สิ่งทอทางการแพทย์ ทางรอด ‘New Normal’

SME in Focus
27/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3242 คน
สิ่งทอทางการแพทย์ ทางรอด ‘New Normal’
banner

ผลจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ร้านค้าปลีก ร้านเอาต์เลตเสื้อผ้าทั่วโลกต้องปิดตัวไปกว่า 70% โดยเฉพาะสหรัฐ-สหภาพยุโรป หรือแม้แต่ตลาดในเอเชีย ส่งผลกระทบเชื่อมโยงถึงผู้ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มทั่วโลก

แต่ทว่าอีกด้านหนึ่งความต้องการชุด PPE หรือ Personal Protective Equipment และหน้ากากอนามัย กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จึงเป็นโอกาสที่ผู้ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มทั่วโลก จะปรับการผลิตสินค้ารองรับวิถีใหม่ หรือ New Normal

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ยกตัวอย่างในญี่ปุ่นมีการปรับตัวและพัฒนานวัตกรรมของผู้ผลิตญี่ปุ่น ซึ่งหันมาผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อแก้ปัญหาสินค้าขาดแคลน หลายต่อหลายบริษัท เช่น บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้า Liftestyle Account ได้เปิดตัวหน้ากากอนามัยแบรนด์ Factelier ซึ่งมีการนำกระดาษดั่งเดิมของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า washi มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตความหนา 3 ชั้นมีตัวกรอง โดยส่วนที่สัมผัสกับผิวหนังทำจากส่วนผสมของกระดาษชนิดนี้และฝ้าย มีราคาจำหน่ายประมาณชิ้นละ 700 บาท

บริษัทสิ่งทอ Mitsufuji Corp. ผลิตหน้ากากอนามัยแบรนด์ hamon AG ที่ใช้วัสดุเคลือบโลหะพิเศษ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดกลิ่น และต้านทานเชื้อแบคทีเรีย มีความทนทานสูง สามารถนำมาซักได้ 50 ครั้ง จำหน่ายราคาชิ้นละ 1,100 บาท หรือบริษัท Yamamoto Corp. ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากยาง ได้พัฒนาสินค้าหน้ากากอนามัยแบรนด์ BIOLA ซึ่งทำจากวัสดุที่ใช้สำหรับผลิตชุดดำน้ำ จุดเด่นมีรูระบายอากาศ เล็กๆสำหรับหายใจ และสามารถใช้ผ้าก็อตหรือทิชชูระหว่างหน้ากากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ราคา 495 - 660 บาท หรือแม้แต่ผู้ผลิตชุดชั้นในอย่าง Utex Co. ผลิตสินค้าหน้ากากอนามัยแบรนด์ Smoon โดยนำเทคโนโลยีผลิตเสื้อผ้าซับในมาประยุกต์ทำให้ผิวสัมผัสนุ่มนวลราคาประมาณชิ้นละ 220 บาท

ปรากฎการณ์ปรับไลน์การผลิตดังกล่าว มีจุดเริ่มต้นจากปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย กระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นต้องขอความร่วมมือให้ภาคเอกชนเพิ่มการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งหน้ากากอนามัย น้ำยาฆ่าเชื้อ และชุด PPE โดยรัฐบาลสนับสนุนการลงทุนในการซื้อเครื่องจักรเพิ่ม

สถานการณ์ของผู้ผลิตไทยเองก็ไม่ได้แตกต่างไปจากญี่ปุ่น โดยก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่ลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรและสายการผลิตเดิมมาเป็นผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วน รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ จะได้สิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งจะยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร แต่ต้องนำเข้าภายในปี 2563 โดยเอกชนยื่นขอแก้ไขโครงการภายในเดือนกันยายน 2563 และกิจการผลิต non-woven fabric ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์การแพทย์ จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี 

นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ยอมรับว่าภาพรวมการส่งออกสินค้าเครื่องนุ่งห่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดส่งออกเครื่องนุ่งห่ม 3 เดือนแรกปี 2563 การส่งออกเครื่องนุ่งห่มติดลบ 5.7% โดยมีมูลค่าส่งออก 18,512 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกว่า 2,200 ราย มีแรงงานในอุตสาหกรรม 4-5 แสนคนจำเป็นต้องปรับตัว โดยการผันตัวสู่ medical textile เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจต่อไป

โดยก่อนหน้านี้โรงงานในประเทศไทยแทบทุกโรงงาน ปรับตัวมาผลิตหน้ากากอนามัยผ้า ซึ่งคาดว่าเฉพาะในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 จะมีผลผลิตออกมา 40 -50 ล้านชิ้น และมีอีกประมาณ 13 โรงงานที่หันมาพัฒนาชุด PPE เพื่อประคองธุรกิจจากส่งออกได้รับผลกระทบให้สามารถรักษาการจ้างแรงงานไว้ให้ได้


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


‘New Normal’ ตัวเร่ง SMEs ไทยใช้หุ่นยนต์

Smart Fabric ฉลากคุณภาพหน้ากากผ้าสู้โควิด



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
4 | 18/04/2025
“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิต “วัตถุดิบโลหะ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร…
pin
7 | 11/04/2025
เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

แนวคิด Zero-Waste กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญหลายธุรกิจเริ่มตระหนักว่าการลดขยะไม่ใช่แค่ช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุน…
pin
10 | 06/04/2025
สิ่งทอทางการแพทย์ ทางรอด ‘New Normal’