี้มีมากกว่าแสนล้านบาทต่อปี
“ลูกค้าเป็นกลุ่มรายได้สูง และกระจายรายได้ไม่เพียงแค่ด้านการแพทย์
แต่ยังครอบคลุม Supply Chain ที่มีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเยอะมาก
เป็นโอกาสที่จะสร้างรายได้เข้าประเทศอีกมาก”
รู้ข้อมูลมนุษย์ อนาคตที่ทำให้ทุกคนสุขภาพดี
ปัจจุบันเรื่องการตรวจ DNA
หรือการตรวจข้อมูลพันธุกรรมประชากรมีการริเริ่มทำในหลายประเทศ อาทิ
สหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป เด็กที่คลอดออกมาใหม่จะมีการตรวจยีนส์และเก็บข้อมูลไว้ทั้งหมด
สำหรับในประเทศไทยแม้จะเริ่มมีบ้าง แต่ยังจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล
ขณะเดียวกัน ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ศ.ดร.นพ.วิปร
สนใจกับการอัพเกรดตัวเอง เลยเพิ่มบริการที่เกี่ยวข้องกับ Stem
Cell เข้าไปด้วย ทำให้ปัจจุบันธุรกิจของแอท-ยีนส์ ไม่เพียงแต่การบริการตรวจข้อมูล
DNA แต่ยังเสนอทางเลือกให้กับคนที่มาใช้บริการด้วย
อย่างไรก็ตาม คุณหมอเน้นย้ำว่า ปัจจัยพันธุกรรมเป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด
เพราะการเรียนรู้ยังมีเรื่องระบบอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง พันธุกรรมจึงเป็นแค่ส่วนเดียว
สร้างห้องแล็บตรวจหาเชื้อโควิด 19
ขณะที่สถานการณ์ช่วงการระบาดของเชื้อโควิด
19 ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้แอท-ยีนส์ เป็นที่รู้จักในสังคมทั่วไปมากขึ้น
และนับเป็นจุด Turning Point ครั้งสำคัญ ซึ่งอย่างที่อธิบายก่อนหน้านี้ว่า
ลูกค้าส่วนใหญ่ของแอท-ยีนส์เป็นคนจีน ด้วยเหตุนี้ภายใต้ปัจจัยดังกล่าว ศ.ดร.นพ.วิปร จึงต้องระดมสมองจากทีมนวัตกรรม
มาสร้างห้องแล็บตรวจหาเชื้อโควิด 19 โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับการตรวจ DNA
และต้องใช้ห้องแล็บที่พิเศษมากๆ
และแน่นอนว่าต้องเป็นการทำงานร่วมกับ
Strategic Partner คือ คุณนัทธี ซีอีโอ พัลซ ไซเอนซ ที่ร่วมกันออกแบบห้องแล็บ
Biosafety ที่มีมีระบบการจัดการจะสูงกว่าระดับที่ทำในโรงพยาบาลทั่วไป
ซึ่งไม่เพียงแต่การตรวจหาที่แม่นยำ ว่าเชื้อเป็นสายพันธุ์ชนิดใด แต่ยังมีความปลอดภัยสูงต่อผู้ใช้
อันเนื่องจากห้องแล็บดังกล่าวเกิดจากการระดมสมองระหว่างหมอที่เป็นผู้ปฏิบัติงานจริงและนักนวัตกรรม
ปัจจุบันเป็นห้องแล็บต้นแบบของหลายๆ ที่ และต่อมาก็มีการต่อยอดจนเป็นรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย
และรถปฏิบัติการตรวจเชื้อแบบเคลื่อนที่ ที่ออกตรวจโควิดนอกพื้นที่
และยังเป็นรถพระราชทานอีกด้วย และดูเหมือนโควิด 19
ก็ไม่สามารถจะหยุดยั้งการคิดค้นและหานวัตกรรมใหม่ๆ
เพื่อออกแบบชีวิตคนให้ง่ายและดีขึ้น
จะเห็นว่าทั้งธุรกิจของคุณหมอวิปร
และคุณนัทธีต่างมุ่งใช้จุดแข็งที่มีเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ
และยังยืนยันได้ถึงความสามารถของแพทย์ไทย
และนักวิทยาศาสตร์ของไทยที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้สู่การทำธุรกิจอย่างจริงจัง
และสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมทั้งการผลักดันสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของไทยสร้างรายได้และฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของทั้งสองธุรกิจได้ที่
:
https://www.facebook.com/atgenes.th/